Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18628
Title: เกณฑ์ปกติการใช้ประโยชน์ห้องเรียน และ สำนักงานของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Normal expectancy of classroom and office space utilization of primary schools in Amphoe Thanyaburi, Changwat Pathumthani
Authors: วันทยา วงศ์ศิลปภิรมย์
Advisors: สำนวน ดือรามัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาคารเรียน
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ (1) หาเกณฑ์ปกติของการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของโรงเรียนประถมศึกษา 12 โรงเรียน ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบเกณฑ์ปกติของการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ กับค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม (3) แบ่งระดับค่าการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของโรงเรียนออกเป็น 3 ระดับคือ สูงกว่า ปกติ และต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยใช้ช่วงความเชื่อมั่น 95% และ (4) คาดคะเนความต้องการห้องเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอธัญบุรี ในปีการศึกษา 2525 ดัชนีของค่าการใช้ประโยชน์มี 3 ค่า คือ (1) อัตราการใช้ห้อง (2) อัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียน และ (3) ค่าการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ด้านบริหารและบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจอาคารสถานที่โรงเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสำรวจอาคารสถานที่โรงเรียนประถมศึกษา ของ ศิริเพ็ญ อิ่มสุข ผลการวิจัยปรากฏข้อค้นพบดังนี้ 1. เกณฑ์ปกติของอัตราการใช้ห้องเรียนปกติ มีค่าเท่ากับ 91.43% ของห้องเรียนพิเศษ เท่ากับ 51.34% ส่วนอัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียนของห้องเรียนปกติ เท่ากับ 87.04% ของห้องเรียนพิเศษ เท่ากับ 30.54% และค่าการใช้ประโยชน์สถานที่ด้านบริหารและบริการเท่ากับ 203.86% 2. อัตราการใช้ห้องของห้องเรียนปกติไม่แตกต่างจากกว่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 อัตราการใช้ห้องห้องเรียนพิเศษ อัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียนทั้งห้องเรียนปกติและห้องเรียนพิเศษ ต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนค่าการใช้ประโยชน์สถานที่ด้านบริหารบริการสูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 แสดงว่าโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอธัญบุรี ได้จัดจำนวนชั่วโมงการใช้ห้องเรียนปกติได้อย่างเหมาะสมดีแล้ว แต่ในด้านความจุ ยังมีพื้นที่เหลือเกินจำนวนนักเรียนมากไป การใช้ประโยชน์ห้องเรียนพิเศษ ยังใช้น้อยเกินไปทั้งในด้านเวลา และความจุ ส่วนสถานที่บริหารบริการต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 8751.09 ตาราเมตร ห้องส้วมครู 11 ที่ ห้องส้วมนักเรียน 82 ที่ และที่ปัสสาวะชาย 3 ที่ ถ้าคิดเฉพาะโรงเรียนในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 10 โรงเรียนปรากฏว่า ต้องการพื้นที่ทางด้านบริหารและบริการเพิ่มขึ้น 8289.54 ตารางเมตร ห้องส้วมครู 9 ที่ ห้องส้วมนักเรียน 89 ที่ และที่ปัสสาวะชาย 3 ที่ 3. ในปี พ.ศ. 2525 โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอธัญบุรี ยังมีพื้นที่ทางการเรียนการสอนเหลือว่างพอที่จะรับจำนวนนักเรียน 1454 คน ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่ต้องการสถานที่ด้านบริหารบริการเพิ่มขึ้น 2194.52 ตารางเมตร ห้องส้วมนักเรียน 36 ที่ และห้องส้วมครู 5 ที่
Other Abstract: The purpose of this research were (1) to find the normal expectancy of school building utilization of 12 primary schools in Amphoe Thanyaburi, Changwat Pathumthani (2) to compare the normal expectancy utilization with the optimum utilization (3) to divide school building utilization to 3 levels, equal to, lower and higher than normal expectancy (4) to estimate the actual number of class-rooms needed in Pratom Suksa level in Amphoe Thanyaburi. The utili¬zation was determined by three indicies, namely, rooms, space and administrative and service room utilization. A school building survey was altered from Siripen's school building survey to evaluate building utilization. The findings were as follows. 1. The normal expectancy of room utilization of regular and special classrooms were 91.43% and 51.34%. The space utilization of regular and special classroom were 78.04% and 30.54% respectively, and the utilization of office space or the space for administration and service was 203.86% 2. The room utilization of regular classroom had no significant difference from the optimum utilization, at .05 significant level, but most of the rest had less utilization significantly from the optimum utilization, at .05 significant level except the office space utilization which had higher utilization' significantly from the optimum Utilization at .01 significant level. The results showed that the regular classrooms were used enough in time but not in capacity. The special classrooms were used less both in time and capacity. More spaces were needed for administration and service; about double of the existing space or 8751.09 square metres, 11 units of teacher lavatory, 82 units of pupil lavatory and 3 urinal units for boys. If the private schools were omitted from this study, 8289.54 square metres, 9 units of teacher lavatory, 89 units of pupil lavatory and 3 urinal units for boys were needed in government primary schools. 3. In 1982, even when having more pupils, the primary schools in Amphoe Thanyaburi still have enough learning space, but more space for administration and service which is about 2194.52 square metres, 36 units of pupils lavatory and 5 units of teacher lavatory will be needed for 1454 increasing pupils.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18628
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vantaya_Vo_front.pdf344.76 kBAdobe PDFView/Open
Vantaya_Vo_ch1.pdf378.16 kBAdobe PDFView/Open
Vantaya_Vo_ch2.pdf862.86 kBAdobe PDFView/Open
Vantaya_Vo_ch3.pdf470.04 kBAdobe PDFView/Open
Vantaya_Vo_ch4.pdf508.87 kBAdobe PDFView/Open
Vantaya_Vo_ch5.pdf455.88 kBAdobe PDFView/Open
Vantaya_Vo_back.pdf544.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.