Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18615
Title: | การวิเคราะห์เนื้อหาเพศศึกษาและความพึงพอใจของผู้รับสารที่มีต่อคอลัมน์ "เสพสมบ่มิสม" และเว็บไซต์ meetdoctoro.com |
Other Titles: | The analysis of sex education content in "sepsombormisom" column and the website meetdoctoro.com and audience's gratification |
Authors: | ทัศนีย์ ดำเกิงศักดิ์ |
Advisors: | พัชนี เชยจรรยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patchanee.C@Chula.ac.th |
Subjects: | เพศศึกษา |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เนื้อหาเพศศึกษา และความพึงพอใจของผู้รับสารที่มีต่อคอลัมน์”เสพสมบ่มิสม”และเว็บไซต์meetdoctoro.com” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การนำเสนอเรื่องเพศศึกษาของสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ (2) เพื่อศึกษาการนำเสนอเรื่องเพศศึกษาของสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์มีลักษณะแตกต่างกัน (3)การแสวงหาข่าวสารเรื่องเพศศึกษา การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจ ของกลุ่มผู้อ่านคอลัมน์เสพสมบ่มิสม จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเว็บไซต์meetdoctoro.com (4)ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารเรื่องเพศกับการใช้ประโยชน์ ของกลุ่มผู้อ่านคอลัมน์เสพสมบ่มิสม จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเว็บไซต์meetdoctoro.com (5) ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารเรื่องเพศกับความพึงพอใจ ของกลุ่มผู้อ่านคอลัมน์เสพสมบ่มิสม จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเว็บไซต์meetdoctoro.com (6)ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์เรื่องเพศกับความพึงพอใจของกลุ่มผู้อ่านคอลัมน์เสพสมบ่มิสม จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเว็บไซต์meetdoctoro.com (7)ความแตกต่างของการแสวงหาข่าวสารเพศศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของกลุ่มผู้อ่าน เรื่องเพศอยู่คู่กับหนังสือพิมพ์เดลินิวส์มาตลอดโดยยุคแรกนำเสนอเรื่องเพศในชื่อคอลัมน์ “อกอีแป้นแตก” ในหนังสือพิมพ์แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2521 ยุคของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ มีการนำเสนอเรื่องเพศผ่านคอลัมน์”เสพสมบ่มิสม”โดยนายแพทย์นพพรอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี 2552 และได้ย้ายไปเผยแพร่ความรู้เพศศึกษาในสื่ออื่นๆ เช่นสยามรัฐ ชีวิตต้องสู้ เส้นทางทำมาหากิน และวิทยุคลื่น95.0MHz นอกจากนี้ยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากทีมชูรักชูรส ดร.โอ และในปัจจุบัน ดร.เสรี วงษ์มณฑา ผู้เชี่ยวชาตอบปัญหาเกี่ยวกับเพศที่สาม เข้ามาร่วมตอบปัญหาเฉพาะด้านเป็นการ ขยายกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สื่อหนังสือพิมพ์พบการสื่อสารผ่านตัวอักษรเท่านั้น โดยนำเรื่องเพศในเชิงวิชาการแพทย์มาเรียบเรียงเน้นการอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายมีความสั้นกระชับไม่ส่อไปในทางกระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศ และพบว่าเป็นเวทีสาธารณะสำหรับการสื่อสารปัญหาทางเพศเท่านั้น สื่ออินเทอร์เน็ต พบการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาผ่านตัวอักษรเป็นหลัก โดยนำเรื่องเพศในทางการแพทย์มาเรียบเรียงเป็นความรู้โดยปรับเนื้อหาให้สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ส่วนภาพที่นำมาประกอบมีระดับความเปิดเผยมากกว่าสื่อหนังสือพิมพ์ จุดร่วมของสื่อทั้ง 2 ประเภทคือการให้ความรู้ที่มีลักษณะทางชีววิทยาหัวข้ออวัยวะสืบพันธุ์และอวัยวะเพศชายมากที่สุดเหมือนกัน กลวิธีในการนำเสนอเรื่องเพศของสื่อทั้ง 2ประเภท ประกอบด้วย กลวิธีการสร้างความน่าเชื่อถือ การใช้ภาษา และการใช้สัญญะ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่ากลุ่มผู้อ่านคอลัมน์”เสพสมบ่มิสม”และเว็บไซต์meetdoctoro.com มีการแสวงหาข่าวสารเรื่องเพศวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนาน/เพลิดเพลิน/อยากรู้อยากเห็นมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีการแสวงหาข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องเพศมากที่สุด ส่วนระดับความพึงพอใจนั้นกลุ่มผู้อ่านมีระดับความพึงพอใจในข่าวสารความรู้เรื่องเพศโดยรวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง โดยพึงพอใจที่ช่วยในการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องเพศมากที่สุด |
Other Abstract: | An analysis of sex education content in sepsombormisom column and the website meetdoctoro.com and audience’s gratifications were qualitative and quantitative study. The purposes of qualitative study were to communicate and differentiate of sex education content between a newspaper and the website. The quantitative study were to find the correlation of information seeking and gratification the of audience The qualitative study revealed that the sex education content was only communicated as public communication which were edited , concise presented with no intention on sexual stimulation. The website media revealed that the sex education content were more explicit than the newspaper. Both of the media were focused on sex education in the areas of biological reproductive organs and male reproductive anatomy. Moreover, the presentation tactic for the newspaper and the website were composed of credibility, formal an informal communication and sign. The sexual contents were continuously established in the “Aoke e-pann tak“ column publishing in the early times of daily new newspaper. For the next generation of daily new newspaper in 1978, the sexual contents were continuously represented through the “Sepsombomisom” column by Dr.Nopporn until 2009 and turned out to spread in sex education to other medias such as Siamrat,Cheevittongsu,Senthang-thammahakin and radio 95.0 MHZ.There were also the specialist doctor team from“ Chu ruk chu rus”and doctor O providing information about sexual education. Moreover, nowsaday doctor Saree Wongmonta is coming to help answering the questions about transgender. The quantitative study revealed that the mostly significant purposes of the audiences who read “ Sepsombormisom” column and the website meetdoctoro.com were to quest for entertaining and curiosity.The audiences were pursuing the sexual education. For the gratification level of the audiences were in moderate level while the mostly considerable gratification were to enrich their knowledge and understanding about sexual education. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18615 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.660 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.660 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tassnee_do.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.