Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1855
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพิน อังศุโรจน์-
dc.contributor.authorนภารัตน์ ด้วงลา, 2512--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-16T10:31:16Z-
dc.date.available2006-08-16T10:31:16Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741710593-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1855-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการพยาบาลและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก่อนและหลังได้รับการบริการพยาบาลร่วมกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบง่าย อาสาสมัคร คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี จำนวน 6 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เข้ารับการฝึกอบรม ทดลองฝึกปฏิบัติงาน และผ่านเกณฑ์การฝึกอบรมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 2) เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลอง และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองมี 4 ชุด คือ โครงการฝึกอบรมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวาน แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองของอาสาสมัคร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเที่ยง โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงแบบ KR-20 มีค่าเท่ากับ .70 เอกสารกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ และคู่มือการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง คือ แบบสังเกตกิจกรรมการพยาบาล และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชุด คือ แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล และแบบสอบถามการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .92 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window Version 9 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังได้รับการบริการพยาบาลร่วมกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนได้รับการบริการพยาบาลร่วมกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังได้รับการบริการพยาบาลร่วมกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวานมากกว่าก่อนได้รับการบริการพยาบาลร่วมกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในคลินิกโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThis quasi-ex[erimental research aimed to compare satisfaction and self-care of diabetic patients between before and after implementing nursing service with volunteers participation. The research subjects composed of 30 diabetic patients, who were 25-45 years old and visited diabetic clinic at Lomsak-Hospital, Phetchabun Province. The volunteers composed of 6 diabetic patients who have the specific criterion, were trained and practiced in the diabetic clinic. The instruments used were devided into 3 types: 1) Treatment step instruments were the volunteers training project, self-care test which was tested for content validity, level of difficulty, index of discrimination, and internal reliability was .70, job descriptions, and work instruction of volunteers; 2) Monitoring step instruments was the nursing activities observation form; and 3) Collecting step instruments were nursing service satisfaction questionnaire, and diabetic self-care questionnaire. These instruments were tested for content validity and internal reliability which were .92 and .80, respectively. Statistical techniques used in data analysis were mean, percentage, standard deviation, and paired t-test. Major findings were as followed: 1. Nursing service satisfaction of diabetic patients after receiving nursing service with volunteers participation was significantly higher than before, at .05 level. 2. Self-care of diabetic patients after receiving nursing service with volunteers participation was significantly more than before, at .05 level.en
dc.format.extent56666751 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบาหวาน--ผู้ป่วย--ไทยen
dc.subjectเบาหวาน--การพยาบาลen
dc.subjectความพอใจของผู้ป่วยen
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen
dc.subjectอาสาสมัครบริการทางการแพทย์en
dc.titleผลของการให้บริการพยาบาลร่วมกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครต่อความพึงพอใจและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเบาหวานen
dc.title.alternativeEffects of nursing service with volunteers' participation on satisfaction and self-care of diabetic patients in a diabetic clinicen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorYupin.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naparat.pdf20.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.