Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1864
Title: ผลของการใช้โปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วยต่อความพึงพอใจในงาน ของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Other Titles: The effect of shared governance management program in patient unit on job satisfaction of nursing personnel, Phramongkutklao Hospital
Authors: นัยนา ศรีนวลดี, 2496-
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Panida.D@Chula.ac.th
Subjects: การพยาบาล--การบริหาร
พยาบาล--ความพอใจในการทำงาน
การพัฒนาบุคลากร
การฝึกอบรม
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สร้างโปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาล ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย และเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วยกับกลุ่มควบคุม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธี Matched pair ได้กลุ่มทดลองเป็นบุคลากรทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงพิเศษ จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุมเป็นบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายพิเศษ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด เครื่องมือชุดที่ 1. สร้างโดยผู้วิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย คู่มือการใช้โปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วยสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล และแบบประเมินโปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย เครื่องมือชุดที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการทดลองคือ แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาล สร้างจากแนวคิดของ Slavitt, et al (1978) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาล โดยวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย โดยบุคลากรทางการพยาบาลในกลุ่มทดลองสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 6 โดยใช้ค่า ที พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อใช้โปรแกรมไปถึงสัปดาห์ที่ 6 บุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยได้ประเมินโปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย โดยให้ค่าคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพสูงกว่าสัปดาห์ที่ 1 ส่วนการประเมินการปฏิบัติตามโปรแกรมโดยการสังเกตของผู้วิจัย 12 ครั้ง พบว่ากิจกรรมส่วนใหญ่ 16 กิจกรรมมีการปฏิบัติทั้ง 12 ครั้ง จำนวน 6 กิจกรรมมีการปฏิบัติ 11 ครั้ง และจำนวน 1 กิจกรรมมีการปฏิบัติ 10 ครั้ง กิจกรรมรวมของโปรแกรมนี้สามารถปฏิบัติได้จริง 88.89% 2. ความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังทดลองใช้โปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ส่วนความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาลกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบก่อนและหลังพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในงานหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองมีจำนวน 2 หมวดคือ หมวดลักษณะงาน และหมวดความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ส่วนหมวดความเป็นอิสระในงานไม่แตกต่างกัน 3. ความพึงพอใจในงานของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ก่อนการใช้โปรแกรมการร่วมบริหารในหอผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างแต่ภายหลังการทดลองพบว่า ความพึงพอใจในงานของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่าควบคุม
Other Abstract: To construct shared governance management program in patient unit, to compare job satisfaction among nursing personnel in the experimental group before and after using of shared governance management program, and to compare job satisfaction between the experimental and the control group at Phramongkutklao Hospital. The research samples of 30 nursing personnel were selected through matched pair method. The experimental group consisted of 15 nursing personnel from Female Private Medical Ward, were received shared governance management program, the control group consisted of 15 nursing personnel from Male Private Medical Ward, were continued traditional management. Two instruments were developed by the researcher, the first instrument consisted of shared governance management program and shared governance management program manual for nursing personnel. The second instrument was job satisfaction questionnaire for nursing personnel which was constructed from Slavitt et al conceptual framework (1978). The reliability of the job satisfaction questionnaire tested by Cronbach Alpha Coefficient was .93. Major results of the study were as follows 1. The efficiency of the shared governance management program from the first and the sixth week of an experimentation, evaluated by the experimental group, was significant difference at the .05 level, mean score of the evaluation by the sixth week was higher than that of the first week. Practicality evaluation of the program performed 12 times through observation by the researcher. The results revealed that, 16 activities were performed 12 times, 6 activities were performed 11 times and one activity was performed 10 times. 2. Job satisfaction between the experimental and the control group, before and after the experimentation was significant difference at the .05 level, mean score after the experimentation was higher than that of before an experimentation. It revealed that, before and after experimentation, job characteristics and staff relationship among the control group was significant difference at the .05 level. The mean score of the experimentation was higher than that of before experimentation, while job autonomy was not significant difference. 3. Job satisfaction between the experimental and the control group, before experimentation was not different. After the experimentation, job satisfaction between the experimental and the control group was significant difference at the .05 level. The mean score of the experimental group was higher than that of the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1864
ISBN: 9741734093
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.