Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18539
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | ทิพยวดี รักขนาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-24T05:54:35Z | - |
dc.date.available | 2012-03-24T05:54:35Z | - |
dc.date.issued | 2522 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18539 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์นี้ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 | en |
dc.description.abstract | นิติกรรมเป็นเรื่องที่กฎหมายต้องการจะบังคับให้เป็นไปตามเจตนาของบุคคลซึ่งเจตนาที่แท้จริงย่อมเกิดขึ้นในใจก่อน จึงจะมีการแสดงออกซึ่งเจตนาที่แท้จริงนั้น วิธีแสดงเจตนาอาจแยกออกได้ดังนี้ คือการแสดงเจตนาโดยตรงหรือโดยชัดแจ้ง และการแสดงเจตนาโดยทางอ้อมหรือโดยปริยาย นอกจากนี้ในบางกรณีกฎหมายได้บัญญัติให้ถือการนิ่งเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยได้บัญญัติถึงหลักกฎหมายว่าด้วยเจตนาในการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิด และผลของการสำคัญผิดไว้แตกต่างกันแล้วแต่ว่าเป็นความสำคัญผิดในสิ่งใด หากเป็นความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ผลตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๑๙ แต่ถ้าหากเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ผลแต่เพียงเป็นโมฆียะ ตามมาตรา ๑๒๐ เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ จึงต้องศึกษาให้ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดถึงจะอยู่ในบังคับ มาตรา ๑๑๙ และเมื่อใดถึงจะต้องด้วยมาตรา ๑๒๐ นอกจากนี้ถ้อยคำที่ใช้ในบทบัญญัติดังกล่าวก็ต้องวิเคราะห์กันอย่างถี่ถ้วนจึงจะเข้าใจขอบเขตที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะคำว่า “ สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม” ในมาตรา ๑๑๙ และคำว่า “ คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์” ในมาตรา ๑๒๐ เนื่องจากกฎหมายมิได้บัญญัติแยกแยะไว้ว่า อะไรคือ “สิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม” แต่นักกฎหมายได้วิเคราะห์ออกมาและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามี ๓ ประการคือตัวบุคคล ลักษณะของนิติกรรม ตัววัตถุทรัพย์สิน ส่วนคำว่า “คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์” เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญว่า ยึดถือสิ่งใดเป็นคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ที่นับว่าเป็นสาระสำคัญก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป ผลของการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดย่อมทำให้เจตนาที่แสดงออกมาไม่สมบูรณ์เสื่อมเสียไป กรณีตามมาตรา ๑๑๙ เกี่ยวกับความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ผลในกฎหมายทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไปเลย ไม่มีผลในกฎหมายที่จะเรียกร้องบังคับกันได้ ซึ่งเป็นความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนั้น บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ไม่มีกำหนดเวลา แม้ว่าจะเป็นเวลาเกินกว่า ๑๐ ปีแล้วก็ตาม ส่วนกรณีมาตรา ๑๒๐ เกี่ยวกับการสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินับว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนี้ นิติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นเพียงโมฆียะจะสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะมีการบอกล้าง และเมื่อบอกล้างแล้วกฎหมายให้ถือว่าเป็นโมฆะมากแต่เริ่มแรก แต่ถ้าผู้มีสิทธิไม่ใช้สทธิบอกล้างภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ในนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ มีผลบังคับตลอดไป ถ้าผู้มีสิทธิบอกล้างยอมสละสิทธิบอกล้างก็ย่อมทำได้โดยการให้สัตยาบัน นิติกรรมใดที่เป็นโมฆียะ เมื่อให้สัตยาบันแล้ว ในเวลาต่อไปผู้มีสิทธิบอกล้างนั้น หรือคนอื่นจะให้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นอีกไม่ได้ เพราะถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก การสำคัญผิดเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนถึงการแสดงเจตนาด้วยความสมัครใจเจตนาแท้จริงของบุคคลใดก็ต้องแล้วแต่บุคคลนั้น ฉะนั้น จึงต้องเอาความรู้สึกนึกคิดของคนที่มีเพศ อายุ ฐานะ อนามัย และนิสัยใจคอของเจ้าทุกข์ ตลอดจนพฤติการณ์อื่นๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันมาวัดคนเช่นนี้จะสำคัญผิดหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลใกล้ความจริงที่สุดว่า เขาผู้นั้นได้สำคัญผิดหรือไม่ อย่างไร และเพื่อคุ้มครองบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตามเจตนารมย์ และต้องตามหลักกฎหมายว่าด้วยความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนาอย่างแท้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | A juristic act is an act which the law wishes to make a person’s intention effective, of which genuine intent will occur in his mind puior to a declaration of such intention, and then being expressed accordingly. The declaration of intention may be expressed in the following ways, namely by way of a direct or express declaration on of an indirect or implied declaration. In same cases, the law regards silence as being an implied declaration as well. The Thai Civil and Commercial Code distinctly enacts the legal principles relating to a mistaken declaration of intention to create the juristic act and its effects, depending on the kind of mistakes. If it is as to an essential element of the juristic act, its effect will be that such a declaration of intention be void by virtue of section 119. But if it is as to the quality of a person or of a thing, it will merely be voidable by virtue of section 120. When the provision of the law is as such, it is necessary to study exactly when section 119 applies and when section 120 does. The wordings employed in such provisions of the Code need, moreaves, be analyzed in order to understand its exact precincts especially those of “an essential element of the juristic act” employed in section 119” and of “The quality of a person or of a thing” stated in section 120, for the law does not distinctly enact what an essential element of the juristic act be defined. Jurists have, however, analyzed it and admitted that there are 3 categories, namely, a person, a nature of the juristic act, and a thing. As for “the quality of a person or a thing”, it is essential that consideration be made to the intention of a party to the contract, what he regards the quality of the person or the thing as being essential; the case being considered individually. The effect of a declaration of intention made under a mistake is that it renders the declaration expressed invalid. Where the case comes under section 119, relating to a mistake as to an essential element of the juristic act, the legal effect is that such a juristic act becomes totally void and null; it has no legal effect whatever. The nullity of a void act may be alleged by any interested persons at any time, although in excess of 10 years limitation period. In the case where section 120, dealing with a mistake as to the quality of a person or a thing which is considered as essential in the ordinary dealings, applies, the existing juristic act is voidable, i.e; it is valid until avoided, and having been avoided, the law renders it being void ab inito . But if the person entitled to avoid it does not exercise his right within the stipulated period, the juristic act will be valid and enforceable throughout. If he wants to waive his right to avoid the act, he is entitled to do so by retification. Any voidable juristic act, if retified, cannot be afterwards avoided by anyone, for it becomes valid from the beginning. A mistake usually effects a voluntary declaration. A person’s real intention depends on himself. It is therefore that a thought of a person whose sex, age, status, health and disposition being the same as those of the claimant, together with all the circumstances which are in similarity, must be brought under consideration, in order to consider whether or not such a person had made a mistake; this is for a purpose of finding a result nearest to the truth as possible, and considering whether he was under mistake, and if so, how. It is also for providing a protection to an interested person of his will and to comply with a legal principles relating to a solemnity of a declaration of real intention. | - |
dc.format.extent | 577194 bytes | - |
dc.format.extent | 1428811 bytes | - |
dc.format.extent | 1623406 bytes | - |
dc.format.extent | 2039610 bytes | - |
dc.format.extent | 970561 bytes | - |
dc.format.extent | 681615 bytes | - |
dc.format.extent | 519536 bytes | - |
dc.format.extent | 342454 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | en |
dc.title | ความสำคัญผิดในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ | en |
dc.title.alternative | Mistake in the civil and commercial code | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tippayavadee_Ru_front.pdf | 563.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_ch1.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_ch2.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_ch3.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_ch4.pdf | 947.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_ch5.pdf | 665.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_ch6.pdf | 507.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippayavadee_Ru_back.pdf | 334.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.