Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18657
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วารี หะวานนท์ | |
dc.contributor.advisor | กัญญา นวลแข | |
dc.contributor.author | มนตรี ช่วยชู | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.coverage.spatial | ไทย | |
dc.date.accessioned | 2012-03-25T03:01:07Z | |
dc.date.available | 2012-03-25T03:01:07Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.isbn | 9745623822 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18657 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศคือเงินทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นธนาคารกลางของประเทศที่กำลังพัฒนา จึงมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการจัดการและดูแลให้ระบบการเงินของประเทศสามารถทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนและจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพสูง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นมาตรการหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นวิธีการหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเกษตรกรรมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของผู้ส่งสินค้าออกและผู้ประกอบการอื่น โดยที่การรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินกระทำผ่านสถาบันการเงิน จึงเป็นการช่วยสภาพคล่องของสถาบันการเงินอีกทางหนึ่งด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ด้วยวิธีการรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2499 โดยการรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการค้าข้าว เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนของผู้ส่งออกให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ หลังจากนั้นได้มีการขยายขอบเขตของการช่วยเหลือไปจนถึงผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการเกษตร และผู้ประกอบกิจการอื่นๆที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายระยะสั้นของรัฐบาลหรือเป็นนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจหรือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาเป็นครั้งคราวอีกด้วย โดยที่การรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินมิได้เป็นประโยชน์เพียงเฉพาะผู้ประกอบการและสถาบันการเงินที่ได้รับความอนุเคราะห์เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวงอีกด้วย ดังนั้น การที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่องนี้ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คงจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมบ้างไม่มากก็น้อย ในการศึกษาวิจัยทางภาคทฤษฎี ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลจากระเบียบ คำสั่ง กฎข้อบังคับ ตลอดจนพิธีการปฏิบัติงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้ในการรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และข้อมูลจากหนังสือตำรา บทความ รายงาน วารสาร จุลสาร และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนทางภาคปฏิบัติ ผู้เขียนได้เข้าสังเกตการณ์ที่ส่วนสินเชื่อและซื้อขายหลักทรัพย์ ฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในด้านนี้โดยตรง ตลอดจนเข้าสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับต่างๆของสถาบันการเงินที่นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายช่วงลดกับธนาคารแห่งประเทศไทย และสัมภาษณ์ผู้ขอรับความอนุเคราะห์โดยการออกแบบสอบถาม (Questionnaire) ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า การรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออกเป็นที่นิยมสูงสุด ดังจะเห็นได้จากในปี 2525 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทนี้ไว้เป็นจำนวนถึง 61,071.8 ล้านบาท ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม การประกอบกิจการเกษตร และการประกอบกิจการอื่นๆ เป็นจำนวนเพียง 5,795.4 ล้านบาท 1,679.7 ล้านบาท และ 4,010.5 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากความร่วมมือของสถาบันการเงิน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสถาบันการเงินให้ความสนใจแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออกมาก เพราะนอกจากจะได้รับผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีแล้ว ยังได้ผลกำไรจากการปริวรรตเงินตรา ได้เงินตราต่างประเทศ และได้ผลประโยชน์จากการให้บริการด้านอื่นอีกด้วย ในขณะที่ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทอื่นให้ผลประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่า แต่มีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงสูงกว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินคือ ระเบียบและหลักเกณฑ์การให้ความอนุเคราะห์ยุ่งยาก การประชาสัมพันธ์มีน้อย และการขาดความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถ้าได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคร่วมกันทุกฝ่ายแล้ว ผลประโยชน์ก็จะตกแก่ส่วนรวมมากที่สุด | |
dc.description.abstract | Thailand is a developing country. One of the important factors in improving the country’s economy is funding. The Bank of Thailand as a central bank of a developing country should assume an important role by managing the financial system of the country properly. The extension of financial support to major economic sectors is one of the measures of the Bank of Thailand in allocating limited fund in the most effective way towards the development of the economy. Rediscounting of promissory notes is one way in which the Bank of Thailand can assist these major sectors. The main objective of this facility is to reduce the overhead cost of agriculturists, manufacturers and exporters by lending through commercial banks against promissory notes issued by those businesses as collaterals. This also helps to improve the liquidity position of commercial banks. The Bank of Thailand rediscounting facilities were started on January 2, 1956. By pledging promissory notes issued, rice exporters can reduce cost and hence compete with exporters from other countries in the international market. Since then the extent of the rediscounted promissory notes with the Bank of Thailand has expanded to include industrialist and agriculturists because the Bank of Thailand considers such assistance beneficial to the development of the economy. Moreover, in support of the short-term economic policy or monetary policy, the Bank of Thailand has from time to time extended such assistance to businesses or financial institutions faced with financial difficulties. As the rediscounting of promissory notes with the Bank of Thailand not only supports entrepreneurs and financial institutions but also contributes towards the development of the country, the study of this matter and the recommendations given should be beneficial to the country as a whole. In this study the writer has conducted the research not only from rules, regulations and documentations in both Thai and English but also from the observation and interviews with the Bank of Thailand officers who are responsible for the functioning of the rediscounting facilities. In addition, interviews were also conducted with officers and administrators of financial institutions which rediscount promissory notes with the Bank of Thailand and, by means of questionnaires; information was also gathered from entrepreneurs requesting assistance from such facilities. From this study, we find that lending through rediscounted promissory notes from export bills is the most popular form of assistance received. For example, in 1982 promissory notes rediscounted with the Bank of Thailand from exporters amounted to 61,071.8 million baht compared with promissory notes from industrialist, agriculturist and others of only 5,795.0 million baht, 1,679.7 million baht and 4,010.5 million baht respectively. This may be explained by the fact the financial institutions prefer to rediscount promissory notes from export bills, which provide them not only with the rate of return of 2% per annum but profit from related foreign exchange, and other services. From this study, we find that the problems of rediscounting promissory notes with the Bank of Thailand are complicated rules and procedures, inefficient advertising, and lack of co-ordination among all concerned. Should everyone help to solve these problems, the country would benefit from improved efficiency of the system. | |
dc.format.extent | 361710 bytes | |
dc.format.extent | 285735 bytes | |
dc.format.extent | 561404 bytes | |
dc.format.extent | 928738 bytes | |
dc.format.extent | 498136 bytes | |
dc.format.extent | 942402 bytes | |
dc.format.extent | 459924 bytes | |
dc.format.extent | 278036 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ตั๋วเงิน | en |
dc.subject | ธนาคารและการธนาคาร | en |
dc.title | การรับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Promissory note rediscount by the bank of Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montree_Chu_front.pdf | 353.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_ch1.pdf | 279.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_ch2.pdf | 548.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_ch3.pdf | 906.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_ch4.pdf | 486.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_ch5.pdf | 920.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_ch6.pdf | 449.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_Chu_back.pdf | 271.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.