Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18617
Title: ความแปรปรวนของความเข้มข้นฝุ่นและปริมาณแบคทีเรียในอากาศกับการระบายอากาศและกิจกรรมภายในห้องของโรงพยาบาลกลาง
Other Titles: Variability of particulate matter and airborne bacteria with ventilation and room activities in Klang Hospital
Authors: ธีรวงศ์ มีชื่น
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wongpun.L@Chula.ac.th
Wiboonluk.P@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลกลาง -- การระบายอากาศ
คุณภาพอากาศภายในอาคาร
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในโรงพยาบาลกลาง ใน 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงฤดูฝน กันยายน 2552 และช่วงฤดูแล้ง กุมภาพันธ์ 2553 โดยได้จัดแบ่งห้องตามลักษณะกิจกรรมและระบบปรับอากาศ โดยการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 และ 2.5 ไมครอน พร้อมกับเก็บตัวอย่างแบคทีเรียด้วยวิธี Impactor method บรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Tryptic Soy Agar (TSA) สำหรับเชื้อแบคทีเรียทั่วไป และ Blood Agar (BA) สำหรับเชื้อแบคทีเรียชนิดย่อยสลายเม็ดเลือดแดง ตามวิธี NIOSH Method # 0801 วัดอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศด้วยวิธี Tracer technique (CO2) และทำการสำรวจปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และความหนาแน่นของคนพบว่า ความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 และ 2.5 ไมครอน ภายในห้องที่ระบายอากาศแบบธรรมชาติสูงกว่าห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p=0.010 และp=0.030) เนื่องจากเป็นห้องที่มีลักษณะเปิดทำให้ฝุ่นละอองจากภายนอกพัดพาเข้ามาภายในอาคาร และปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศภายในห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยกมากกว่าห้องที่ระบายอากาศแบบธรรมชาติและห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p=0.001) เมื่อพิจารณาตามลักษณะกิจกรรมพบว่า ห้องพับผ้าซึ่งเป็นห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยกมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 และ 2.5 ไมครอน สูงสุด 48.5±37.5 และ 18.6±6.4 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนแผนกผู้ป่วยนอกมีค่าเฉลี่ยแบคทีเรียรวมในอากาศและแบคทีเรียย่อยสลายเม็ดเลือดแดง ในกลุ่ม β-hemolysis และกลุ่ม α-hemolysis สูงสุด 1,337±880, 33±18 และ 16±14 โคโลนี/ลบม. ตามลำดับ ส่วน γ-hemolysis พบมากที่สุดที่กิจกรรมสาธารณูปโภค โดยที่บริเวณโรงครัวจะมี γ-hemolysis gram+ve cocci มากที่สุดมีค่า 121 โคโลนี/ลบ.ม. การศึกษานี้พบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนกับปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศและแบคทีเรียย่อยสลายเม็ดเลือดแดงภายในห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยก
Other Abstract: The objective of this research was to study indoor air quality of Klang Hospital during rainy season (August, 2009) and dry season (February, 2010). The rooms were classified by activities and ventilation systems. PM10 and PM2.5 were measured and bacteria were also investigated using impactor method contained with Tryptic Soy Agar (TSA) and Blood Agar (BA) for identifying total bacteria and hemolytic bacteria, respectively, in accordance with NIOSH Method #0801. Air exchange rate was measured by Tracer technique (CO2) and indoor air quality; temperature, humidity, wind velocity and population density were also measured. The results revealed that the PM10 and PM2.5 concentrations in naturally ventilated-rooms were significantly higher than air conditioning rooms at 95% confidence limit (p= 0.010 and p=0.030) because the naturally ventilated-rooms were affected by outside air. and also found that total bacteria in split type air conditioning room were significantly higher than in the naturally ventilated- room and central air conditioning room significantly at 95% confidence limit (p=0.001) When considering activities, highest PM10 and PM2.5 concentrations were found in laundry room with the average value of 48.5±37.5 and 18.6±6.4 µg/m3 respectively. Total bacteria, β-hemolysis and α-hemolysis bacteria were found in the Out-Patient Department with the average value of 1,337±880, 33±18 and 16±14 CFU/m3. On the other hand, the highest γ-hemolysis was found in utilities department (kitchen) with value of 121 CFU/m3. In addition, there was a correlation between PM10 concentration, total bacteria and hemolysis bacteria in split-type air conditioning room.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18617
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.370
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.370
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
teerawong_me.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.