Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18418
Title: ปัจจัยกำหนดอาชญากรรมในประเทศไทย
Other Titles: Determinants of crime rate in Thailand
Authors: สโรกาญจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์
Advisors: วรเวศม์ สุวรรณระดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Worawet.S@chula.ac.th
Subjects: อาชญากรรม -- ไทย
อาชญากรรม -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย
อาชญาวิทยา
Crime -- Thailand
Crime -- Economic aspects -- Thailand
Criminology
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดอาชญากรรมกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพ รวมถึงศึกษาผลจากการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจ ที่มีต่ออัตราการเกิดอาชญากรรม ในการศึกษาครั้งนี้จะวิเคราะห์โดยใช้วิธี OLS (Ordinary least squares) ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลภาคตัดขวาง (Panel data) รายจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2551 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ พิจารณาจากจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมต่อพื้นที่ และอัตราการเกิดอาชญากรรมในจังหวัดพื้นที่ติดกัน มีผลกระทบต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมในจังหวัด อย่างมีนัยสำคัญในทางบวก สำหรับสัดส่วนของแรงงานที่มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ต่อกำลังแรงงานในจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง สัดส่วนของผู้มีต้นทุนในการก่ออาชญากรมสูงนั้น จะมีผลในทางลบ หากความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ลดลง ส่งผลให้อัตราการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้น และสัดส่วนของแรงงานต่างด้าวต่อกำลังแรงงานในจังหวัดนั้น มีผลกระทบต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมในทางบวก ขณะเดียวกันจากการศึกษายังพบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ต่อหัวประชากร และความครอบคลุมของการมีหลักประกันทางสังคม ซึ่งวัดโดยสัดส่วนของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมต่อกำลังแรงงานในจังหวัด หากปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้มีระดับที่สูงเพียงพอนั้น ก็มิได้ทำให้อัตราการเกิดอาชญากรรมลดลง สำหรับผลจากการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจที่มีต่ออัตราการเกิดอาชญากรรม หากสัดส่วนของการจับได้ต่อการแจ้งคดีทั้งหมดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีนัยว่าหากตำรวจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะส่งผลให้อัตราการเกิดอาชญากรรมลดลง นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างกันของปัจจัยกำหนดอาชญากรรมแต่ละประเภท หากอัตราการว่างงานในจังหวัดเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญเพิ่มขึ้น แต่เมื่อความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายและคดีชีวิต ร่างกายและเพศลดลง
Other Abstract: This study examines, firstly, the determination of economic, social and physical factors on crime rate in Thailand and, secondly, the effect of the effort of preventing and suppressing crime of the Thai police department on crime rate. We used OLS (Ordinary least square) method and utilized panel data during 1999-2008 of 76 provinces in Thailand. Our results indicate that, physical factors, namely factory density and neighborhood provinces affect positively on crime rate. The proportion of secondary school graduates, which reflect high cost of crime has negative relation to crime rate since the number of population density affect negatively relation to crime rate while proportion of foreign workers has positive relation to crime rate. Moreover we found that, provincial economic activities define by gross provincial product per capita and the coverage of social safety net, they will not contribute on crime rate decreasing if there don’t have sufficient magnitude. The effort for crime suppression defines by the ratio of arrested per offences will decrease significantly the province crime rate. In addition, we found that the contribution of each factors are different by type of crime for example the magnitude of unemployment will increase the violent crime. The areas with lower population density (i.e. remote area) tend to have less drug cases, prostitution cases, gambling cases.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18418
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.442
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.442
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarokarn_pi.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.