Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18518
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิม ชัยวัชราภรณ์-
dc.contributor.authorจันทนี เก็จวลีวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-24T05:06:46Z-
dc.date.available2012-03-24T05:06:46Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745640824-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18518-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการทดสอบเป็นอาจารย์ชาย ที่สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง จำนวน 71 คน โดยการวัดอัตราชีพจรขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก แรงบีบมือ แรงเหยียดหลัง แรงเหยียดขา ความอ่อนตัว ความจุปอด เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย และสมรรถภาพการจับออกซิเจน พร้อมทั้งตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ การออกกำลังกาย สถานที่ออกกำลังกาย การบริโภค แล้วนำผลที่ได้จากการทดสอบสมรรถภาพทางกายมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe) และเกณฑ์สมรรถภาพทางกาย สำหรับแบบสอบถามนำมาหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง กลุ่มอายุระหว่าง 20-30ปี จำนวน 52 คน มีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆดังนี้ อัตราชีพจรขณะพัก 72 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก 119.00 มิลลิเมตรปรอท แรงบีบมือ 0.76 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดหลัง 1.39 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดขา 1.69 กิโลกรัม/น้ำหนัก ความอ่อนตัว 14.82 เซนติเมตร ความจุปอด 60.66 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนัก เปอร์เซ็นไขมันของร่างกาย 6.90 เปอร์เซ็นต์ และสมรรถภาพการจับออกซิเจน 39.82 มิลลิเมตร/กิโลกรัม/นาที สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง กลุ่มอายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 17 คนมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ ดังนี้ อัตราชีพจรขณะพัก 72 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก 119.00 มิลลิเมตรปรอท แรงบีบมือ 0.73 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดหลัง1.37 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดขา 1.79 กิโลกรัม/น้ำหนัก ความอ่อนตัว 11.02 เซนติเมตร ความจุปอด 54.96 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนัก เปอร์เซ็นไขมันของร่างกาย 8.79 เปอเซ็นต์ และสมรรถภาพการจับออกซิเจน 36.75 มิลลิเมตร/กิโลกรัม/นาที สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง กลุ่มอายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 2 คน มีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆดังนี้ อัตราชีพจรขณะพัก 81 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก 110.00 มิลลิเมตรปรอท แรงบีบมือ 0.73 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดหลัง 1.97 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดขา 2.36 กิโลกรัม/น้ำหนัก ความอ่อนตัว 16.00 เซนติเมตร ความจุปอด 65.40 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย 4.50 เปอร์เซ็นต์ 2. การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาระหว่างวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง กลุ่มอายุระหว่าง 20-30 ปี สมรรถภาพทางกายด้านอัตราชีพจรขณะพัก แรงบีบมือ แรงเหยียดหลัง แรงเหยียดขา ความอ่อนตัว ความจุปอด และเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้น ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในขณะพัก และสมรรถภาพการจับออกซิเจนของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี กับอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สำหรับกลุ่มอายุระหว่าง 31-40 ปี สมรรถภาพทางกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในทุกๆด้าน 3. ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยนี้ไปสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลาง กลุ่มอายุระหว่าง 20-30 ปี มีเกณฑ์สมรรถภาพทางกายโดยเฉลี่ยด้านแรงบีบมือ 0.76 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดหลัง 1.39 กิโลกรัม/น้ำหนักแรงเหยียดขา 1.69 กิโลกรัม/น้ำหนัก ความอ่อนตัว 14.82 เซนติเมตร ความจุ ปอด 60.66 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย 6.90 เปอร์เซ็นต์ และสมรรถภาพการจับออกซิเจน 39.82 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทดสอบ 0.15 0.34 0.39 6.51 8.48 4.03 และ 6.38 ตามลำดับ กลุ่มอายุระหว่าง 31-40 ปี มีเกณฑ์สมรรถภาพทางกายโดยเฉลี่ยด้านแรงบีบมือ 0.73 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดหลัง 1.37 กิโลกรัม/น้ำหนัก แรงเหยียดขา 1.79 กิโลกรัม/น้ำหนัก ความอ่อนตัว 11.02 เซนติเมตร ความจุปอด 54.96 ลูกบาศก์เซนติเมตร/น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย 8.79 เปอร์เซ็นต์ และสมรรถภาพการจับออกซิเจน 36.75 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทดสอบ 0.09 0.40 0.54 8.50 10.41 5.81 และ 8.50 ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the physical fitness of seventyone physical education instructors of the college of physical education in the central region. The physical fitness valiables which uses to measure were the resting pulse rate, the resting blood pressure, grip strength, leg and back strength, flexibility. vital capacity, percent of body fat and the maximal oxygen uptake. The questionnaires of The physical study status such as the amount of exercise, exercise facilities and nutrition. The data were then analyzed into percentages, means, standard deviation, One Way Analysis of Variance, Scheffe ’s Multiple Comparison and the level of the physical fitness. The results were: 1.The mean of the physical fitness variables of the 20-30 years old subjects were the resting pulse rate of 72 beats/min, the resting blood pressure of 119/mm/Hg, grip strength of 0.75 kg/w, back strength of 1.39 kg/w, leg strength of 1.69 kg/w, flexibility of 14.82 cm , vital capacity of 60.66 cm2/w, percent of body fat 6.90 percent and the maximum oxygen uptake of 39.82 ml/kg/min. The mean of the physical fitness variables of 31-40 years old subjects were the resting pulse rate of 72 beats/min, the resting blood pressure of 119 mm/Hg, grip strength of 0.73 kg/w, back strength of 1.37 kg/w, leg strength of 1.79 kg/w, flexibility of 11.02 cm, vital capacity of 54.96 cm2/w, percent of body fat 8.79 percent and the maximum oxygen uptake of 36.75 ml/kg/min. The mean of the physical fitness variables of the 41-50 years old subjects were the resting pulse rate of 81 beats/min, the resting blood pressure of 110 mm/Hg, grip strength of 0.73 kg/w back strength of 1.97 kg/w, leg strength of 2.36 kg/w, flexibility of 16.00 cm, vital capacity of 65.24 cm2 /w and percent of body fat 4.50 percent. 2.There were on significant difference among the physical education instructors of the college of physical education in the central region of the age groups of 20-30 years in resting pulse rate, grip strength, back strength, leg strength, flexibility, vital capacity and the percent of body fat at the level of .05. There were significant difference in the systolic blood pressure and maximum oxygen uptake between the physical education instructors of the college of physical education at Suphanburi and the college of physical education at samutsakhon at the level of .50. There were no significant difference among the physiological variables of the physical education instructors at the college of physical education in the central region of the age groups of 31-40 years at the level of .05. 3.The level of the age group of 20-30 years old are grip strength of 0.76 kg/w, back strength of 1.39 kg/w, leg strength of 1.69 kg/w, flexibility of 14.82 cm, vital capacity of 60.66 cm2/w, percent of body fat 6.90 percent and the maximum oxygen uptake of 39.82 ml/kg/min. The standard deviation of each tests are 0.15,0.34,0.39,6.51,8.48,1.03 and 6.38 respectively. The physical fitness variables of the age group of 31-40 years are grip strength of 0.73 kg/w, back strength of 1.37 kg/w, leg strength of 1.79 kg/w, flexibility of 11.02 cm, vital capacity of 54.96 cm2/w, percent of body fat 8.79 percent and maximum oxygen uptake of 36.75 ml/kg/min. The standard deviation of each tests are 0.90,0.40,0.54,8.50,10.41,5.81 and 8.50 respectively.-
dc.format.extent463689 bytes-
dc.format.extent351424 bytes-
dc.format.extent494778 bytes-
dc.format.extent277119 bytes-
dc.format.extent812016 bytes-
dc.format.extent357432 bytes-
dc.format.extent715791 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสมรรถภาพทางกายen
dc.subjectครูพลศึกษาen
dc.titleการศึกษาสมรรถภาพทางกายของอาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษา ในวิทยาลัยพลศึกษาภาคกลางen
dc.title.alternativeA study of the physical fitness of the physical education instructors in the college of physical education in the central regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChalerm.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantanee_Ke_front.pdf452.82 kBAdobe PDFView/Open
Chantanee_Ke_ch1.pdf343.19 kBAdobe PDFView/Open
Chantanee_Ke_ch2.pdf483.18 kBAdobe PDFView/Open
Chantanee_Ke_ch3.pdf270.62 kBAdobe PDFView/Open
Chantanee_Ke_ch4.pdf792.98 kBAdobe PDFView/Open
Chantanee_Ke_ch5.pdf349.05 kBAdobe PDFView/Open
Chantanee_Ke_back.pdf699.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.