Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18288
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา พงศาพิชญ์ | - |
dc.contributor.advisor | ประทีป พันธุมวนิช | - |
dc.contributor.author | พัชรินทร์ เล็กสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคเหนือ) | - |
dc.coverage.spatial | เชียงใหม่ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-20T22:59:43Z | - |
dc.date.available | 2012-03-20T22:59:43Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745661872 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18288 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | ฟันตกกระเป็นอาการอย่างหนึ่งของการที่ร่างกายได้รับสารฟลูออไรด์มากเกินไป เนื่องจากร่างกายสะสมฟลูออไรด์ไว้มากกว่าระดับปกติ จึงทำให้สีของฟันเปลี่ยนไป ตั้งแต่มีจุดสีขาวขุ่นเล็กๆบนผิวฟัน จนกระทั่งถึงผิวฟันขรุขระเนื่องจากฟังกร่อนและสีเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเข้ม ในภาคเหนือของประเทศไทย มีสายแร่ฟลูออไรด์และมีสารฟลูออไรด์เจือปนอยู่ตามธรรมชาติทั้งในอาหารและน้ำดื่ม ประชาชนในหลายจังหวัดได้รับสารฟลูออไรด์มากจนเกิดฟันตกกระในระดับต่าง ๆ จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอสะเก็ด สันกำแพง และหางดงของจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมที่เกี่ยวกับโรคฟันตกกระ ตลอดถึงความต้องการรักษาของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวางแผนป้องกันโรคดังกล่าว วิธีเก็บข้อมูล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling และ Quota Sampling จากพื้นที่วิจัย 42 หมู่บ้านใน 10 ตำบลของอำเภอสะเก็ด สันกำแพง และหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามใน 4 กลุ่มประชากร คือ 1) เด็กอายุ 11-13 ปี คัดเลือกเฉพาะเด็กที่อยู่ในหมู่บ้านมาตั้งแต่เกิดและใช้แหล่งน้ำดื่มเดียวกันมาตลอด จำนวน 164 คน 2) ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 คน 3) ผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน จาก 16 หมู่บ้าน 4) หมอฟันพื้นบ้านในเขตพื้นที่วิจัยซึ่งผู้ปกครองและผู้นำหมู่บ้านระบุ จำนวน 3 คน จากการศึกษาพบว่า ประชาชนมีการรับรู้ต่อความจำเป็นในการรักษาโรคฟันตกกระอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในกลุ่มเด็กที่มีอาการของโรคมาก พบว่าเด็กมีการตัดสินใจว่าตนเองเป็นโรคร้อยละ 60 ส่วนเด็กที่มีอาการของโรคฟันตกกระน้อย เด็กตัดสินใจว่าตนเองเป็นโรคเพียงร้อยละ 36 เท่านั้น ทั้งนี้การตัดสินใจว่าตนเองเป็นโรคมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสบการณ์ที่เคยเป็นคนในหมู่บ้านเป็นและมีสีของฟันเปลี่ยนไป ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของเด็ก ในกลุ่มตัวอย่างเด็กรักษาโรคฟันตกกระโดยการขัดฟัน 7 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของกลุ่มเด็กที่มีความต้องการรักษาโรค วัสดุที่ใช้คือ ถ่าน และกระดาษทราย ส่วนการรักษากับหมอฟันพื้นบ้านพบ 6 คน โดยผู้ปกครองเป็นผู้พาเด็กไปรักษา จากกลุ่มผู้ปกครองที่มีความต้องการรักษาเด็กจำนวน 46 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13 เมื่อเปรียบเทียบการวินิจฉัยของทันตแพทย์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองว่าเด็กมีฟันตกกระ พบว่า ผู้ปกครองของเด็กที่มีฟันตกกระระดับเป็นมาก มีการตัดสินใจถูกต้องร้อยละ 46 ส่วนกลุ่มเด็กที่มีฟันตกกระระดับเป็นน้อยผู้ปกครองตัดสินใจถูกต้องเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น การตัดสินใจของผู้ปกครองนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับโรค ส่วนระดับการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับโรคไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครอง | - |
dc.description.abstractalternative | Dental fluorosis is one symptom of fluoride toxicosis due to over accumulation of fluoride substance in tooth. The texture of tooth change to mottling spot and in severe cases the corrosive tooth will change to brown color. People in rural area, especially in northern part of Thailand, received fluoride from drinking water and food which tend to have high fluoride content naturally. The objectives of this paper are to study the perception and health behavior regarding fluorosis and demand for treatment in people. It is hoped that insights gained from this study will shed some lights in identifying means and ways which will help prevent fluorosis in the future. This study includes samples from 42 villages, in 10 tambon (subdistricts) of 3 districts in Chiangmai Province, where high percentage of Dental Fluorosis have been recorded. Cluster and Quota Sampling are methods of selection. Questionnaire examinations were gathered from; (1) 164 children aged 11-13 who have been drinking water from wells with high fluoride content. (2) 164 parents of children sample. (3) 16 village committees. (4) 3 dental quacks living in the study area. The study shows that most children and their parents do not perceived fluorosis as disease needed treatment. Among children with moderate and severe degree of dental fluorosis felt the need for treatment, 60% recognized their symptom and 36% of children with mild degree of dental fluorosis recognized that they have the desease. Children perception that they have the symptom correlate directly with tooth color and experience seeing people with dental fluorosis in their perception. High percentage of children had no knowledge of dental fluorosis. Among children who stated needing treatment 12% polished brown color tooth by themselves. And 13% of children whose parents stated needing treatment, the parents took them for polishing treatment from dental quack in the village. When comparing dentist diagnosis with parents’ perception, 46% of the parents who perceived that their children had moderate and severe degree of dental fluorosis had correct perception; and 30% of parents who perceived the symptom of mild degree of dental fluorosis in children had correct perception. The experience seeing people in the village correlates with the acceptance of the parents. Education and the knowledge of dental fluorosis do not relate with the acceptance of the parents. | - |
dc.format.extent | 359352 bytes | - |
dc.format.extent | 447498 bytes | - |
dc.format.extent | 448088 bytes | - |
dc.format.extent | 690380 bytes | - |
dc.format.extent | 336653 bytes | - |
dc.format.extent | 330101 bytes | - |
dc.format.extent | 629116 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรคฟัน | en |
dc.subject | ฟลูออไรด์ | en |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ -- ไทย (ภาคเหนือ) | en |
dc.subject | เชียงใหม่ -- ประชากร | en |
dc.title | การรับรู้และพฤติกรรมที่เกี่ยวกับโรคฟันตกกระของประชากรในเขตชนบท ของจังหวัดเชียงใหม่ | en |
dc.title.alternative | Perception and health behavior regarding fluorosis of rural population in Chiangmai | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Amara.P@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharin_Le_front.pdf | 350.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Le_ch1.pdf | 437.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Le_ch2.pdf | 437.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Le_ch3.pdf | 674.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Le_ch4.pdf | 328.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Le_ch5.pdf | 322.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Le_back.pdf | 614.37 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.