Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18290
Title: | การสื่อสารในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีการเรียนทางวิทยุและไปรษณีย์ในรายการวิชา "สร้างเสริมประสบการชีวิต 1" |
Other Titles: | Rural communication : a case study in radio correspondence of nonformal education on the program "life experience I" |
Authors: | พัชรินทร์ เทมวรรธน์ |
Advisors: | อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Orawan.P@Chula.ac.th |
Subjects: | สื่อมวลชนกับการศึกษา การศึกษาทางไกล |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารในชนบท: ศึกษาเฉพาะกรณีการเรียนทางวิทยุและไปรษณีย์ในรายการวิชา “สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 1” ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ ซึ่งสุ่มประชากรตัวอย่างมาทำการศึกษาเฉพาะผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ 3 ทางวิทยุและไปรษณีย์และกลุ่มผู้ไม่ได้เรียนทางวิทยุและไปรษณีย์จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (percentage) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความรู้ระหว่างกลุ่มผู้เรียนทางวิทยุไปรษณีย์และกลุ่มผู้ไม่ได้เรียนทางวิทยุและไปรษณีย์ โดยวิธีการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละ และหาค่า t-test ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for The Social Science = SPSS) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มผู้ที่เรียนทางวิทยุและไปรษณีย์และผู้ไม่เรียน ว.ปณ. ไม่มีความแตกต่างกันในความรู้ในวิชา “สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 1” 2. ผู้ที่เรียนทางวิทยุและไปรษณีย์และผู้ไม่เรียนทาง ว.ปณ. มีการนำความรู้ไปใช้แตกต่างกันกล่าวคือ ผู้ที่เรียนมีการนำความรู้ไปใช้มากกว่าผู้ไม่ได้เรียน 3. การเปิดรับวิทยุของกลุ่มผู้เรียนทางวิทยุและไปรษณีย์มีความสัมพันธ์กับความรู้วิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 1 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ 0.226 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 4. การเปิดรับวิทยุของกลุ่มผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับการนำความรู้ไปใช้โดยมีค่าสหสัมพันธ์ 0.270 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 |
Other Abstract: | This case study attempts to analyze rural communication through the radio correspondence program “Life Experience I” of Nonformal Education Northern Regional Center. The samples comprised 120 cases divided in two groups: the learners of adult education through radio correspondence level 3 on the program “Life Experience I” and the non-learners in a village of Chiang Mai. All of the interviewed questionnaires were analyzed by using percentage, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and t-test. Data analysis was processed through Statistical Package for the Social Sciences. (SPSS) The main results of this case study show that: 1. The learner group had no difference in the knowledge of “Life Experience I” from that of the non-learners. 2. The learner group utilized the knowledge acquired more than the non-learner group. 3. The radio exposure of the learner group was correlated with the knowledge of “Life Experience I” acquired at the significant level of 0.05 (r = 0.226) 4. The radio exposure of the learner group was correlated with its utilization of knowledge at the significant level of 0.01 (r = 0.270). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18290 |
ISBN: | 9745623024 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharin_Te_front.pdf | 319.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Te_ch1.pdf | 338.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Te_ch2.pdf | 403.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Te_ch3.pdf | 303.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Te_ch4.pdf | 399.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Te_ch5.pdf | 309.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharin_Te_back.pdf | 574.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.