Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18262
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรชัย ตันติเมธ | - |
dc.contributor.advisor | สนานจิตร สุคนธทรัพย์ | - |
dc.contributor.author | จำนูญ เกียรติมงคล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ภาคกลาง | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-20T14:45:36Z | - |
dc.date.available | 2012-03-20T14:45:36Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745648787 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18262 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัดในภาคกลาง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน เกี่ยวกับการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัดในภาคกลาง 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัดในภาคกลาง วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคกลาง ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่รวม 13 จังหวัดโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมทั้งสิ้น 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบวิเคราะห์รายงานการประชุมและแบบสอบถามความคิดเห็นแบบการตรวจสอบรายการ และแต่ละข้อมีคำถามปลายเปิดประกอบด้วยสถานภาพของผู้ตอบแทนสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงาน ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานจองคณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัด รวม 7 ด้าน 1. การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการประถมศึกษาของจังหวัด 2. การตั้งและจัดสรรงบประมาณ เพื่อการประถมศึกษา 3. การจัดตั้ง การบริหาร รวม ปรับปรุง และเลิกล้มโรงเรียน 4. การแต่งตั้งหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารสถานศึกษา 5. การพิจารณาความดีความชอบประจำปีของข้าราชการครู 6. การออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ 7. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดและตามที่คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมอบหมาย แบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 361 ฉบับ ได้รับกลับคืน 295 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.72 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ และหาค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงมาตรฐานและเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) สรุปผลการวิจัย 1. จาการวิเคราะห์รายงานการประชุม พบว่ามีการประชุมกรรมการประถมศึกษาจังหวัด 245 เรื่อง เรื่องที่อภิปรายมากที่สุดคือเรื่องการย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียน เป็นที่น่าสังเกตว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (แต่งตั้ง) มาประชุมและอภิปรายน้อยมาก ส่วนผู้ที่มาประชุมทุกครั้งคือ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด 2. จากแบบสอบถามความคิดเห็น ตอนที่ 1 สถานภาพ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีวุฒิระดับ ปริญญาตรี อายุราชการ 21 ปีขึ้นไป และอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระหว่าง 1-5 ปี ตอนที่ 2 ความคิดเห็น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า มีการพิจารณากำหนด นโยบายการดำเนินงานและมีแผนพัฒนาการประถมศึกษาจังหวัด ซึ่งนโยบายและแผนที่กำหนดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ส่วนการจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณก็เป็นไปตามขนาดของโรงเรียนซึ่งมีความเหมาะสมการจัดตั้ง รวม ปรับปรุง และเลิกล้มโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคลากรในโรงเรียนและชุมชนบ้าง การพิจารณาแต่งตั้ง ย้ายผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กึ่งอำเภอ และการพิจารณาความดีความชอบส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ การออกระเบียบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่แก้ปัญหาได้น้อย และในส่วนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามที่คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมอบหมายนั้นเป็นไปอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ทั้ง 3 ขนาด พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน 6 ข้อใน จำนวน 37 ข้อ ซึ่งได้แก่ 1 ) ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบที่กำหนดเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดไม่เหมาะสม 2 ) เมื่อพิจารณาความดีความชอบแล้วไม่มีการเสนอแนะโรงเรียน 3 ) คณะกรรมการการประถมศึกษาได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน 4 ) ระเบียบคณะกรรมการการประถมศึกษากำหนดขึ้นไม่สอดคล้องกับระเบียบของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 5 ) ระเบียบดังกล่าวไม่สามรถแก้ปัญหาได้ 6 ) การกำหนดอายุเด็กเข้าเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523 คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ปัญหาพบว่า งานทั้ง 7 ด้าน มีปัญหาในการปฏิบัติงานในระดับน้อย และจากแบบสอบถามปลายเปิดพบว่า 3.1 การกำหนดนโยบาย และการทำแผนข้อมูลมาประกอบการพิจารณาน้อย 3.2 การพิจารณาจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามความต้องการของโรงเรียน 3.3 การยุบรวม เลิกล้มโรงเรียนมีปัญหาบ้างเล็กน้อย 3.4 การแต่งตั้ง ย้าย ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กึ่งอำเภอมักมีการวิ่งเต้นหาความช่วยเหลือ 3.5 การพิจารณาความดีความชอบ มักมีการเล่นพรรคเล่นพวกอยู่บ้าง 3.6 การออกระเบียบบางอย่างไม่ค่อยชัดเจน | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes of the Study 1. To study the Primary Education Administration of the Provincial Primary Education Committee in the Central region. 2. To compare the opinions of the Primary School administrators in the various school sizes ; concerning the Primary Education administration of the Provincial Primary Education Committee in the Central region. 3. To study the problems and obstacles of the primary education administration of the Provincial Primary Education Committee in the Central region Procedures The sample groups of the study were 3 groups of the Primary education administrators in the small medium and large school sizes in 13 provinces in the Central region. The Multi-Stage Ramdom Sampling was utilized, and 361 primary school administrators were selected for the study. The research instrument utilized in the study were consisted of two parts, namely, 1) the analysis of the committee-meetings reported, and 2)the opinionaire which each item having open-ended question or the status of the sample group, administrative viewpoint, problems and obstacles of the primary education management encountered in Provincial Pimary Education Commission, especially seven aspects were covered, as followed : 1. Stating the policy and developing the provincial primary educational plan. 2. Setting and allocating the annual budget for primary education. 3. Organizing, administering, consolidating and relinquishing of primary schools. 4. Appointing of the District/Sub-District Primary Education Chiefs and school administrators. 5. Considering of annual promotion of the government official. 6. Issuse of regulations concerning of the work process. 7. Another duties as prescribed by law and as delegated by the office of the National Primary Education Committee, A total of 361 opinionaires were sent out, and 295 were collected or 81.72 percent of the responces were returned. The percentage, means, standard deviation, the comparison of intergroup opinions, and one way analysis of variance (ANOVA) were utilized as data analysis. Findings 1. The Analysis of the Committee-meetings Reported. It was found that 245 topics, were raised in the meeting of the Provincial Primary Education Committee. The most often debated issue were the transfer and the appointment of the school administrators. The notion had shown that the appointive committee : members were rarely attended the meetings and participated in the discussions, The only member who always participated was the directors of the Provincial Primary Education Office. 2. The Opinionnaire : Part I Status of the Sample Population It was shown that the majority of primary school administrators were male, and possessed qualification of bachelor degree, with the experienced of 21 years or longer in the teacher career, and had Lean in the administrators between 1 - 5 years. Part II The most respondent exprssed their opinions that there was consideration in stating the policy and developing provincial primary educational plan, which compatible to the local needs. The setting and allocating the annual budget were appropriated accordingly to the school sizes. The organizing administering, consolidating and relinquishing of primary schools were mostly compatible to the principle and regulations, where slightly effected to the school personnel and community in appointting and Transferring of the school administrator, the district and sub/district Primary Education Chiefs, and Considering of annual promotion were mastly appropriated and accordingly to the regulations of the Office of the National Primary Education Committee. But in issuing the regulations concerning the work process and problems resolving were done little in the province level. Anyhow, those other duties as prescribed by law and as delegated by the office of the National Primary Education Committee had been done appropriately and compatible to the local. However, the opinion of the school administrators in various school sizes had shown that six out of 37 topics were different among their opinion, which were the following : l. The principle and the regulation for considering the annual promotion, where added by the Provincial Primary Education Committee were not appropriated. 2. There was no explaination and comments upon the annual promotion consideration. 3. The Provincial Primary Education Committee passed the regulation for the work process. 4. The regulations posed by the Provincial Primary Education Committee were not compatible the regulations posed by the office of the National Primary Education Committee. 5. Those regulations posed by the Provincial Primary Education Committee could not resolve the problems at all. 6. The prescription of school age under Primary Education Act B.E.2523 was suitably carried out by the Provincial Primary Education Committee and compatible with the local conditions. Part III From Problems Analysis : It was found that all seven of the afore-mentioned aspects had experienced few problems at operational level. open-ended questions revealed the following : 3.1 Policy statement and planning were supported by less than sufficient data. 3.2 Allocation of budgets for current year did not bring back into consideration pending matters previously proposed. 3.3 Relinquishing, merging, and closing down of primary schools had some minor problems. 3.4 Appointment and transfer of school administrators and primary education chief at Amphur/sub/Amphur level, were influenced by lobbying for personal help. 3.5 Review for promotion was sometimes tarnished by favoritism. 3.6 Issue of some rules and regulations were not well defined. | - |
dc.format.extent | 455836 bytes | - |
dc.format.extent | 361512 bytes | - |
dc.format.extent | 833493 bytes | - |
dc.format.extent | 348425 bytes | - |
dc.format.extent | 1443473 bytes | - |
dc.format.extent | 426061 bytes | - |
dc.format.extent | 511336 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นประถม | en |
dc.subject | คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด | en |
dc.title | การบริหารงานการประถมศึกษาของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดในภาคกลาง | en |
dc.title.alternative | The primary education administration of the Provincial Primary Education Committee in central region | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Amornchai.T@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Snanchit.S@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chamnon_Ki_front.pdf | 445.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chamnon_Ki_ch1.pdf | 353.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chamnon_Ki_ch2.pdf | 813.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chamnon_Ki_ch3.pdf | 340.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chamnon_Ki_ch4.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chamnon_Ki_ch5.pdf | 416.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chamnon_Ki_back.pdf | 499.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.