Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18528
Title: การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่อมหาอำนาจตะวันตก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394)
Other Titles: Siamese foreign policy towards Western powers in the region of Kings Rama III (1824-1851)
Authors: วงเดือน นาราสัจจ์
Advisors: วิลาสวงศ์ พงศะบุตร
วิกรม คุ้มไพโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2330-2394
นโยบายต่างประเทศ -- ไทย
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่อมหาอำนาจตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ทำการค้นคว้าและวิเคราะห์ถึงเหตุและผลที่รัฐบาลไทยยอมรับสัมพันธไมตรีและตกลงทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับประเทศตะวันตก 2 ชาติคือ สนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ พ.ศ.2369 และสนธิสัญญา พ.ศ.2375 กับสหรัฐอเมริกา ทั้งๆ ที่ในรัชกาลนี้รัฐบาลไทยยังคงไม่ไว้วางใจประเทศตะวันตก และดำเนินนโยบายของตนอย่างระมัดระวัง โดยเกรงว่าประเทศตะวันตกจะถือโอกาสขยายอิทธิพลทางการเมืองของตนเข้าแทรกแซงในประเทศไทย การที่ในรัชกาลนี้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะยอมรับสัมพันธไมตรีกับประเทศตะวันตกนั้น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศตะวันตกทั้งหมด หากเป็นเพียงก้าวแรกที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการดำเนินวิเทโศบายของไทยในเวลาต่อมา ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการดำเนินนโยบายต่างประเทศสมัยใหม่ต่อประเทศตะวันตก วิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 5 บท ไม่รวมบทนำและบทสรุป บทนำ กล่าวถึงสาเหตุและความสำคัญของปัญหา จุดมุ่งหมายในการวิจัย ปัญหาและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย บทที่ 1 ศึกษาประวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศตะวันตกตั้งแต่สมัยอยุธยาตลอดจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์และนโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศตะวันตกที่รัฐบาลไทยยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา บทที่ 2 อธิบายลักษณะการค้าต่างประเทศของไทยในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยเด่นชัดขึ้น เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นยึดเอาผลประโยชน์ทางการค้าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย บทที่ 3 และ 4 กล่าวถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่ออังกฤษ โดยจะศึกษาถึงเหตุผลที่อังกฤษส่งคณะทูตของตนเดินทางเข้ามาขอเปิดสัมพันธ์ไมตรีและเจรจากับไทย ตลอดจนเหตุผลและนโยบายของรัฐบาลไทยที่ยอมรับสัมพันธไมตรีของอังกฤษ โดยจะนำสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศมาตีความเพื่อวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลไทยในรัชกาลนี้ต่ออังกฤษ บทที่ 5 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา และนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาทั้งในระยะต้นและปลายรัชกาลนี้ บทสรุป สรุปผลของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่อมหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาติดต่อ
Other Abstract: This thesis is a study of Siamese foreign policy with regard to the Western Powers during the reign of King Rama III (1324 - 1851) in which two major points are discussed. Firstly, Causes which led the Siamese Government to open the country for diplomatic relations with Great Britain and the United States of America. Secondly, Investigations of the motives which subsequently led the Siamese leaders to conclude the treaties of friendship and commerce with the two respective Powers in 1826 and 1833. In the reign of Rana III, the distrust of the Siamese Government of Western Powers was a general mood and as a result Siamese foreign policy was conducted with great care for fear of Western political influence and its intervention. Nevertheless, Siamese relationships with the West during this period could not be treated as the turning point of Siamese foreign policy; it was, in fact a transitional period which led to the new direction of Siamese foreign policy towards the West. This Thesis is divided into 5 chapters excluding the intro¬duction and the conclucion. The introduction deals with the questions themselves, the purpose of the research, the related problems and benifit gained from the study. Chapter I covers the history of the diplomatic relations between the West and Sian from Ayudhya to early Rattana- kosin prior to the reign of King Rama III. Chapter II discusses the nature of Siamese foreign trade on which the making of Siamese foreign policy was based; the discussion will help the reader to understand the characteristics of Siamese foreign policy in the reign of Rama III. Chapter III and IV deal with the nature of Siamese foreign policy towards Great Britain: the reasons why Britain decided to send a mission to Siam to necotiate the establishment of diplo¬matic relations and the reasons which led the Siamese Government to accept British proposals is studied in detail. International politics and economic implications are also covered in this chapter. The relations between Siam and the United States of America is discussed in Chapter V. The concluding chapter summarizes the consequences of Siamese relation between westorn Powers during the reign of King Rama III.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18528
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wongduen_Na_front.pdf621.25 kBAdobe PDFView/Open
Wongduen_Na_ch1.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_Na_ch2.pdf805.26 kBAdobe PDFView/Open
Wongduen_Na_ch3.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_Na_ch4.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_Na_ch5.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_Na_back.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.