Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18434
Title: | บทบาทของครูตามการรับรู้ของตนเองในการปลูกฝังค่านิยมอันพึงประสงค์ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | Teachers' roles as perceived by themselves in inculcating desirable values in elementary school students in Chachoengsao province |
Authors: | นภวรรณ มายะการ |
Advisors: | ทิศนา แขมมณี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Tisana.K@chula.ac.th |
Subjects: | ค่านิยม ศีลธรรมจรรยา -- การศึกษาและการสอน ครูประถมศึกษา โรงเรียน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | 1. เพื่อศึกษาบทบาทของครูประถมศึกษาตามการรับรู้ของตนเองในการปลูกฝังค่านิยมอันพึงประสงค์ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของครูตามการรับรู้ของตนเองในการปลูกฝังค่านิยมอันพึงประสงค์จำแนกตามเพศ, วุฒิการศึกษา, ประสบการณ์ในการสอนและระดับชั้นที่สอน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามสำหรับครู และแบบสัมภาษณ์สำหรับนักเรียน นำเครื่องมือดังกล่าวไปทดลองใช้แล้วนำมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ ได้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปใช้กับครูในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งทำหน้าที่เป็นครูประจำชั้นจำนวน 486 คน นำแบบสัมภาษณ์ไปใช้กับนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจำนวน 48 คน ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด คิดเป็น 92.80% และแบบสัมภาษณ์คิดเป็น 100% ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า z การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่า F ผลการวิจัย ตัวอย่างประชากรของการวิจัย มีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการมีวินัยในตนเอง การมีสัจจะ และการประหยัดให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับมาก และจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่า z (z-test) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน ในการปลูกฝังค่านิยมอันพึงประสงค์ ผลปรากฏว่า 1. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ 1.1 ครูเพศหญิงและชายมีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการมีวินัยในตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 1.2 ครูเพศหญิงและชายมีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการมีสัจจะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยครูเพศชายมีการปลูกฝังมากกว่าครูหญิง 1.3 ครูเพศหญิงและชายมีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการประหยัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยครูเพศชายมีการปลูกฝังมากกว่าครูเพศหญิง 2. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวุฒิการศึกษา ครูที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี และครูที่มีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี มีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการมีวินัยในตนเอง การมีสัจจะ และการประหยัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยครูที่มีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีมีการปลูกฝังมากกว่าครูที่ต่ำกว่าปริญญาตรีทุกค่านิยม 3. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างประสบการณ์การสอน 3.1 ครูที่มีประสบการณ์การสอนไม่เกิน 9 ปีและครูที่มีประสบการณ์การสอน 10 ปีขึ้นไป มีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการมีวินัยในตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์การสอน 10 ปีขึ้นไปมีการปลูกฝังมากกว่าครูที่มีประสบการณ์การสอนไม่เกิน 9 ปี 3.2 ครูที่มีประสบการณ์การสอนไม่เกิน 9 ปีและครูที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีการปลูกฝังค่านิยมด้านการมีสัจจะไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.3 ครูที่มีประสบการณ์การสอนไม่เกิน 9 ปีและครูที่มีประสบการณ์การสอน 10 ปีขึ้นไป มีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมด้านการประหยัด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างระดับชั้นพบว่า ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2, 3-4 และ 5-6 มีการปลูกฝังค่านิยมในด้านการมีวินัยในตนเอง การมีสัจจะและการประหยัดไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | Purposes: 1. To study the teachers’ roles in cultivating desirable values to elementary school students in Chachoengsao province. 2. To compare teachers’ roles in cultivating desirable values, classified by their sex, levels of education, teaching experiences and class levels taught. Procedures: The instruments used in this study were the questionnaire for teachers and the Interview form for students. The instruments were tried out and revised. The reliability of the questionnaire was 0.93. The questionnaire was used with 486 classroom teachers and 48 students in the elementary school in Chachoengsao province. Ninety-three per cent of the questionnaires and 100% of the Interview forms were returned for the analysis. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, z-test, one way analysis of variance and F’- test. Results: Teachers who were Samples of the study performed their roles in inculcating the values in self-discipline, truth and economy at the level. The conclusions derived from z-test so as to compare the roles of teachers with different sex, academic degrees and teaching experiences. The results were 1. When comparing the roles of male and female teachers, it was found that: 1.1 There was no significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in self-discipline between male and female teachers. 1.2 There was significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in truth. Male teachers performed their roles in inculcating the values more than female teachers. 1.3 There was significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in economy. Male teachers performed their roles in inculcating the values more than female teachers. 2. When comparing the roles of teachers with different academic degrees, it was found that there was significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in self-discipline, truth and economy. Teachers of bachelor’s degree or higher than bachelor’s degree performed their roles in inculcating all values more than teachers of lower bachelor’s degree. 3. When comparing the roles of teachers with different teaching experiences, it was found that: 3.1 There was significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in self-discipline. Teachers with over ten years of teaching experience performed their roles in inculcating the values in self-discipline more than teachers with less than nine years of teaching experience. 3.2 There was no significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in truth between teachers with different academic degrees. 3.3 There was no significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in economy more than teachers with less than nine years of teaching experience at the .05 level of significance. 4. When comparing the roles of teachers who teach in different class levels, it was found that there was no significant difference at the .05 level in roles performance in inculcating the values in self-discipline, truth and economy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18434 |
ISBN: | 9745664588 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noppavan_Ma_front.pdf | 460.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppavan_Ma_ch1.pdf | 528.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppavan_Ma_ch2.pdf | 662 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppavan_Ma_ch3.pdf | 378.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppavan_Ma_ch4.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppavan_Ma_ch5.pdf | 886.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppavan_Ma_back.pdf | 959.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.