Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18680
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.advisorพินิจ แก้วสุวรรณะ-
dc.contributor.authorอริย์สร จิระเพิ่มพูน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-25T08:49:57Z-
dc.date.available2012-03-25T08:49:57Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18680-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกและปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลวหลังการได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม วิธีการศึกษา:การวิจัยเชิงทดลองแบบก่อนและหลังโดยไม่มีกลุ่มควบคุม ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2553 โดยศึกษาในผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังเนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติช่วงหัวใจบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายหรือมีค่าการบีบเลือดออกจากหัวใจน้อยกว่าร้อยละ 40 และได้รับการรักษาด้วยยามาอย่างน้อย 1 เดือน ประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในประเด็นปัญหาจากการใช้ยา ความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยา ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายซึ่งวัดโดยการทดสอบด้วยการเดินใน 6 นาที และการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผลการศึกษา:ผู้ป่วยเข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 43 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมทุก 6 สัปดาห์ จนครบ 3 ครั้ง จากการติดตามผู้ป่วยในครั้งแรก(ก่อนได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม) พบว่าปัญหาจากการใช้ยา 51 ปัญหาในผู้ป่วย 33 ราย(ร้อยละ76.7) ปัญหาเฉลี่ยในผู้ป่วยแต่ละรายเท่ากับ 1.19±1.00 ปัญหา และเมื่อสิ้นสุดการวิจัยพบว่าปัญหาจากการใช้ยาลดลงเหลือ 18 ปัญหาในผู้ป่วย 14 ราย (ร้อยละ32.6) ปัญหาเฉลี่ยในผู้ป่วยแต่ละรายเท่ากับ 0.42±0.66 ปัญหา (p<0.05) ผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมช่วยเพิ่มความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยา และความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายซึ่งวัดโดยการทดสอบด้วยการเดินใน 6 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และช่วยลดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา:การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลวทำให้ปัญหาจากการใช้ยาลดลงและช่วยให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้นen
dc.description.abstractalternativeObjectives:The study was to evaluate clinical outcomes and drug related problems (DRPs) in outpatients with congestive heart failure after receiving pharmaceutical care. Methods: The study was before and after experimental design with no control group. This study was carried out from November 2009 to April 2010. Patients who were diagnosed as chronic congestive heart failure due to left ventricular systolic dysfunction or ejection fraction less than 40 % and treated with medications less than 1 month in the outpatient department were included. The pharmaceutical cares were evaluated DRPs, knowledges, compliance, six-minute walk test and hospitalization. Results: Forty-three patients completed the study. All patients received pharmaceutical care every 6 weeks for 3 times. At the first visit (before receiving pharmaceutical care) there were 51 DRPs in 33 patients (76.7%). The average DRPs per patient was 1.19±1.00 problems. At the end of follow up period, DRPs were decreased to 18 problems in 14 patients (32.6%). The average DRPs per patient was 0.42±0.66 problems (p<0.05). Results from provided pharmaceutical care showed significant improved in patient’s knowledges, compliance and six-minute walk test (p<0.05) and significantly decreased patient’s hospitalization (p<0.05) Conclusions: The pharmaceutical care in outpatients with congestive heart failure could reduce the number of drug related problems and improved the clinical outcomes of patients.en
dc.format.extent4859880 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1760-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหัวใจวาย -- ผู้ป่วยen
dc.subjectหัวใจ -- โรคen
dc.subjectหัวใจวาย -- การรักษาด้วยยาen
dc.titleการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาen
dc.title.alternativePharmaceutical care in outpatients with congestive heart failure at Maharat Nakonratchasima Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSutathip.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1760-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arisorn_ji.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.