Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18692
Title: รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
Other Titles: The casual structural relationship model of factors affecting the success of internal educational quality assurance of the academic cooperation and auality assurance network of Rajamangala Universities of technology
Authors: ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง
Advisors: ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Pansak.P@chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบขนาดและทิศทางของอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3. เสนอแนวทางในการพัฒนาปัจจัยในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้เลือกศึกษาเฉพาะคณะวิชาที่ประสบความสำเร็จของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตกรุงเทพหานครและปริมณฑล จำนวน 5 มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ จำนวน 1,165 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบความเป็นไปได้จำนวน 15 ท่าน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์แบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมลิสเรล และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับ 0.89 แสดงว่า ตัวแปรสาเหตุสามารถอธิบายความแปรปรวนความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพได้ร้อยละ 89.0โดยมีอิทธิพลมากที่สุด สำหรับผลการวิเคราะห์ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพ สรุปได้ดังนี้ ตัวแปรภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีอิทธิพลมากที่สุดโดยมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.52 ตัวแปรการทำงานเป็นทีมมีอิทธิพลมากรองลงมา 0.44 ตัวแปรวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานมีอิทธิพลน้อยที่สุด 0.20 ตัวแปรภาวะผู้นำของผู้บริหารมีแนวทางการส่งเสริมเชิงนโยบายที่สนับสนุนปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร มี 4 นโยบาย ดังนี้ 1. นโยบายปรับปรุงการสร้างประสิทธิภาพการทำงานเป็นรายปีหรือวาระแห่งปี 2. นโยบายจัดตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะ 3. นโยบายกำหนดการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาให้ถือเป็นภาระงานและแต่งตั้งตำแหน่งรับผิดชอบงานโดยตรง 4. นโยบายส่งเสริมการปฏิบัติตามกระบวนการทำงานประกันคุณภาพอย่างเคร่งครัด ส่วนแนวทางการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการที่สนับสนุนปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร แบ่งเป็น 7 ด้านดังนี้ 1. ด้านความเน้นหนักในการปฏิบัติงาน 2. การมุ่งความสัมพันธ์ 3. การเป็นแรงบันดาลใจ 4. การชื่นชมและยกย่อง 5. การให้รางวัลตอบแทน 6. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 7. การมอบหมายหน้าที่ให้ดำเนินการอย่างมีอิสระ ตัวแปรการทำงานเป็นทีมแนวทางส่งเสริมเชิงนโยบายที่สนับสนุนปัจจัยการทำงานเป็นทีม มี 6 นโยบาย ดังนี้ 1.นโยบายการทำงานแบบมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการทำงานประกันคุณภาพการศึกษา 2.นโยบายกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้ในเรื่องการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการปิดกั้น 3.นโยบายการศึกษาดูงานประกันคุณภาพภายในประเทศหรือต่างประเทศจากคณะวิชาที่ประสบความสำเร็จ และจัดอบรมนอกสถานที่เพื่อการสร้างความสามัคคีแก่เพื่อนร่วมงาน 4.นโยบายการสร้างแรงจูงใจในการทำให้อาจารย์และบุคลากรรักองค์กร 5.นโยบายการสร้างความสามัคคีในองค์กร 6.นโยบายการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อการทำงานเป็นทีม ส่วนแนวทางการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการที่สนับสนุนปัจจัยการทำงานเป็นทีมในการทำงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในแบ่งออกเป็น 5 ด้าน 1.มีอุดมการณ์ที่แน่นอน 2.ถือหลักความถูกต้อง 3. ทุกคนมีความสำคัญ 4. เคารพในสิทธิและเสรีภาพ 5. มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนและแบ่งงานกันทำ ตัวแปรวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแนวทางส่งเสริมเชิงนโยบายที่สนับสนุนปัจจัยด้านวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงาน มี นโยบาย 4 นโยบาย ดังนี้ 1.นโยบายอบรมเชิงปฏิบัติการประจำปีเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ 2.นโยบายการสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารระดับคณะวิชาในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 3.นโยบายส่งเสริมการทำงานเชิงรุกของแต่ละคณะวิชา 4.นโยบายการส่งเสริมบุคลากรเรื่องระเบียบวินัยในการทำงานร่วมกันในคณะวิชา ส่วนแนวทางการส่งเสริมเชิงปฏิบัติการที่สนับสนุนปัจจัยด้านวัฒนธรรมและบรรยากาศ ในการทำงานแบ่งออกเป็น 5 ด้าน 1.วัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2. วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ 3.วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 4.วัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง 5.วัฒนธรรมแห่งการตื่นรู้
Other Abstract: The purposes of this dissertation were 1) to develop a form the casual structural relationship model of factors affecting the success of internal educational quality assurance (QA) of the academic cooperation and a quality assurance network of Rajamangala University of Technology. 2) comparative analysis of the size and direction of factors affecting the success of internal educational quality assurance, and 3) to propose the development of internal educational quality assurance. The research study has chosen the five universities that were the only successful faculty of Rajamangala University of Technology in Bangkok Metropolis. The population used in this study comprised 1,165 teachers and 15 experts. The data collections were used purposive sampling. A questionnaire was employed as the research instrument for collecting data. The data were using Lisral program and qualitative analysis. The research findings were as follows: Factors affecting the success of quality assurance were 0.89 of prediction coefficients. This means that the independence variables were the most affective variance to the success of quality assurance at 89%. Leadership of administrator variable was the most affective variables to the success of quality assurance at 0.52 which was followed by teamwork variable at 0.44 and cultural and atmosphere in a workplace variable was at 0.20. In terms of leadership of administrator variable, there were four policies to support guidelines of the factors of leadership, 1) to improve annual working efficiency, 2) to set up the committee of faculty of educational quality assurance, 3) to determine educational quality assurance as working load and responsibility, 4) to promote compliance with strict quality assurance processes. Guidelines for promote workshop were 1) focus on the work, 2) orientation relationship, 3) inspiration, 4) adoration and praise, 5) the rewards, 6) participation in decision making, and. 7) to operate with freedom commissioning. Regarding to a teamwork variable, there were six policies to support guidelines of teamwork variable,1) participation of teacher in educational quality assurance, 2) equivalent to right leaning in working of educational quality assurance, 3) to study quality assurance in the country or oversea and to provide training to create relationship for colleagues, 4) to create teachers and staffs’ motivation in loving organization, 5) to create the unity in organization, and. 6) to create a new personnel generation as a team work. Guidelines to promote workshops were 1)have a certain ideology, 2) principle of correct 3) everyone was important, 4) respect the rights and freedoms, and. 5) participation in all stages. According to cultural and atmosphere in a workplace variable, there were four policies to support the guidelines of cultural and atmosphere in a workplace variable, 1) annual policy workshop to build a culture organizational learning, 2) to enhance the understanding of the management faculty in educational quality assurance, 3) to promote working advance in each faculty, 4) to promote staff of regulation and discipline in working cooperation in faculty. Guidelines to promote there a workshop were 1) organizational culture Learning, 2) organizational cultures marvelous, 3) organizational cultures create, 4)organizational cultural transformation and, 5) organizational cultural alertness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18692
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1762
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1762
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaiwat_pr.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.