Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18407
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ | - |
dc.contributor.author | รุ่งกมล โพธิสมบัติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-22T15:50:13Z | - |
dc.date.available | 2012-03-22T15:50:13Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18407 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | ศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2) ผลของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ต่อมุมมองเรื่องการดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสรุปความจากข้อมูลที่ได้ในลักษณะของการอุปนัย ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และแพทย์ผู้รักษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3 รายกับแพทย์ผู้รักษา 1 ราย และผู้ป่วยในต่างจังหวัด 3 รายกับแพทย์ผู้รักษา 1 ราย ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยมีทั้งสิ้น 4 รูปแบบ กล่าวคือความสัมพันธ์แบบบิดามารดากับบุตร ความสัมพันธ์แบบครูกับลูกศิษย์ ความสัมพันธ์แบบเจ้านายกับลูกน้อง ความสัมพันธ์แบบผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์ที่พบข้างต้นมีความสอดคล้องกับ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยตามแนวคิดของ Talcott Parsons โดยเฉพาะในสามรูปแบบแรก ในขณะที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในปัจจุบันได้เพิ่มเติมอีกหนึ่งรูปแบบ แพทย์ยังคงเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการ หากความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยดำเนินไปในลักษณะที่เป็นบิดามารดากับบุตร ครูกับลูกศิษย์ และเจ้านายกับลูกน้อง ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่เป็นไปในลักษณะของผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ผู้ป่วยจะมีอำนาจในการใช้สิทธิของตนเองในฐานะผู้ใช้บริการ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยยังคงมีความพลวัตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย | en |
dc.description.abstractalternative | To study the relationship between doctor and patient under the universal coverage (UC) health care system and to investigate consequences of doctor and patient relationship on diabetes patients' self-care perceptions. Key informants are 6 diabetes patient and 2 consecutive doctors, both group are sampled from both Bangkok and rural areas. Field data is collected by using qualitative tools, which is in-depth interview and participant observation. The data is then analyzed inductively by method of content analysis. It is found that doctor-patient relationship under the universal coverage (UC) health care system can be categorized into 4 types: parent-child, teacher-student, employeremployee, service provider-client. The first three relationships are similar to Talcott Parsons' model of doctor-patient relationship. With the introduction of the universal coverage (UC) health care system in Thailand in 2000, Structure of power between doctor and patient tend to change toward a more equal one of service provider and client type. Clients are more concerned about their rights as patients and liberate themselves as a consequence. However, it is worth bearing in mind that relationship between doctor and patient is dynamic and context specific. The doctor and patient relationship has no direct observable impacts on patients' self-care perceptions. | en |
dc.format.extent | 2130700 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | - |
dc.subject | แพทย์กับผู้ป่วย | - |
dc.subject | นโยบายสังคม | - |
dc.subject | บริการสังคม | - |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | - |
dc.subject | ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ | - |
dc.subject | อำนาจ (สังคมศาสตร์) | - |
dc.subject | Universal Coverage | - |
dc.subject | Physician and patient | - |
dc.subject | Social policy | - |
dc.subject | Social service | - |
dc.subject | Self-care, Health | - |
dc.subject | Symbolic interactionism | - |
dc.subject | Power (Social sciences) | - |
dc.title | พลวัตความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและผลต่อมุมมองโรคเบาหวานของผู้ป่วย : ศึกษากรณีความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยภายหลังการใช้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en |
dc.title.alternative | Dynamics of doctor and patient relationship and its consequences on patients' perspectives of diabetes : a case study of doctor and patient relationship under universal coverage system | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pavika.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungkamol_po.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.