Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18618
Title: การศึกษารายได้และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของเกษตรกร ในโครงการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชประสงค์ "ดอนขุนห้วย"
Other Titles: A study of turnover and rate of return on investment of participants in land development project "Don-Khun-Huey"
Authors: ดลพร ภูรีพงษานนท์
Advisors: จารุพันธ์ ทองแถม, ม.ล.
นันทพร เลิศบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โครงการจัดสรรที่ดินตามพระราชประสงค์ "ดอนขุนห้วย"
สหกรณ์ที่ดิน
สับปะรด
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรยังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอยู่ อันเป็นปัญหาที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรจะได้ความสนใจคิดหาแนวทางที่จะขจัดปัญหาและยกระดับมาตรฐานค่าครองชีพของเกษตรในแต่ละภาคให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะทรงช่วยให้เกษตรกรที่ประสบปัญหาดังกล่าวมีที่ดินทำมาหากินเป็นของตนเอง ส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพอื่นรองจากอาชีพหลักที่ทำอยู่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างที่เหลือจากการเพาะปลูกให้เป็นประโยชน์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโครงการฯ “ดอนขุนห้วย”ขึ้นซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะทรงช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ในแถบอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ยกระดับฐานะการครองชีพ โดยทรงแนะนำชาวไร่ที่ทำการปลูกสับปะรดให้รู้จักวีการแปรรูปสับปะรดที่มีตำหนิไม่ได้ขนาด หรือสับปะรดที่เหลือจากการจำหน่าย เพราะราคาในตลาดตกต่ำ ให้เป็นน้ำส้มสายชู หรือน้ำหวานสับปะรด เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ของชาวไร่ให้สูงขึ้น ในการศึกษาถึงรายได้และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของเกษตรกรในโครงการๆ ส่วนใหญ่ได้จากการสัมภาษณ์ สอบถามจากเกษตรภายในโครงการฯ ถึงกรรมวิธีเกี่ยวกับการเพาะปลูก รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตน้ำสมสายชู และน้ำหวานสับปะรด แล้วรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาใช้ในการคำนวณต้นทุนของการปลูกสับปะรดกับการปลูกพืชชนิดอื่น เช่นอ้อยและมันสำปะหลัง ในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อดูว่าเกษตรกรควรจะเลือกลงทุนเพาะปลูกพืชชนิดใดจึงจะได้ผลตอบแทนสูงสุด จากการศึกษาถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับเนื้อที่เพาะปลูกในจำนวน ๑๕ ไร่ ต่อครอบครัว และพิจารณาถึงผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ปรากฏว่า เกษตรกรควรจะเลือกปลูกสับปะรด แม้ว่าอัตราส่วนกำไรต่อเงินลงทุนของการปลูกมันสำปะหลังจะสูงกว่าคือประมาณ ๑๓๘ เปอร์เซ็นต์ ส่วนการปลูกสับปะรดจะประมาณ ๑๑๑ เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม แต่เนื่องจากการปลูกมันสำปะหลังนั้นใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนน้อยเพียง ๗,๙๘๐ บาท ดังนั้น ผลกำไรจากการดำเนินงานปลูกมันสำปะหลังต่อปีต่อเนื้อที่ ๑๔ ไร่ จะประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาทเท่านั้น ซึ่งผลกำไรจำนวนดังกล่าวนี้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัวได้ ดังนั้น แม้ว่าการเลือกปลูกสับปะรดจะมีอัตราผลกำไรต่อเงินทุนต่ำกว่าก็จริง แต่กำไรที่จะได้จากการเพาะปลูกในเนื้อที่จำกัดเพียง ๑๔ ไร่ ก็ยังสูงกว่าของมันสำปะหลัง คือจะมีกำไรของการปลูกต่อปีประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาทต่อครอบครัว ดังนั้น เกษตรกรจึงควรจะได้เลือกลงทุนเพาะปลูกสับปะรด นอกจากการปลูกสับปะรดเป็นอาชีพหลักแล้ว ชาวไร่ยังสามารถจะมีรายได้เพิ่มจากการแปรรูปสับปะรดที่ตกค้างจากการจำหน่ายในรูปของน้ำส้มสายชูและน้ำหวานสับปะรดด้วย ในการศึกษาถึงรายได้และอัตราผลตอบแทนจากการเลือกปลูกสับปะรดรวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปนั้น ปรากฏว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้ค่อนข้างจะสูง คือประมาณ ๗๑.๙๔ เปอร์เซ็นต์ และประโยชน์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นน้ำส้มสายชูหรือน้ำหวานสับปะรดนั้น จะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยขจัดปัญหาทางราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่แน่นอน ให้กับชาวไร่อีกด้วย ในปัจจุบันนี้ การดำเนินงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสับปะรดจัดเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว ปริมาณการผลิตยังไม่สูงมาก ดังนั้น กรรมวิธีในการผลิตจึงยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทุนการผลิตต่อหน่วยสูง คุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ยังไม่ได้มาตรฐานดีพอ ความนิยมบริโภคยังไม่แพร่หลายดีเท่าที่ควร การแก้ปัญหาดังกล่าวอาจทำได้โดย ๑.จัดตั้งศูนย์หรือสหกรณ์ขึ้นภายในโครงการฯและร่วมกันวางแผนการผลิตและจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ ๒.ศึกษาถึงกรรมวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ๓.จัดหาผู้เชี่ยวชาญแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการปลูก รวมทั้งการแปรรูปเพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น ๔.จัดหาแหล่งเงินทุนให้ชาวไร่กู้มาลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ๕.จัดหาตลาดและเผยแพร่สินค้าให้กว้างขวางเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป
Other Abstract: Thailand is an agricultural country, most of its population are engaged in agriculture and still face many economic and social problems. With the grace and utmost concern from His Majesty the King, a project like “DON-KHUN-HUEY” was established in order to improve the earnings of farmers, help them obtaining land for their own cultivation as well as making full use of their leisure time while waiting for their crops. The project “DON-KHUN-HUEY” is in Amphoe Cha-em, Petchburi Province. Farmers participating in the project were advised to engage in pineapple plantation, since should there be surpluses in the supply of pineapple over demand at any time, the extra supply of pineapple could be processed into pineapple vinegar of pineapple syrup. Thus the participants of the project do not have to depend entirely on the market price of fresh pineapple. Most of the study of income and the rate of return on investment of participants in Land Development Project “DON-KHUN-HUEY” was done through interviews with participants of the project. It was found that pineapple plantation would give them highest income, sufficient for them and their family to live on, even though the ratio between income and cost of investment in cassava plantation is higher, being 138 percent of the cost of investment, comparing to 111 percent of the cost of investment in pineapple plantation. The reason why participants should still opt for pineapple plantation is that because with the small allotment of land of 14 rai per family, the small income per rai from cassava plantation would be insufficient. Besides participants of the project would still get supplementary income from the production of pineapple vinegar and pineapple syrup. The rate of return from investment both in pineapple plantation and production of pineapple vinegar and syrup comes to about 71.94 percent which is considered rather high. However certain problems still exist, especially on the production side. The production of pineapple vinegar and syrup is still a cottage industry with small scale production while required standard of quality is not always attainable. Thus the demand for the product is not yet sufficiently high. Remedial actions as mentioned below should be undertaken to solve the problem. 1. A Co-operative should be set up so that production and marketing for the products can be efficiently planned and carried out for the benefit of the participants of the project. 2. Ways and means to reduce the cost of production should be explored into. 3. Expertise should be sought so that improvement could be made both in the methods applied in the plantation as well as in the process of production. 4. Participants should be given access to low interest source of finance. 5. Assistance should be given on marketing side, so that the products from the project would be more widely known and have wider access to customers with the result that the participants would earn higher income and be able to improve their standard of living as has been the wish of His Majesty the King, the Royal founder of the Project.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18618
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dolporn_Bh_front.pdf339.36 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch1.pdf238.54 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch2.pdf373.64 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch3.pdf416.87 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch4.pdf449.92 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch5.pdf489.61 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch6.pdf658.42 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_ch7.pdf321.63 kBAdobe PDFView/Open
Dolporn_Bh_back.pdf470.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.