Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18449
Title: การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้ตัวแบบคานนิสโต ตัวแบบเมคแฮม ตัวแบบเวอร์สเมคแฮม และทฤษฎีค่าสุดขีด
Other Titles: Estimation of Thai elderly mortality rates using Kannisto model, Makeham model, Inverse-Makeham model and Extreme-value theory
Authors: สยุมภู สายชลพิทักษ์
Advisors: สุวาณี สุรเสียงสังข์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: fcomssr@acc.chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- ไทย
ผู้สูงอายุ -- การตาย
ผู้สูงอายุ -- การตาย -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ผู้สูงอายุ -- การตาย -- พยากรณ์
การตาย -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
การตาย -- พยากรณ์ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Older people -- Mortality
Older people -- Mortality -- Mathematical models
Older people -- Mortality -- Forecasting
Mortality -- Mathematical models
Mortality -- Forecasting -- Mathematical models
Older people -- Thailand
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประมาณและเปรียบเทียบค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทย จาก 4 ตัวแบบคือ 1) ตัวแบบคานนิสโต (Kannisto model) 2) ตัวแบบเมคแฮม (Makeham model) 3) ตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮม (Inverse-Makeham model) และ 4) ทฤษฎีค่าสุดขีด (Extreme-value theory) ค่าประมาณอัตรามรณะจาก 3 ตัวแบบแรกนำมาเปรียบเทียบกับค่าอัตรามรณะจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ โดยใช้ค่าร้อยละค่าสัมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (Mean absolute percentage error: MAPE) ทฤษฎีค่าสุดขีดนั้นได้ใช้ในการประมาณค่าอัตรามรณะในช่วงอายุมากๆ จากนั้นจึงนำค่าประมาณอัตรามรณะที่ได้จากงานวิจัย มาเปรียบเทียบกับอัตรามรณะที่ได้จากตารางมรณะไทย 2540 ประเภทสามัญ (TMO97) และตารางบำนาญไทย พ.ศ. 2552 การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลจำนวนประชากรและจำนวนการตาย จำแนกตามเพศและอายุ ของปี พ.ศ. 2546-2551 จากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า ตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮมให้ค่า MAPE ต่ำที่สุด สำหรับเพศชายในช่วงอายุ 60-85 ปี และเพศหญิงในช่วงอายุ 60-83 ปี เมื่อนำค่าอัตรามรณะที่ประมาณได้จากทฤษฎีค่าสุดขีด มาใช้ร่วมกับค่าประมาณที่ได้จากตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮม แล้วเปรียบเทียบค่าประมาณที่ได้กับอัตรามรณะที่ได้จากตาราง TMO97 พบว่ามีความใกล้เคียงกันมากในช่วงอายุ 60-82 ปี และ 60-85 ปี สำหรับเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ นอกจากนี้ค่าประมาณอัตรามรณะมีค่าใกล้กับค่าอัตรามรณะจากตารางบำนาญไทย พ.ศ. 2552 ในช่วงอายุ 60-92 ปี และ 60-93 ปี สำหรับเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ
Other Abstract: To estimate and compare the estimation of Thai elderly mortality rates by using 4 estimated models: 1) Kannisto model, 2) Makeham model, 3) Inverse-Makeham model, and 4) Extreme-value theory. The estimated mortality rates from 3 models were compared with mortality rates from civil registration data using mean absolute percent error (MAPE). The Extreme-value theory is used to estimate mortality rate in the high level ages. Then the estimated mortality rates from research were compared with the mortality rates from Thai Mortality Ordinary Table 1997 (TMO97) and the mortality rates from Thai Pension Table 2009. Data used in the study are the number of population and the number of death by age and sex of the year 2003-2008 from the Ministry of Interior and the Ministry of Public Health respectively. The study found that the Inverse-Makeham model gives the lowest MAPE value for males in the age rage 60-85 years and females’ age 60-83 years. Combine the estimated mortality rates from Inverse-Makeham Model and Extreme-Value Theory then compare to the mortality rates from TMO97 found that there is very similar in age range 60-82 years and 60-85 years for males and females, respectively. Moreover, the estimated mortality rates are near the mortality rates from Thai Pension Table 2009 in age range 60-92 years and 60-93 years for males and females, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประกันภัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18449
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.595
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.595
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sayhumpooh_sa.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.