Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18482
Title: การศึกษาตัวชี้วัดการบริหารทุนมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Other Titles: A Study of human capital management indicators of a nursing department, autonomous university hospitals
Authors: สุดารัตน์ ตานพิพัฒน์
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Areewan.O@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานบุคคล
ทรัพยากรมนุษย์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Personnel management
Human capital
University hospitals
Autonomous public universities
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาตัวชี้วัดการบริหารทุนมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยใช้เทคนิค Ethnographic delphi future research ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโรงพยาบาล 3 คน ด้านการบริหารฝ่ายการพยาบาล 6 คน ด้านการ บริหารทุนมนุษย์ 4 คน และด้านการบริหารทุนมนุษย์ในองค์การพยาบาล 4 คน วิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสร้างแบบสอบถามส่งกลับให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็น และ 3) นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง จากฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำ EDFR รอบที่สาม สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ตัวชี้วัดการบริหาร ทุนมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด จาก 4 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบาย แผนงานและมาตรการด้านการบริหารทุนมนุษย์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ และมีการสื่อสารให้บุคลากรรับรู้ 2) การวางแผนและการบริหารอัตรากำลังอย่างเหมาะสม 3) การกำหนดแผนการธำรงรักษาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง และ 4) การกำหนดแผนการสร้างและการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับให้เป็นแบบอย่างที่ดี องค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 22 ตัวชี้วัด จาก 2 มาตรฐาน ได้แก่ 1) กระบวนการการบริหารทุนมนุษย์ในการดำเนินการจัดสรร อัตรากำลัง การสรรหาคัดเลือก การพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความถูกต้องและทันเวลา และ 2) ฐานข้อมูลของบุคลากรมีความถูกต้อง สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารทุนมนุษย์ องค์ประกอบที่ 3 ประสิทธิผลของการบริหารทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 20 ตัวชี้วัด จาก 5 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน และมาตรการด้านการบริหารทุนมนุษย์ 2) การสนับสนุนให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3) การธำรงรักษาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง 4) การบริหารผลงานที่เน้น ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และ 5) การพัฒนาหน่วยงานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด จาก 1 มาตรฐานคือ ความโปร่งใสใน การปฏิบัติงาน องค์ประกอบที่ 5 คุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด จาก 4 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบาย แผนการ และมาตรการที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร 2) การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน 3) การจัดสวัสดิการเพิ่มเติมจากสวัสดิการภาคบังคับตามกฎหมาย และ 4) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
Other Abstract: To study of human capital management indicators of a nursing department, autonomous university hospitals. Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) technique was used to collect data. Participants were 17 experts consisting of 3 experts of hospital management, 6 experts of nursing management, 4 experts of human capital management and 4 experts of human resource management in nursing organization. The EDFR technique consisted of 3 steps : Step 1, all experts were interviewed about human capital management indicators of a nursing department. Step 2, interviewed data were analyzed for developing questionnaire and sent to prior experts for their opinion. Step 3, questionnaire items were analyzed for mean and interquartile range and then sent back to experts for their opinion’s confirmation. Major findings from the research of human capital management indicators of a nursing department, autonomous university hospitals comprised of 5 major dimensions as follows : 1. Strategic alignment consisted of 10 indicators from 4 standards: (1) Human capital strategic alignment; (2) Workforce planning and management; (3) Talent management; (4) Leadership development & ensuring continuity. 2. Human resource operational efficiency consisted of 22 indicators from 2 standards: (1) Human resource transaction activities are accuracy and timeliness; (2) Human resource data based correct . 3. Human resource management programme effectiveness consisted of 20 indicators from 5 standards: (1) Implementation of the policy; (2) Development and knowledge management; (3) Retention; (4) Performance management; (5) Learning organization. 4. Human resource accountability consisted of 1 indicator from one standard: Work transparency. 5. Quality of work life consisted of 10 indicators from 4 standards: (1) Quality of work life strategies; (2) Employee-friendly workplace; (3) Better welfares provision; (4) Employee management relations.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18482
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.275
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.275
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudaratana_ta.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.