Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18501
Title: การลบล้างคำพิพากษาลงโทษจำคุก
Other Titles: The effacement of the judicial sentences
Authors: วาสนา รอดเอี่ยม
Advisors: มุรธา วัฒนะชีวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การลงโทษ -- จำคุก
คำพิพากษาศาล
ทัณฑสถาน
นิรโทษกรรม
อภัยโทษ
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โทษจำคุกนับว่าเป็นโทษที่สามารถครอบคลุมเอาวัตถุประสงค์ของการลงโทษ คือเพื่อการป้องกัน ทดแทน ข่มขู่ และการปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำผิดไว้ได้อย่างกว้างขวางมากกว่าโทษประเภทอื่นๆ และโทษจำคุกเป็นโทษที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากกว่าโทษฐานอื่นด้วย เป็นที่ยอมรับว่าโทษจำคุกเป็นโทษที่สอดคล้องกับแนวความคิดสมัยปัจจุบัน กล่าวคือแนวความคิดเกี่ยวกับการลงโทษในปัจจุบันมุ่งหนักไปในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำผิด เพราะในระยะต้องโทษ รัฐสามารถนำมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขต่างๆ มาใช้กับผู้ต้องโทษได้โดยสะดวก และมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกัน โทษจำคุกก็ยังเป็นโทษที่สังคมถือว่าเป็นโทษที่รุนแรง เป็นโทษที่ให้ผลร้ายแก่ผู้ต้องโทษสูง และเป็นโทษที่สังคมรังเกียจมากกว่าโทษฐานอื่นๆ ดังนั้น ในการพิจารณาลงโทษจำคุก และในการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษจำคุกจึงต้องกระทำไปด้วยความระมัดระวัง โดยรัฐได้พยายามหามาตรการอื่นมาใช้แทนโทษจำคุก เช่น การรอการลงโทษ การพักการลงโทษ การลดวันต้องโทษ การอภัยโทษ และการคุมประพฤติ เป็นต้น ในการลงโทษจำคุกรัฐก็ได้พยายามหามาตรการอื่นมาใช้ควบคู่กับการจำคุก เช่น การฝึกฝนอาชีพ การอบรมความประพฤติ เป็นต้น การลงโทษจำคุกนั้น แม้ว่ารัฐจะได้ใช้ความระมัดระวังเพียงใด แต่โทษจำคุกก็ยังมีข้อเสียอยู่มากเช่นกัน โดยเฉพาะข้อเสียที่ติดตามมาภายหลังการพ้นโทษ อันเนื่องจากการมีมลทินติดตัวผู้พ้นโทษตลอดไป หากคำพิพากษาลงโทษจำคุกนั้นไม่ได้ถูกลบล้างไปอย่างเด็ดขาด จากการวิจัยในเชิงเอกสารโดยอาศัยหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ตลอดจนหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของประชาชน พบว่าแนวทางในการลบล้างคำพิพากษามีมานาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยการใช้พระราชอำนาจเด็ดขาดในการพระราชทานอภัยโทษ ของกษัตริย์ในระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และในสมัยการปกครองแบบประชาธิปไตย ได้วิวัฒนาการมาเป็นวิธีการอภัยโทษ นิรโทษกรรม ล้างมลทิน และการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ให้อยู่ในอำนาจของฝ่ายต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ปัจจุบันการลบล้างคำพิพากษาในประเทศไทยอาจกำหนดได้ด้วยวิธีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม กฎหมายลบล้างมลทิน และการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของศาล ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า การลบล้างคำพิพากษาในประเทศไทยดังกล่าว โดยเฉพาะเพื่อการลบล้างมลทินแก่ผู้พ้นโทษยังไม่สมบูรณ์พอที่จะเอื้ออำนวยกับหลักความยุติธรรมในการลงโทษจำคุกในแง่ของความสิ้นสุดของโทษ กล่าวคือ ในประเทศไทยไม่ได้กำหนดเป็นสิทธิตามกฎหมายแก่ผู้พ้นโทษที่จะขอหรือได้รับการล้างมลทินไว้ แต่จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้มีอำนาจว่าจะพิจารณาเห็นสมควรออกกฎหมายล้างมลทินแก่ผู้ใดและเมื่อใด ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการกำหนดวิธีการล้างมลทินขึ้นเป็นสิทธิของผู้พ้นโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะวิธีการล้างมลทินโดยทางศาล เพื่อให้ศาลได้ไต่สวนความประพฤติของผู้พ้นโทษ และสั่งให้ลบล้างคำพิพากษาไม่ให้เป็นมลทินติดตัวผู้นั้นอีกต่อไป เพื่อเป็นการเสริมให้กระบวนการลงโทษจำคุกในการปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำผิดได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์ถึงการลบล้างคำพิพากษาว่า เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหลักมนุษยธรรมในการลงโทษ และเป็นการส่งเสริมแนวความคิดในการปรับปรุงแก้ไขอีกทางหนึ่งด้วย ตลอดจนวิเคราะห์ถึงการลบล้างคำพิพากษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ การอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการล้างมลทิน ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางและวิธีที่เหมาะสมที่ควรจะนำมาใช้สำหรับประเทศไทย
Other Abstract: Incarcenation or Imprisonment is one of the most widely accepted form of punishment. It is also a method in which by itself, gives the effect of preventing, detering and correcting the offenders. And from this concept, the state, therefore have a chance to reform and rehabilitate the offender, so he can come out of prison as a productive member of society and not as a professional criminal or a social waste. On the contrary, imprisonment is also one of the most condemned method of punishment in the penal system today. It is said to be unhumane, unorthodox and unfruitful as proven again and again by the high volume of the so called "repeated-offenders" that go in and out of jail regularly. It is also said to be a kind of punishment that once imposed upon an individual would leave a permanent "scar" for the rest of that individual's life. The state, therefore, must not let the innocent be victimized by its insufficient legal system. And if, such victimization did occured the state must find a way to remedy it promptly. On the other hand, the state must not overlook those in the penitentiary institutions and try to find a way to erase that "scar" once he is out of prison. According to various. literatures on Criminology and Penology, we can see that since the ancient time, human being have conceived ways of curing this so called "scar". In the feudal time the King had power to grant amnesty. And as time progress this power was passed on to the 3 branches (Executive, Legislative and Judicial) of the state. In Thailand, when we were ruled under the absolute-monarchy, the King had absolute power which again included the power to give "Royal Pardon" to prisoner. Nowadays, we have such instruments as Amnesty Act, Rehabilitation Act or revision of procedure. These instruments are also being excercised by the different executive power. The writer disagree that such acts alone are sufficient for the sake of justice. The writer feels that the judicial brance of government should play more of a leading role in this aspect. This thesis therefore will be emphasized on the concept of the effacement of judicial sentences by the judicial branch which the writer feels will be of some benefit, more or less.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18501
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasana_Ro_front.pdf371.4 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Ro_intro.pdf263.95 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Ro_ch1.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_Ro_ch2.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_Ro_ch3.pdf367.31 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Ro_back.pdf413.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.