Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18299
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรอง ศยามานนท์-
dc.contributor.authorพวงเพชร สุรัตนกวีกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-20T23:39:00Z-
dc.date.available2012-03-20T23:39:00Z-
dc.date.issued2516-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18299-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มุ่งที่จะค้นคว้าข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลงานของเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ แต่ละท่านตั้งแต่ตั้งกระทรวงจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาประเทศส่วนต่างๆ ในขอบเขตงานของกระทรวงเกษตราธิการ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิวัฒนาการนโยบายและผลงานของกรมต่างๆ ในกระทรวงเกษตราธิการ เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้มี 7 บท บทนำกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมายในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยนี้ บทที่สองกล่าวถึงประวัติกระทรวงเกษตราธิการ หน้าที่ของเสนาบดีกรมนาตั้งแต่สมัยสุโขทัยซึ่งวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งยกฐานะสูงขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ปัญหาเรื่องหาสถานที่ตั้งกระทรวงเกษตราธิการ และการแบ่งส่วนราชการในกระทรวงเกษตราธิการของเสนาบดีแต่ละสมัย บทที่สามกล่าวถึงประวัติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีและผลงานของท่าน ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการได้มีการแก้ไขพิกัดอัตราค่าธรรมเนียมค่าที่นาขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับกาลเวลา ร่างและประกาศใช้พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่โดยอาศัยเทียบเคียงกับกฎหมายประเภทเดียวกันนี้กับของต่างประเทศ และจัดการระงับกรณีวิวาทแย่งที่ดินริมคลองรังสิตระหว่างบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามและผู้จับจองเก่าให้เป็นที่เรียบร้อย นอกจากนั้นกล่าวถึงงานด้านอื่น เช่น ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตไปพร้อมเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เพื่อไปเจรจากับรัฐบาลอังกฤษเรื่องนายนอกซ์ (Mr. Knox) ท้าทายก่อการวิวาทกับรัฐบาลไทยกรณีนายสำอางค์ อมาตยกุล ท่านเคยรับราชการเป็นทหารม้า ทหารราบ แม่ทัพใหญ่ไปปราบปรามโจรฮ่อตามชายแดน ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรพานิชการ บทที่สี่กล่างถึงประวัติและผลงานของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ในบทนี้ได้เน้นถึงการทำนาและอุปสรรคของการทำนาพร้อมข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหาดังกล่าว การตั้งกรมทะเบียนที่ดินหอทะเบียนที่ดินและกรมเพาะปลูก การขุดและซ่อมคลองทำนบต่างๆ การกำจัดผักตบชวาซึ่งขึ้นหนาแน่นจนคลองตันจนในฤดูทำนาน้ำท่วมก็จะขึ้นทับต้นข้าวตาย กล่าวถึงประวัติของบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามตลอดจนงานและอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินงาน บทที่ห้ากล่าวถึงประวัติและพระประวัติกับงานของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ และพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ในฐานะเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ในด้านการส่งเสริมบำรุงการเพาะปลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว ด้วยการจัดนิทรรศการแสดงกสิกรรมและพานิชการ ณ สระประทุมวัน พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเกษตรกรรมเพื่อเผยแพร่วิชาการด้านนี้ การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวแพง การทำนาไม่ได้ผลเพราะไม่มีการชลประทานที่ดีให้ลุล่วงไปด้วยดี สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงมีบทบาทสำคัญในการร่างพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินฉบับที่ 1-3 บทที่หกกล่าวถึงประวัติและงานด้านเกษตรของเจ้าพระยาพลเทพและเจ้าพระยาพิชัยญาติ ได้แก่การตัดทอนงบประมาณกระทรวงเกษตราธิการให้เป็นดุลยภาพโดยการจัดส่วนราชการกระทรวงเกษตราธิการใหม่และปลดข้าราชการทั้งไทยและต่างประเทศที่ไม่จำเป็นออก ประกาศงดเก็บเงินค่าใบอนุญาตร่อนหาแร่และงดเก็บค่าธรรมเนียมเหมืองแร่ชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีอาชีพทำแร่และหาแร่ เนื่องจากราคาแร่ดีบุกตกต่ำมาก สำหรับเรื่องการทดน้ำ ได้สร้างเขื่อนใหญ่ขึ้นที่ท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามโครงการป่าสักใต้ ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นการขยายเนื้อที่ทำนามากขึ้น ด้านกรมป่าไม้กล่าวถึงวิวัฒนาการของกรมป่าไม้ การแก้ไขปรับปรุงป่าไม้สักให้ดีขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยอาศัยหลักวิชาและคำแนะนำของที่ปรึกษาชาวต่างประเทศประจำกรมป่าไม้ จัดการบำรุงรักษาเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและปรับปรุงบึงบอระเพ็ดเป็นที่สงวนพันธุ์ปลา บทสรุปสุดท้ายคือบทสรุปงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตราธิการตั้งแต่ พ.ศ. 2435 -2475 (ค.ศ. 1892 – 1932)-
dc.description.abstractalternativeThis resort is an attempt to examine in detail the new material concerning the work of each Minister of Agriculture from the foundation of the Ministry in A.D. 1892 to the change of the regime from the absolute monarchy to a constitutional government in A.D. 1932. Each Minister had an important role to develop Thailand within the scope of his Ministry, especially in dealing with the policy and work of every department in his Ministry. The thesis is decided into 7 chapters. The introductory chapter is a survey of the problems ,the aims, the scope and the method of this research. The second chapter is concerned with the Ministry's history together with its organization chart, the details of the Department of Agriculture's duties from the Sukothai period up to the creation of the Ministry. The third chapter contains Chao Phya Surasakmontri's biography and his work as the Minister of Agriculture such as the revision of the Farm Tax Act, the Mining Act, the land disputes at the Rangsit canal. The fourth chapter relates Chao Phya Tevetvongswivat's biography and his work, putting an emphasis on the cultivation of land, the establishment of the Land Department and the Department of Agriculture. The fifth chapter deals with the biographies of Chao Phya Wongsesanuprapat and His Royal Highness Prince Ratchaburi and their work in the Ministry of Agriculture such as the solution of the problem of high cost of rice, the Agricultural and Trade Exhibition, and the drafting of another land act. The sixth chapter narrates the life and work of Chao Phya Pollatep and Chao Phya Pichaiyart such as the construction of the big dam in the province of Phra Nakorn Si Ayutthaya, the retrenchment of the officials in A.D. 1926, the improvement of the working of the teak forest, and the creation of the Fishery Department. The last chapter concludes with the advantages and the obstacles to the work of each Minister.-
dc.format.extent362153 bytes-
dc.format.extent405386 bytes-
dc.format.extent397584 bytes-
dc.format.extent613803 bytes-
dc.format.extent1147007 bytes-
dc.format.extent1070929 bytes-
dc.format.extent2046929 bytes-
dc.format.extent565947 bytes-
dc.format.extent1326011 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระทรวงเกษตราธิการen
dc.subjectเสนาบดีen
dc.titleเปรียบเทียบผลงานของเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ พ.ศ. 2435-2475 (ค.ศ. 1892-1932)en
dc.title.alternativeA comparison of the work of the ministers of agriculture from A.D. 1892-1932 (B.E. 2435-2475)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phuangphet_Su_front.pdf353.67 kBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch1.pdf395.88 kBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch2.pdf388.27 kBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch3.pdf599.42 kBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch5.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch6.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_ch7.pdf552.68 kBAdobe PDFView/Open
Phuangphet_Su_back.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.