Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18344
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัชระ เพียรสุภาพ | - |
dc.contributor.author | ปิยพันธ์ บรรเทิงไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-21T14:50:10Z | - |
dc.date.available | 2012-03-21T14:50:10Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18344 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | อัตราผลผลิตเป็นดัชนีชี้วัดหนึ่งที่แสดงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการก่อสร้าง วิธีการเพิ่มอัตราผลผลิตนั้นมีหลากหลายวิธี งานวิจัยในอดีตพบว่า หลักการทางการยศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเพิ่มอัตราผลผลิตได้ ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตไปพร้อมกับยกระดับสภาพการทำงาน หรือท่าทางการทำงานของคนงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ท่าทางการทำงานที่มีผลต่อสภาพทางการยศาสตร์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการยศาสตร์และอัตราผลผลิต นอกจากนี้งานวิจัยยังพยายามเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงท่าทางการทำงาน โดยใช้หลักการทางการยศาสตร์ โดยงานวิจัยได้ศึกษางานก่ออิฐ ในหน่วยงานก่อสร้าง รวมทั้งการศึกษาทดลองก่ออิฐมวลเบา และอิฐมอญในสภาวะจำลอง ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้วิธี Ovako working posture analysis system (OWAS) ในการประเมินค่าสภาพทางการยศาสตร์ และคำนวณค่าดัชนีความเสียงทางการยศาสตร์ (IR) การเก็บข้อมูลใช้กล้องวีดีทัศน์เพื่อบันทึกภาพท่าทางในการทำงาน พร้อมกับการจดบันทึกอัตราผลผลิต โดยการเลือกตัวอย่างภาพท่าทางอย่างเป็นระบบด้วยโปรแกรมตัดต่อ และนำข้อมูลภาพไปประเมินผลและคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยง (IR) ตามวิธี OWAS ข้อมูลที่ได้รับสามารถใช้วิเคราะห์สภาพทางการยศาสตร์ และท่าทางที่มีผลต่อสภาพทางการยศาสตร์ในการก่ออิฐ นอกจากนี้งานวิจัยยังนำปัจจัยสำคัญมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ดัชนีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ความสูงของการก่ออิฐ และอัตราผลผลิต ผลการศึกษาพบว่าค่าดัชนีความเสี่ยงทางการยศาสตร์มีค่าลดลง เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลผลิตมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อระดับความสูงเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ทั้งนี้เป็นเพราะลักษณะการก่ออิฐของคนงาน ผลลัพธ์ที่ได้รับแสดงให้ทราบว่า กระบวนการในการทำงานมีผลกับค่าอัตราผลผลิตมากกว่าสภาพทางการยศาสตร์ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพทางการยศาสตร์ โดยการปรับปรุงท่าทางการทำงาน ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ และประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับปรุงสภาพทางการยศาสตร์ | en |
dc.description.abstractalternative | Productivity is one of indexes which can indicate the efficiency of the construction process. In fact, there are many methods for improving construction productivity. Many previous researches showed that ergonomic principle could be applied to improve productivity, working conditions and working posture. This research aims to analyze working postures which have an effect on ergonomic environment, and explore the relationships between ergonomics and productivity. Moreover, this research attempts to find a recommendation for improving the working posture by applying ergonomic principles. In this research, the researcher selected a bricklaying task to be a case study. The Ovako working posture analysis system (OWAS) method was applied to assess ergonomic posters and calculate the ergonomic index risk (IR) of bricklaying task. The digital video was used as a tool to capture the work posters, while the productivity was recorded. These work postures recorded by digital video were systematically selected by snapshot program. Subsequently, the posture samplings were interpreted by using OWAS code and then the ergonomic index risk (IR) were calculated. The results of this research can be used for analyzing ergonomic environment and the work posture. In addition, the 3 main factors, namely ergonomic risk index, height of brick and productivity, were considered to analyze the relationships between them. The result of these relationships revealed that the IR decreased while the height of brick increased. The height of brick also affected the IR in 2 types, because of the work condition. This research shows that the method of work has more impact on the productivity than the ergonomic environment. Furthermore, this research provides the recommendation of posture improvement by using ergonomic principles. | en |
dc.format.extent | 9873423 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม | - |
dc.subject | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง | - |
dc.subject | เออร์โกโนมิกส์ | - |
dc.subject | งานก่ออิฐ | - |
dc.subject | Industrial productivity | - |
dc.subject | Construction industry | - |
dc.subject | Human engineering | - |
dc.subject | Bricklaying | - |
dc.title | การประยุกต์หลักการทางการยศาสตร์สำหรับกระบวนการเพิ่มอัตราผลผลิตในงานก่อสร้าง : กรณีศึกษางานก่ออิฐ | en |
dc.title.alternative | Applying ergonomic principle for productivity improvement process in construction : a case study of bricklaying | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vachara.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyaphan_bu.pdf | 9.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.