Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18431
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ช่วงสุวนิช-
dc.contributor.authorนพมาศ ปทุมบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-22T22:59:19Z-
dc.date.available2012-03-22T22:59:19Z-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18431-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์ดูว่าแบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มที่จะวัดพฤติกรรมด้านใด 1.1 ความรู้ (Knowledge) 1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) 1.3 กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ (Processes of Scientific Inquiry) 1.4 ความสามารถในการนำความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ (Application of Scientific Knowledge and Method) 1.5 ทัศนคติและความสนใจทางวิทยาศาสตร์ (Attitudes and Interests) 1.6 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) 2. เพื่อเปรียบเทียบว่าแบบสอบคัดเลือกวิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาฟิสิกส์ และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีการวัดพฤติกรรมด้านต่างๆในอัตราร้อยละเท่าใด การดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ คือ แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาฟิสิกส์ และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป) ปีพ.ศ.2518 – พ.ศ.2520 ทั้งตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจำนวน 1,413 ข้อ ผู้วิจัยได้ฝึกพิจารณาจำแนกข้อสอบลงในตารางวิเคราะห์ข้อสอบ โดยพิจารณาว่า คำถามของข้อสอบแต่ละข้อเป็นคำถามที่วัดพฤติกรรมด้านใด แล้วสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นพวกหรือชั้น (stratified random sampling) มาทำการวิเคราะห์แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ ซึ่งปรากฏว่า ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ถูกต้องตรงกับความเห็นส่วนมากของผู้ทรงคุณวุฒิถึงร้อยละ 47.08 แล้วจึงได้ทำการวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกดังกล่าวนั้นทุกข้อโดยได้รับการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่จากอาจารย์ที่ปรึกษาทุกข้อ ผลการวิเคราะห์ 1. แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี และวิชาฟิสิกส์ ทั้งตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่ เน้นหนักในการวัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจ โดยวิชาเคมีตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่วัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 71.19 และ 65.76 ตามลำดับ วิชาฟิสิกส์ตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่วัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 92.33 และ 84.33 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมด้านอื่นๆมีการวัดน้อยมาก 2. แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ทั้งตามแนวหลักสูตรเก่าและตามแนวหลักสูตรใหม่ กับวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นหนักในการวัดพฤติกรรมด้านความรู้และพฤติกรรมด้านความเข้าใจ โดยวิชาชีววิทยาตามแนวหลักสูตรเก่าวัดพฤติกรรมด้านความรู้ร้อยละ 58.66 พฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 32.66 แบบสอบคัดเลือกวิชาชีววิทยาตามแนวหลักสูตรใหม่วัดพฤติกรรมด้านความรู้ร้อยละ 38.66 พฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 40.66 แบบสอบคัดเลือกวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป วัดพฤติกรรมด้านความรู้ร้อยละ 59.33 และวัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจร้อยละ 29 ส่วนพฤติกรรมด้านอื่นๆมีการวัดน้อยมาก 3. แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ไม่มีการวัดพฤติกรรมด้านทัศนคติและความสนใจทางวิทยาศาสตร์กับพฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เลย-
dc.description.abstractalternativeObjectives of Research 1. Science Entrance Examinations were analyzed in order to determine which of the following behaviors were measured 1.1 Knowledge 1.2 Comprehension 1.3 Processes of Scientific Inquiry 1.4 Application of Scientific Knowledge and Method 1.5 Attitudes and interests 1.6 Creativity 2. To compare what percentage of the questions in different fields of science measured these behaviors. Methodology The science Entrance Examination was used as population. The entrance examination in 1975, 1976 and 1977 were analyzed. There were 1,413 questions which belonged to both new and old curricula of National Education Committee. The questions were classified in an analysis table. They were considered which behaviors they measured. About 10% of these questions were selected by mean of stratified random sampling and were pre-analyzed. Then the samples were examined by the experts concerning in education from different departments. The results from most experts and the results of previous analysis were the same, as high as 97.08%. Then every question was analyzed thoroughly. Results of the analysis 1. The questions in new and old curricula of chemistry paper measured students’ comprehension 71.19% and 65.76% respectively. The question in new old curricula of physics paper measured students’ comprehension 92.33% and 84.33% respectively. The other behaviors were measured insignificantly. 2. Most of the question in biology and general science papers measured knowledge and comprehension 32.66% and 58.66% in old curriculum of biology paper measured students’ comprehension and their knowledge respectively, 40.66% and 38.66% in new curriculum of biology paper measured students’ comprehension and their knowledge respectively. 29% and 59.33% of general science paper measured students’ comprehension and their knowledge respectively. The other behaviors were measured insignificantly. 3. Students’ attitude, interests and creativity were not measured at all.-
dc.format.extent396736 bytes-
dc.format.extent473367 bytes-
dc.format.extent872173 bytes-
dc.format.extent334006 bytes-
dc.format.extent479330 bytes-
dc.format.extent396542 bytes-
dc.format.extent1053801 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- ข้อสอบ -- การวิเคราะห์en
dc.titleการวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา สขาวิชาวิทยาศาสตร์en
dc.title.alternativeAn analysis of university entrance tests in scienceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppamare_Pa_front.pdf387.44 kBAdobe PDFView/Open
Noppamare_Pa_ch1.pdf462.27 kBAdobe PDFView/Open
Noppamare_Pa_ch2.pdf851.73 kBAdobe PDFView/Open
Noppamare_Pa_ch3.pdf326.18 kBAdobe PDFView/Open
Noppamare_Pa_ch4.pdf468.1 kBAdobe PDFView/Open
Noppamare_Pa_ch5.pdf387.25 kBAdobe PDFView/Open
Noppamare_Pa_back.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.