Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18723
Title: | ศักยภาพพื้นที่ว่างย่านพาณิชยกรรมในเขตบางรักเพื่อการเชื่อมต่อโครงข่ายพื้นที่ว่างและการสัญจรทางเท้า |
Other Titles: | Potential of Bangkok commercial area' s open space in connecting pedestrian and open space network |
Authors: | มานิต ทรัพย์เพิ่ม |
Advisors: | นิลุบล คล่องเวสสะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nilubol.K@Chula.ac.th |
Subjects: | พื้นที่โล่ง เมือง -- การเจริญเติบโต พื้นที่คนเดินเท้า บางรัก (กรุงเทพฯ) Open spaces Cities and towns -- Growth Pedestrain areas Bangrak (Bangkok) |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในกรุงเทพมหานคร เขตบางรักเป็นย่านธุรกิจการค้าเก่าแก่ซึ่งเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง การเติบโตภายใต้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลทำให้เกิดเสน่ห์ที่น่าสนใจจากการผสมผสานระหว่างความเก่าและความใหม่ที่แทรกตัวอยู่ภายในย่าน อย่างไรก็ดีการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในพื้นที่อย่างไม่หยุดยั้งมีผลให้พื้นที่ว่างสาธารณะและพื้นที่สีเขียวลดน้อยลงไปมาก ส่งผลให้บรรยากาศโดยรวมภายในเขตบางรักมีความแออัด และคุณค่าของความเป็นย่านธุรกิจการค้าเก่าแก่ค่อยๆ สูญเสียไป งานวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิดว่า การเชื่อมต่อพื้นที่ว่างภายในย่านเข้าด้วยกันจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของพื้นที่เหล่านั้น การเพิ่มความต่อเนื่องจะทำให้เกิดพื้นที่สีเขียวที่ชัดเจนขึ้น และสามารถเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับย่านอย่างเห็นได้ชัด การศึกษาพื้นที่ว่างที่มีอยู่ในเขตบางรักนำไปสู่การคัดเลือก และจำแนกพื้นที่ว่างอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างการเชื่อมต่อให้เกิดเป็นโครงข่ายพื้นที่ว่างและการสัญจรทางเท้าระหว่างกลุ่มอาคารที่เหมาะสม ผลการวิจัยได้ตำแหน่งกลุ่มพื้นที่ว่างที่มีศักยภาพเหมาะแก่การสร้างความเชื่อมต่อได้จำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มพื้นที่ว่างที่มีคุณค่าทางสังคมและนันทนาการซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเลือก พบมากบริเวณถนนเจริญกรุงและพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กลุ่มพื้นที่ว่างที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมจำเป็น พบมากบริเวณถนนสีลม ถนนสุรวงศ์และถนนสาทร ลักษณะแผนผังโครงข่ายของการเชื่อมต่อที่จะเกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของพื้นที่ว่างและระยะการเดินถึง การเชื่อมต่อพื้นที่ว่างที่มีคุณค่าในประเภทกลุ่มเดียวกัน ทำให้สามารถกำหนดรูปแบบเส้นทางการสัญจร และบทบาทของพื้นที่ว่างได้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มอาคาร เสน่ห์เชิงความเป็นมาของพื้นที่ พฤติกรรมและกิจกรรมของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม |
Other Abstract: | In Bangkok, Bangrak remains a contemporary commercial area which has grown and changed over the past years. The transformation has resulted in an intriguing atmosphere stemming from its blend of native antiquity and modernity. However, rampant economic growth within the area has led to decreasing public open spaces and green areas, causing overcrowded-ness and gradually fading historic values. This study is made under the assumption that connecting open spaces within the area may enhance its overall efficiency, creating a visible green space and significantly improving its surrounding environments. To create the connection adjoining pedestrian and open space network among appropriately located buildings, the study systematically selected and classified open spaces available within Bangrak area. The study found that seven groups of culturally and recreationally significant open spaces that are related to alternative activities, mostly located on Charoen Krung Road or along the Chao Phraya River banks, hold potential appropriate for the connection. Commercially significant open spaces that are related to alternative activities, on the other hand, were found mostly on Silom Road, Surawongse Road and Sathorn Road. The characteristics of the network connection map will be subject to the locations of the open spaces and walking distances among them. Connecting the open spaces that are identically significant will allow redesign of traffic routes, role determination of the open spaces according to surrounding buildings context, illustration of their historic importance, and selection of usage and activities to their users. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภูมิสถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18723 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2145 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2145 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
manit_sa.pdf | 26.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.