Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18486
Title: บทบาทของสื่อที่มีต่อการยอมรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของสมาชิก โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์
Other Titles: The role of media on adopting the giant fresh-water prawn feeding among the members of the supported giant fresh-water prawn feeding project of agriculturists in Kalasin province
Authors: ธิดาดาว ภักดี
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Joompol.R@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
การประชาสัมพันธ์
กุ้งก้ามกราม -- การเลี้ยง
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของสื่อมวลชน สื่อบุคคล การทำบ่อสาธิต และการประชุมอบรมที่ใช้ในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ของเกษตรกร จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อการยอมรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของสมาชิกโครงการ โดยตั้งสมมติฐานตามขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับ นวกรรม คือ สื่อมวลชนมีบทบาทมากที่สุดในการให้ความรู้ สื่อบุคคลมีบทบาทมากที่สุดในการชัดจูงใจ การทำบ่อสาธิต มีบทบาทมากที่สุดในการทำให้สมาชิกตัดสินใจยอมรับ และการประชุมอบรมมีบทบาทมากที่สุดในการยืนยันการตัดสินใจยอมรับ นอกจากนั้นผู้วิจัยยังได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้รับนวกรรมเพื่อหาความสัมพันธ์กับระยะเวลาการยอมรับเร็วและช้า โดยตั้งสมมติฐานให้ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่า มีการเป็นผู้นำและเป็นคนทันสมัยสูงกว่าเป็นผู้ยอมรับเร้วกว่า และยังตั้งสมมติฐานว่าผู้ที่ยอมรับเร็วกว่านั้นมีความรู้ในการเปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าสื่อบุคคล ส่วนผู้รับช้ามีความถี่ในการเปิดรับสื่อบุคคลมากกว่าสื่อมวลชน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยมีกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม จังหวัดกาฬสินธุ์ ๗๓ ราย ซึ่งเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยใช้มือ หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของบทบทของสื่อแต่ละชนิดด้านการตรวจสอบค่า t (t-test, t-dependent) และหาความสัมพันธ์ทางด้านคุณสมบัติของสมาชิกที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ความถี่ในการเปิดรับสื่อกับระยะเวลาในการยอมรับเร็วและช้า โดยใช้สถิติ Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปฏิเสธสมมติฐานที่๑ ที่ว่า สื่อมวลชนมีบทบาทมากที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยพบว่า สื่อบุคคลมีบทบาทมากที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ๒. ยอมรับสมมติฐานที่ ๒ ที่ว่า สื่อบุคคลมีบทบาทมากที่สุดในการชักจูงใจสมาชิกในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ๓. ปฏิเสธสมมติฐานที่ ๓ ที่ว่า การทำบ่อสาธิตมีบทบาทมากที่สุดในการทำให้สมาชิกตัดสินใจยอมรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยพบว่า สื่อบุคคลมีบทบาทมากที่สุดในการทำให้สมาชิกตัดสินใจยอมรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ๔. ปฏิเสธสมมติฐานที่ ๔ ที่ว่า การประชุมอบรมมีบทบาทมากที่สุดในการยืนยันการตัดสินใจของสมาชิกในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยพบว่า สื่อบุคคลมีบทบาทมากที่สุดในการยืนยันการตัดสินใจของสมาชิกในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ๕. ยอมรับสมมติฐานที่ ๕ ที่ว่า คุณสมบัติของผู้รับนวกรรมมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการยอมรับเร็วหรือช้า คือ ผู้ที่รับเร็วจะมีคุณสมบัติทางด้านการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจการเป็นผู้นำ และการเป็นคนทันสมัย สูงกว่าผู้รับช้า ๖. ยอมรับสมมติฐานที่ ๖ ที่ว่า ผู้รับเร็วมีความถี่ในการเปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าสื่อบุคคล ส่วนผู้รับช้ามีความถี่ในการเปิดรับสื่อบุคคลมากกว่าสื่อมวลชน รวมสมมติฐาน ๖ ข้อ ได้รับการยอมรับ ๓ ข้อ และได้รับการปฏิเสธ ๓ ข้อ นอกจากนั้นยังพบว่าสมาชิกต้องการทราบความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง การเพาะพันธุ์ การตลาด การถ่ายเทน้ำ การทำอาหารกุ้ง และการปราบศัตรูกุ้ง โดยผ่านสื่อเจ้าหน้าที่ควบคู่ไปกับการแจกเอกสาร และเห็นว่าควรจะสนับสนุนส่งเสริมโครงการนี้ต่อไป ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการใช้สื่อของโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในปีต่อไป และยังสามารถอนุมานไปใช้กับการเผยแพร่นวกรรมในโครงการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่เป็นการวางแผนจากส่วนล่างแบบเดียวกับโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นการวางแผนอย่างหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนของชาวชนบท อันจะทำให้การพัฒนาประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: The objective of this research is to study the role of mass communication, personal media, demonstrative-well construction and training in the Supported Giant Fresh-Water Prawn Feeding project of Agriculturists in Kalasin province that have effects on the project’s members in adoption of giant fresh-water prawn feeding. Following the Innovation Decision Process, the hypotheses were that each media played the most important role in each stage of the process. Mass communication provided knowledge to the members; personal media persuaded the members; demonstrative-well construction makes the members decide to adopt the project and training confirmed the adoption of the members. Besides that, the hypothesis on the member’s qualification was also set to study the relationship of earlier and later adopters : the higher education, economic status, leadership and modernization, the earlier, the adoption took place, and the earlier adopters communicated through mass communication more often than personal media while the later ones used personal media more often than mass communication. The researcher had data collected by interviewing from prepared questionnaires. The samples consisted of 73 members of the Supported Giant Fresh-Water Prawn Feeding Project of Agriculturists in Kalasin province. The analysis was done by calculating manually. Statisties used included percentage, means, standard deviations t-test (t-dependent), and Chi-Square. 1. Personal media was the most important media for provided knowledge to the members. The finding rejected the hypothesis. 2. Personal media was the most important media in persuaded the members, as the hypothesis stated. 3. Personal media was the most important media which making the members decided to adopt the project. The finding rejected the hypothesis set. 4. Personal media was the most important media which confirmed the adoption by the members. The finding rejected the hypothesis set. 5. The qualifications of innovation adopters were related to the period of adoption in concordance with the hypothesis set, that was the earlier would have higher education, economic status, leadership, and modernization than the later adoptions. 6. The earlier adopters, as stated the hypothesis, communicated more through mass media than through personal media. On the other hand, the later adopters communicated more through personal media than through mass media. Moreover, it was found that members wanted the officials to continue giving the information on prawn feeding , pond culture, marketing, water circulation, prawn food processing and prawn destroyer. The members also supported the continuing of the project. The results can be used in planning how to use the media in the next year project, and the results and be applied to the process of innovations diffusion in the other projects especially in the low-level-planning projects such as the Supported Giant Fresh-Water Prawn Feeding Project of Agriculturists in Kalasin Province. It is a way of solving the poverty problem of the agriculturists, and then hapefull development will be more successful and efficient.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18486
ISBN: 9745614327
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tidadao_Bh_front.pdf369.87 kBAdobe PDFView/Open
Tidadao_Bh_ch1.pdf324.79 kBAdobe PDFView/Open
Tidadao_Bh_ch2.pdf505.61 kBAdobe PDFView/Open
Tidadao_Bh_ch3.pdf355.3 kBAdobe PDFView/Open
Tidadao_Bh_ch4.pdf556.84 kBAdobe PDFView/Open
Tidadao_Bh_ch5.pdf280.93 kBAdobe PDFView/Open
Tidadao_Bh_back.pdf708.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.