Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18323
Title: การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการประหยัดพลังงานของบ้านพักอาศัย กรณีศึกษา บ้านพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Environmental modification for residential building case Study : sufficient house Rajabhath Rajanagarindra University, Bangkla, Chachoengsao Province
Authors: ศุภฤกษ์ แก้วสิงห์
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน
ที่อยู่อาศัย -- การอนุรักษ์พลังงาน
Architecture and energy conservation
Dwellings -- Energy conservation
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างมากกับการประหยัดพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านพักอาศัย ผลการศึกษาพบว่าการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อลดการใช้พลังงานของบ้านมีปัจจัยหลัก 3 ปัจจัยได้แก่ 1) แหล่งน้ำและการระเหยของน้ำ 2) อุณหภูมิพื้นผิวของสภาพแวดล้อมตลอดวัน 3) พื้นที่รับแดดและการสร้างร่มเงาผลการวิจัยจากข้อมูลสภาพแวดล้อมกรณีศึกษาบ้านพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า พบว่าการสร้างแหล่งน้ำเพื่อลดอุณหภูมิควรมีร่มเงาเหนือแหล่งน้ำตลอดวัน การลดอุณหภูมิพื้นผิวของสภาพแวดล้อมของผิวถนนใช้ร่มเงาต้นไม้ตลอดทั้งวัน ส่วนอุณหภูมิพื้นผิวของพืชคลุมดินควรอยู่ใต้ร่มเงาและใช้เทคนิคการระเหยของน้ำ ความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดพื้นผิวถนนโดนแดด (62.5 องศาเซลเซียส)และต่ำสุดพื้นผิวถนนไม่โดนแดด (27 องศาเซลเซียส) เท่ากับ 35.5 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดผิวดินโดนแดด (62.85 องศาเซลเซียส)และต่ำสุดผิวดินไม่โดนแดด (27.5 องศาเซลเซียส) เท่ากับ 35.35 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดผิวหญ้าโดนแดด (45.7 องศาเซลเซียส)และต่ำสุดผิวหญ้าไม่โดนแดด (26.3 องศาเซลเซียส) เท่ากับ 19.4 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดผิวน้ำโดนแดด (36.15 องศาเซลเซียส)และต่ำสุดผิวน้ำไม่โดนแดด (28.9 องศาเซลเซียส) เท่ากับ 7.25 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยสรุปว่า กรณีสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีความร้อนสูง ได้แก่ พื้นผิวดินแห้งโดนแดดหรือพื้นผิวถนนคอนกรีตโดนแดด จะทำให้อุณหภูมิอากาศภายนอกอาคารสูงถึง 42 องศาเซลเซียส กรณีปรับสภาพแวดล้อมภายนอกให้เย็นลง ได้แก่การใช้ร่มเงาจากต้นไม้ทรงสูงการใช้พืชคลุมดินและเพิ่มการระเหยของน้ำ และเพิ่มแหล่งน้ำในร่มมีความลึก 1.50 เมตร ทำให้อุณหภูมิอากาศภายนอกอาคารลดลงเหลือ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ปริมาณพลังงานที่ใช้ในการปรับอากาศภายในอาคารแตกต่างกัน กรณีสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูงจะมีค่าความแตกต่างอุณหภูมิภายนอกและภายในอาคาร (ΔT) เท่ากับ 17 องศาเซลเซียส (42-25 องศาเซลเซียส) กรณีสภาพแวดล้อมเย็นมีค่า ΔT เท่ากับ 5 องศาเซลเซียส (30-25 องศาเซลเซียส) ข้อมูลจากการวิจัยสามารถนำไปขยายผลเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองให้มีความเย็นและเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Outside environment around building is an important factor to energy efficiency. It is found that to reduce energy consumption in house has 3 major factors as 1) pond and its evaporation, 2) surface temperature of environment, and 3) shade and non-shade surface. Data from case study sufficient house at Rajabhath Rajanagarindra University, Bangkla campus shown that shaded pond, shaded hard cape surface, and evaporated ground covering surface. The temperature difference of shaded concrete surface (27 Celsius) and non-shaded (62.5 Celsius) was 35.5 Celsius. The temperature difference of shaded ground surface (27.5 Celsius) and non-shaded (62.85 Celsius) was 35.35 Celsius. The temperature difference of shaded ground-covering plants surface (26.3 Celsius) and non-shaded (45.7 Celsius) was 19.4 Celsius. Then, temperature difference of shaded water surface (28.9 Celsius) and non-shaded (36.15 Celsius) was 7.25 Celsius. It can be concluded that surface temperature of outside environment such as non-shaded bare ground or non-shaded concrete surfaces will reach as high as 42 Celsius. Using shaded tree, ground cover plant and water pond with 1.50 meter depth, can reduce outside air temperature to 30 Celsius. In case of high surface temperature condition, temperature different between outside and inside building is 17 Celsius while cool surface temperature condition approach has only 5 Celsius different. Cool environment and surfaces can create better environment in hot-humid climate, effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18323
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.487
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.487
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supharuek_ke.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.