Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18643
Title: การศึกษาการจัดการงานบุคคลและสวัสดิการของวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
Other Titles: A study on personnel and welfare management of the Institute of Technology and Vacational Education, Chiang Mai Campus
Authors: ภาษณา สรเพชญ์พิสัย
Advisors: ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fcomsbu@acc.chula.ac.th
Subjects: วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
การบริหารงานบุคคล
สวัสดิการข้าราชการ
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการจัดการงานองค์การ องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งนอกเหนือจากองค์ประกอบในด้านการเงิน วัสดุและวิธีการจัดการก็คือ “คน” “คน” หรือผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใดก็ต้องอาศัยเทคนิคการจัดการงานบุคคลขององค์การนั้น มีบริการสวัสดิการที่ดี สนับสนุนให้มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ซึ่งถ้าได้ผู้ปฏิบัติงานดีหน่วยงานนั้นก็สามารถบรรลุถึงเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาถึงการจัดการงานบุคคลและสวัสดิการของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ เชียงใหม่ เพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของบุคลากรในวิทยาเขตฯ ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าบุคลากรในกลุ่มอาจารย์มีความรู้ในระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 80.54 ส่วนพนักงานและลูกจ้างประจำมีความรู้ค่อนข้างต่ำ คือต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ร้อยละ 77.42 บุคลากรมีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนเป็นส่วนมาก จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนที่จะมาอยู่ในวิทยาเขตฯ กลุ่มอาจารย์มาจากหน่วยราชการอื่น ร้อยละ 54.55 ห้างร้านหรือบริษัทเอกชน 25.97 กลุ่มพนักงานและลูกจ้างประจำ มาจากงานเอกชนและงานส่วนตัวในอัตราส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 29.41 ความเห็นของบุคลากรในการจัดการงานบุคคลของวิทยาเขตฯ กลุ่มอาจารย์มีความเห็นเกี่ยวกับความยุติธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือนมากกว่า 1 ขั้นว่าไม่แน่ใจสูงถึงร้อยละ 40.49 พนักงานและลูกจ้างประจำส่วนใหญ่เห็นว่ามีความยุติธรรมและมีเหตุผลดีพอสมควรร้อยละ 41.94 และในกรณีที่การเลื่อนขั้นเงินเดือนมากกว่า 1 ขั้นไม่ยุติธรรมจะมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจหรือไม่นั้น บุคลากรส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีผลมาก กลุ่มอาจารย์คิดเป็นร้อยละ 36.24 พนักงานและลูกจ้างประจำร้อยละ 32.26 นอกจากนี้บุคลากรส่วนมากพอใจในงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มอาจารย์ร้อยละ 69.13 กลุ่มพนักงานและลูกจ้างประจำร้อยละ 48.38 สำหรับความเห็นที่ว่าวิทยาเขตฯ สนับสนุนในเรื่องการส่งเสริมให้ศึกษาต่อหรือหาความรู้เพิ่มเติมนั้น อาจารย์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าสนุบสนุนปานกลาง แต่พนักงานและลูกจ้างประจำกลุ่มที่ไม่ออกความเห็นและที่เห็นว่าสนับสนุนน้อยมากคิดเป็นอัตราเท่ากันคือร้อยละ 38.71 ด้านการจัดการเกี่ยวกับสวัสดิการ ซึ่งในวิทยานิพนธ์นี้หมายถึง บริการและประโยชน์พิเศษต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากเงินเดือนและค่าจ้างประจำทั้งหมด ผลการวิจัยปรากฏว่ามีบุคลากรส่วนใหญ่มีรายได้พิเศษอันเนื่องมาจากวิทยาเขตฯ มีการสอนในรอบบ่าย รายได้พิเศษโดยเฉลี่ยต่อเดือนของอาจารย์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.30 มีรายได้ประมาณ 1,001 – 2,000 บาท ส่วนพนักงานและลูกจ้างประจำส่วนใหญ่ร้อยละ 72.22 มีรายได้ต่ำกว่า 1,000 บาท ความเห็นของบุคลากรส่วนมากของทั้งสองกลุ่มก้ำกึ่งกันรระหว่างกลุ่มที่มีความพอใจในสวัสดิการเพิ่มกับกลุ่มที่เฉยๆ คือกลุ่มอาจารย์ที่พอใจมีร้อยละ 40.27 เฉยๆ ร้อยละ 38.93 กลุ่มพนักงานและลูกจ้างประจำพอใจในสวัสดิการเพิ่ม ร้อยละ 35.48 และเฉยๆ ร้อยละ 32.26 บุคลากรของวิทยาเขตฯ เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “สวัสดิการที่ดีย่อมช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจดี ผลที่ตามมาคือทำให้คนมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น” ในกลุ่มอาจารย์เห็นด้วยอย่างมากสูงคิดเป็นร้อยละ 46.97 และกลุ่มพนักงานและข้าราชการประจำเห็นด้วย ร้อยละ 54.84
Other Abstract: One important aspect in work allocation of an organization, apart from money, material and management is "Man". The effectiveness and efficiency of the personnel depends on the organization's work allocation technique, good welfare and prospect for advancement. Hence the department with good personnel is the one that is able to achieve its organization's aim efficiently. The aim of this thesis is to study how work is allocated to personnel and welfare management of Institute of Technology and Vocational Education, Chiangmai Campus, so that improvement can be suggested in accordance with their needs. A survey was carried out amongst two groups personnel, academic and nonacademic staff. Some 80.54 percents of academic staff are of a graduated level whereas most nonacademic staff are not as highly educated with 77.42 percents below the vocational certificated level. Most staff have has previous work experiences before joining the collage. For the academic group, 54.55 percents are from other government departments and 29.97 percents are from private enterprise the percentage from both sources are equal at 29.41 percents for the nonacademic group. Staff opinion on personnel allocation is reflected by the result of the following survey. Some 40.94 percent of the academics expressed uncertainty over the fairness of special promotion (any raise of salary that is more than one increment) and 41.94 percents of the nonacademics accepted it as being fair and reasonable. There is a unified opinion that unfair promotion would strongly effect their motivation and morale, this is supported by 36.24 and 32.26 percent of the respective groups most staff are satisfied with their present duty as obtained from 69.13 and 48.38 percent of the two groups respectively. Most academic think that the collage has been reasonable in supporting staff for their future studies and training, 38.71 percents of nonacademics have no or low opinions on the matter. In this thesis, welfare is defined as service, all extra benefits apart from salaries and wages. The research shows that the main source of extra income for all staff is from the part time lecture session, with 49.39 percents of the academic earning between 1,001-2,000 baht. The two groups are equally divided in their opinion whether they are "satisfied" or "neutral" over this extra benefit. Amongst the academic, the percentages are 40.27 "satisfied" and 38.93 "neutral" whereas amongst nonacademic, the percentages are 35.48 and 32.26 respectively. Finally, all staff agree that good welfare will promote better motivation and morale which finally results in better efficiency amongst all staff. Some 46.97 percent of the academics fully agree with it while 54.84 percent of the nonacademics simply agree.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18643
ISBN: 9745614068
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhasana_So_front.pdf394.37 kBAdobe PDFView/Open
Bhasana_So_ch1.pdf414.16 kBAdobe PDFView/Open
Bhasana_So_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Bhasana_So_ch3.pdf535.46 kBAdobe PDFView/Open
Bhasana_So_ch4.pdf741.77 kBAdobe PDFView/Open
Bhasana_So_ch5.pdf482.71 kBAdobe PDFView/Open
Bhasana_So_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.