Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18468
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อักขราทร จุฬารัตน | - |
dc.contributor.advisor | สุผานิต มั่นศุข | - |
dc.contributor.author | ธำรงศักดิ์ หงษ์ขุนทด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-24T02:54:31Z | - |
dc.date.available | 2012-03-24T02:54:31Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745637041 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18468 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | ในรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันหนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตหนึ่งกล่าวคือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายแพ่ง (เอกชน) และกฎหมายอาญาเท่านั้น การขยายขอบเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีออกไปคือ การมีอำนาจตรวจสอบฝ่ายบริหารหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายปกครอง และการมีอำนาจตวจสอบการขัดรัฐธรรมนูณของกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ย่อมขึ้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ระบบกฎหมาย หลักการแบ่งแยกอำนาจและการจัดระบบศาลยุติธรรมของประเทศที่ได้ขยายขอบเขตอำนาจของศาลยุติธรรมให้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าว การพิจารณาพิพากษาคดีหรือการบังคับการตามกฎหมายของศาลยุติธรรม จะมีผลก่อให้เกิดความแน่นอนเที่ยงธรรมทางกฎหมาย และความยุติธรรมได้มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดระบบศศาลยุติธรรมให้มีรูปแบบที่มีความเหมาะสมแก่การใช้อำนาจหน้าที่ และในขณะเดียวกันต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งอุดมคติของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ การจัดตั้งศาลที่มีอำนาจหน้าที่สำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีตามประเภทและลักษณะของคดี ผู้พิพากษาในศาลแต่ละศาลโดยเฉพาะศาลสูงสุดของประเทศ จะต้องประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการใช้กฎหมายที่อยู่ในวงวิชาชีพทางกฎหมาย ประชาชนมีอำนาจแต่งตั้งและควบคุมผู้พิพากษาไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม การแต่งตั้งและควบคุมผู้พิพากษาโดยทางอ้อมนั้น ได้แก่การที่ประชาชนมอบหมายให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือองค์กรพิเศษอื่นใดที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะในรูปของกลุ่มบุคคลให้ทำหน้าที่แทนประชาชนนั้นเอง สำหรับประเทศไทย ศาลยุติธรรมได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายแพ่ง (เอกชน) กฎหมายอาญา การตรวจสอบฝ่ายบริหาร หรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายปกครอง การจัดระบบศาลยุติธรรมนั้น ศาลแต่ละศาลจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด และมากน้อยต่างกันแล้วแต่อำนาจของศาลแต่ละศาล การแต่งตั้งและคุณสมบัติของผู้พิพากษาในศาลแต่ละศาลจะเหมือนกันยกเว้นความมีอาวุโสของผู้พิพากษา คณะกรรมการตุลาการมีอำนาจแต่งตั้งและควบคุมผู้พิพากษา รูปแบบของคณะกรรมการตุลาการประกอบด้วยบุคคลที่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้พิพากษา และไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับประชาชนไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชนและฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน มิได้มีส่วนในการแต่งตั้งบุคคลเข้าไปเป็นกรรมการตุลาการที่ประกอบขึ้นเป็นคณะกรรมการตุลาการแต่อย่างใด การจัดระบบไทยในลักษณะดังกล่าวข้างต้นนั้นเอง ปัญหาที่จะต้องพิจารณาก็คือระบบศาลไทยมีรูปแบบที่เอื้ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดความแน่นอนเที่ยงธรรมทางกฎหมายและศาลยุติธรรมได้มากน้อยเพียงไร และตั้งอยู่พื้นฐานแห่งอุดมตคิของการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ การวิจัยจะพิจารณาทั้งในด้านข้อเท็จจริงและบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการศึกษาทั้งในทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ผสมกันไป ทั้งนี้โดยวิเคราะห์พิจารณาถึงหลักการที่ปรากฎอยู่ในประเทศต่างๆ ที่เป็นหลักการเฉพาะของแต่ละประเทศ และหลักการร่วมที่ประเทศต่างๆได้มีร่วมกัน แล้วนำสิ่งที่ได้วิเคราะห์พิจารณานั้นมาศึกษาและวิจัยหลักการของประเทศไทย และหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหลักการของประเทศไทย โดยจัดระบบศาลไทยให้ประกอบไปด้วยศาลที่มีขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่เฉพาะคดีประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ศาลแต่ละศาลจะมีผู้พิพากษาที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ทั้งในด้านความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการใช้กฎหมายในวงวิชาชีพกฎหมาย คณะกรรมการตุลาการในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีอำนาจแต่งตั้งและควบคุมผู้พิพากษานั้น รูปแบบของคณะกรรมการตุลากรจะต้องมีลักษณะที่จะสามารถสร้างความเป็นกลางและความเป็นธรรม และได้รับความเชื่อความศรัทธาจากประชาชน โดยจะต้องมีการแต่งตั้งบุคคลที่อยู่ในวงวิชาชีพกฎหมาย ซึ่งมิใช่เฉพาะผู้พิพากษาเข้ามาเป็นกรรมการตุลาการ การแต่งตั้งกรรมการตุลาการบางส่วนให้อยู่ในอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการแต่งตั้งและควบคุมผู้พิพากษานั้นเอง | - |
dc.description.abstractalternative | Within a democratic system, courts of Law are institutions vested with the power and duty to adjudicate. Such power and duty are, however, circumscribed, namely, they apply only to judicial deliberations and enforcement of Civil and Criminal Law. The extension of judicial power to review administrative actions or enforce administrative law and to examine conflicts between an Act of parliament and the Constitution depend upon historical evolution, the legal system concerned, the separation of powers and the organization of courts. Adjudication and law enforcement by courts of law can ensure the realization of justice in Law, but justice itself may vary in degrees according to how the judicial system is organized to use its power and do its duty in a suitable manner. This also has to be based upon democratic ideals, Firstly, there must be established courts vested with the jurisdiction to adjudicate in certain type of disputes. Secondly, the judges of each courts, especially the highest court of the land, must be capable and have experience with respect to application of law within the spectrum of the legal profession. Thirdly, the general public must have the power to appoint and control judges whether directly or indirectly. With respect to the latter, control can arise through the general public’s delegation of power to the Legislature, the administration or special organs specifically established as representatives of the general public. In the case of Thailand, the courts have been conferred the power to adjudicate and enforce Civil Law and Criminal Law. They are empowered to review administrative actions and to enforce administrative law. Within the organization of courts, each court has varying degrees of power to adjudicate and enforce such law within the confines of its power. The appointment and qualifications of judges for each court are similar Service Commission, with the exception of the seniority factors. The judicial Service Commission has the power to appoint and control judges and it is not linked directly or indirectly with the general public. This implies that the general public and the Legislative or the Executive upon whom the public have conferred powers do not participate in appointing persons to such Judicial Service Commission and in organizing the Thai courts mentioned. The problem to be considered, therefore, is to what extent the Thai judicial system ensures the application of law for the advancement of legal certainty and justice and whether it is based upon democratic ideals. This piece of research will study facts and legal provisions which are conducive to interaction between Political Science and Law. It will analyze the evidence available in various countries, including individual and common principles from such countries. It will use such materials to assist in the study and analysis of the Thai judicial system and search for solutions and improvements of the principles to be found in Thailand. This is linked with the need to organize the courts in Thailand so as to enable them to have jurisdiction in certain cases in accordance with the different qualifications of the judges, whether from the standpoint of knowledge or experience in applying the law within the legal profession. With reference to the judicial Service Commission which has the power to appoint and control judged, its constitution must be based upon impartiality and Justice. It must enjoy he trust of the general public and it should have some members who are not judges but are from other branches of the legal profession. Moreover appointment of various members of the Judicial Service Commission should be within the purview of the Legislature so as to enable the general public to participate in appointing and controlling judges. | - |
dc.format.extent | 602169 bytes | - |
dc.format.extent | 1287622 bytes | - |
dc.format.extent | 880159 bytes | - |
dc.format.extent | 1251374 bytes | - |
dc.format.extent | 2024438 bytes | - |
dc.format.extent | 2100112 bytes | - |
dc.format.extent | 565562 bytes | - |
dc.format.extent | 379967 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศาล | en |
dc.subject | อำนาจตุลาการ | en |
dc.subject | ตุลาการ | en |
dc.title | บทบาทของฝ่ายตุลาการในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Role of the judicaitry in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thumrongsak_Ho_front.pdf | 588.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_ch1.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_ch2.pdf | 859.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_ch3.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_ch4.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_ch5.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_ch6.pdf | 552.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thumrongsak_Ho_back.pdf | 371.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.