Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18663
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปทีป เมธาวุฒิ-
dc.contributor.authorภาวินี ภูพิชญ์พงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-25T04:21:34Z-
dc.date.available2012-03-25T04:21:34Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745617458-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18663-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1. เพื่อสำรวจความผูกพันต่อการสอนของนักศึกษาก่อนออกฝึกสอน นักศึกษาที่ผ่านการฝึกสอน และอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนที่นักศึกษาออกฝึกสอน 2. เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อการสอนของนักศึกษาก่อนออกฝึกสอน นักศึกษาที่ผ่านการฝึกสอน และอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนที่นักศึกษาออกฝึกสอน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาก่อนออกฝึกสอนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 400 คน กลุ่มนักศึกษาที่ผ่านการฝึกสอนแล้วของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 200 คน และกลุ่มอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนที่นักศึกษาออกฝึกสอน จำนวน 150 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยอาศัยแนวคิดตามทฤษฎีความผูกพันของ ฟรานซิส เอฟ ฟูลเลอร์ (Francis F. Fuller’s concern Theory) แบบสอบถามเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating Scale) โดยนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ทั้งหมด 750 คน 3. การวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ โดยคอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (Analysis of Variance) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Scheffé’s Method) สรุปผลการวิจัย 1. การสำรวจความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อการสอน 3 ขั้นตอนของกลุ่มนักศึกษาก่อนออกฝึกสอน กลุ่มนักศึกษาที่ผ่านการฝึกสอน และกลุ่มอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียน พบว่า 1.1 ความผูกพันเกี่ยวกับตนเอง ทั้ง 3 กลุ่ม มีความผูกพันสูงสุดในด้านความเข้าใจ ในขอบเขตของอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ และมีความผูกพันเกี่ยวกับตนเองน้อยที่สุด ในด้านความรู้สึกที่นักเรียนจะมีความนับถือในตัวครู 1.2 ความผูกพันเกี่ยวกับหน้าที่ในการสอน ทั้ง 3 กลุ่ม มีความผูกพันสูงสุดในด้านการให้ความยุติธรรมแก่นักเรียน และมีความผูกพันเกี่ยวกับหน้าที่ในการสอนน้อยที่สุดในด้านความคับข้องใจในงานประจำ และสภาพการสอนที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้ 1.3 ความผูกพันเกี่ยวกับผลที่นักเรียนจะได้รับจากการสอนของครูนั้น นักศึกษาก่อนออกฝึกสอนผูกพันมากที่สุด ในด้านการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากเรียน นักศึกษาที่ผ่านการฝึกสอนมาแล้วจะผูกพันมากที่สุดในด้าน การปรับตัวให้เข้ากับนักเรียนทุกคนและอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียน จะผูกพันมากที่สุดในด้านการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและโภชนาการ ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนของนักเรียน และทั้ง 3 กลุ่ม มีความผูกพันเกี่ยวกับผลที่นักเรียนจะได้รับจากผลการสอนของครูน้อยที่สุด ในด้านความสามารถ ในการวิเคราะห์สาเหตุและปัญหาในการเรียนของนักเรียนแต่ละคน 2. ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อการสอนทั้ง 3 ขั้นตอน ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มนักศึกษาก่อนออกฝึกสอน จะมีความผูกพันเกี่ยวกับตนเองสูงสุด ตามด้วยความผูกพันในหน้าที่การสอนและผลที่นักเรียนจะได้รับจากการสอนของครู กลุ่มนักศึกษาที่ผ่านการฝึกสอนมาแล้ว มีความผูกพันเกี่ยวกับผลที่นักเรียนจะได้รับจากการสอนของครูสูงสุด ตามด้วยความผูกพันเกี่ยวกับตนเองและหน้าที่ในการสอน ส่วนอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนมีความผูกพันเกี่ยวกับผลที่นักเรียนจะได้รับจากการสอนของครูสูงสุด ตามด้วยความผูกพันเกี่ยวกับตนเองและความผูกพันเกี่ยวกับหน้าที่ในการสอน.-
dc.description.abstractalternativePurposes of Study The purpose of this study were: 1. To investigate the teaching concerns among third year student teachers, prospective teachers and coordinating teachers. 2. To compare the teaching concerns among the third year student teachers, prospective teachers and coordinating teachers. Method and Procedures The method and procedures in this student were as follows: 1. The sample of this study were two groups of students from Ramkhamhaeng University: 400 third year student teachers, and 200 prospective teachers, The sample also included 150 coordinating teachers from the schools where the student teachers taught. 2. The rating scale questionnaire based on Frances F. Fuller’s Concern Theory. Self, Taks and Concern were constructed by the researcher. Seven hundred and fifty copies of questionnaire were distributed to third year student teachers, prospective teachers and coordinating teachers. 3. The data analysis were made by using Mean, Standard Diviation, Analysis of Variance and Scheffe’s S Method. Research Conclusion 1. The findings from teaching concern survey were as follows : 1.1 The highest degree of Self-concern of the three groups was the clarification of the limit of the authority and responsibility and the lowest degree was lack of respect from some students. 1.2 The three groups of sample agreed that doing fair and impartial was the highest degree of Task-concern and being frustrated by the routine and inflexibility of the School situation was the lowest degree. 1.3 According to the Impact concern, the third year student teachers rated the highest degree in motivating students to study where as the prospective teachers rated the highest degree in adapting themselves to individual student. The coordinating teachers rated the highest concern in student health and nutrition problems. However, the three groups concerned about diagnosing students learning problems as the lowest one. 2. According to the comparison of teaching concern of these three groups, the third year student teachers concerned about Self, Task and Impact. The Prospective teachers and the coordinating concerned about impact, self, and task. 3. The findings showed that student teachers’ concern was Self, Task and Impact concern as stated by Fuller’s Concern Theory. However, the prospective teachers’ concern and the coordinating teachers’ concern were Impact, Self and Task that were not concurrent with Fuller’s Concern Theory.-
dc.format.extent471920 bytes-
dc.format.extent430629 bytes-
dc.format.extent880327 bytes-
dc.format.extent300840 bytes-
dc.format.extent643681 bytes-
dc.format.extent724884 bytes-
dc.format.extent477810 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมหาวิทยาลัยรามคำแหง. คณะศึกษาศาสตร์ -- นักศึกษาen
dc.subjectครูฝึกสอนen
dc.subjectการฝึกสอนen
dc.titleการเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อการสอน ระหว่างนักศึกษาฝึกสอน มหาวิทยาลัยรามคำแหงและอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนen
dc.title.alternativeA comparison of opinions on teaching concern between Ramkhamhaeng student teachers and coodination teachersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPateep.M@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pawinee_Po_front.pdf460.86 kBAdobe PDFView/Open
Pawinee_Po_ch1.pdf420.54 kBAdobe PDFView/Open
Pawinee_Po_ch2.pdf859.69 kBAdobe PDFView/Open
Pawinee_Po_ch3.pdf293.79 kBAdobe PDFView/Open
Pawinee_Po_ch4.pdf628.59 kBAdobe PDFView/Open
Pawinee_Po_ch5.pdf707.89 kBAdobe PDFView/Open
Pawinee_Po_back.pdf466.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.