Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18694
Title: | ความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในเศรษฐกิจไทย |
Other Titles: | Sticky Information in the Thai economy |
Authors: | ชนานันท์ หมุดคำ |
Advisors: | สมประวิณ มันประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | somprawin@yahoo.com |
Subjects: | ข่าว ข่าวการเงิน |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แบบจำลองความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นแบบจำลองสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการอธิบายความผันผวนทางเศรษฐกิจจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ใหม่ที่กล่าวว่าความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความไม่สมบูรณ์ และผู้วางนโยบายจะสามารถดำเนินนโยบายการเงินกระตุ้นระบบเศรษฐกิจที่มีความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ในระยะสั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าในระบบเศรษฐกิจไทยมีความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือไม่ รูปแบบการคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนไทยเป็นอย่างไร และปริมาณข่าวสารเกี่ยวกับเงินเฟ้อมีผลต่อการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนไทย หรือไม่ งานศึกษานี้นำแบบจำลองของ Carroll (2003) มาเป็นแบบจำลองต้นแบบในการศึกษา โดยเลือกศึกษาถึง ความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนไทยภายใต้สมมติฐานที่ว่า หากไม่มีความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในระบบเศรษฐกิจค่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่ครัวเรือนไทยทุกครัวเรือนทราบควรมีค่าเท่ากับค่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่สะท้อนมาจากเส้นอัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตร พร้อมทั้งศึกษาว่าครัวเรือนไทยมีรูปแบบการคาดการณ์เงินเฟ้อในลักษณะใดระหว่างมีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผลหรือการคาดการณ์ที่มีการปรับตัว และทำการสร้างดัชนีที่แสดงถึงปริมาณการรายงานข่าวสารอัตราเงินเฟ้อเพื่อศึกษาว่าดัชนีดังกล่าวมีผลต่อการปรับเปลี่ยนค่าคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนไทย หรือไม่ ผลการศึกษาที่ได้พบว่าครัวเรือนไทยมีความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคาดการณ์เงินเฟ้อ โดยพฤติกรรมการคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่มักจะเป็นไปตามค่าเงินเฟ้อคาดการณ์เดิมที่ตนคาดในอดีต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารใหม่ๆไม่ได้เป็นไปอย่างทั่วถึงในทันทีทันใด โดยครัวเรือนไทยที่มีรูปแบบการคาดการณ์เงินเฟ้ออย่างมีเหตุผลมีอัตราส่วนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งปริมาณการรายงานข่าวสารอัตราเงินเฟ้อก็มิได้มีผลต่อความสามารถในการรับรู้ข่าวสารของครัวเรือนไทยซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่ข้อสรุปนัยเชิงนโยบายที่ว่าสามารถดำเนินนโยบายการเงินกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น |
Other Abstract: | According to the Keynesian economics, Sticky Information Models is one of the models that describe imperfect economy. Namely, this imperfection plays the important role to explain business cycle and policy maker can adopt the monetary policy to stimulate the economic system with sticky information in the short run, the objective of this study is to examine the existence of Sticky Information, form of the household's inflation expectations, effects from flow of information or household expectations. This study applies the model from Carroll (2003), given there is no sticky information in the Thai economy, future inflation perceived by Thai households will be equal to inflation reflected by yield curve in the bond market. In addition, to study form of household's inflation expectations, we test the hypothesis against rational expectations and adaptive expectations. Furthermore, we used amount of news reported about inflation rate to test whether it will impact on household inflation expectations. The results show that Thai households possess 'sticky' information knowledge expectations. Almost of Thai household's inflation expectation behavior will follow the past because changes of information is not disseminated thoroughly suddenly. Thai household who has rational expectations form in a small ratio. Moreover, the quantity of information report has not affected to Thai household's cognition. So the results of this study lead to policy implication that policy maker can operate the monetary policy to stimulate the economy system in the short run |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18694 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1763 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1763 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chananan_mu.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.