Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18727
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการรรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลื่ยนลิ้นหัวใจ
Other Titles: Selected factors related to anti-coagulant medication adherence in valvular replacement patients
Authors: ฐิติกานต์ กาลเทศ
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: ลิ้นหัวใจ -- ศัลยกรรม
เลือด -- การแข็งตัว
สารกันเลือดเป็นลิ่ม
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ เพศ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนทางสังคมกับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด จำนวน 121 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .76, .76, .79, .80, .79, และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 49-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.4 (X̅ = 48.21, SD = 8.30) มีคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้อุปสรรค โดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 (SD = 0.25), 2.68 (SD = 0.38), 2.85 (SD = 0.30), 3.09 (SD = 0.54), และ 1.60 (SD = 0.56) ตามลำดับ 2. ความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (X̅ = 3.64, SD = 0.21) 3. เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (r[subscript bis] = -.050 , p < .585) โดยที่เพศชายและเพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -.547, p >.05) 4. การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .220, .207, .195, และ .368 ตามลำดับ) 5. การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.238)
Other Abstract: The purposes of this descriptive correlational study were to examine the medication adherence and to investigate the relationships between sex, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, social support, and anti-coagulant medication adherence. One hundred and twenty-one out-patients with valvular replacement aged 18-59 years old, taking anti-coagulant medication were recruited in the surgery heart clinic at the Central Chest Institute, the Police General Hospital, and Phramongkutklao Hospital by a multistage random sampling. Questionnaires were composed of demographic information, perceived susceptibility to regimen, perceived severity to regimen, perceived benefits to regimen, perceived barriers to regimen, social support, and anti – coagulant medication adherence questionnaire. All questionnaires were tested for content validities by five panel of experts, and the reliabilities were .76, .76, .79, .80, .79, and .76, respectively. Descriptive statistics (e.g., percent, mean, and standard deviation), t-test, and Pearson’s Product Moment Correlation were used to analyze data. The major findings were as follows: 1. More than half (55.4%) of subjects were females with the age between 49 and 59 years. The mean age was 48.21 years (SD = 8.30). Mean scores of perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, social support, and perceived barriers were 2.66 (SD = 0.25), 2.68 (SD = 0.38), 2.85 (SD = 0.30), 3.09 (SD = 0.54), and 1.60 (SD = 0.56), respectively. 2. Mean score of anti - coagulant medication adherence in valvular replacement patients was at a very good level (X̅ = 3.64, SD = 0.21) 3. There was no significant relationship between sex and anti-coagulant medication adherence in valvular replacement patients at the level of .05 (r[subscript bis] = -.050 , p < .585). Whereas, there was no significant relationship between gender and anti-coagulant medication adherence in valvular replacement patients at the level of .05 (t = -.547, p >.05). 4. There were positively significant relationships between perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, social support, and anti-coagulant medication adherence in valvular replacement patients at the level of .05 (r = .220, .207, .195, and .368, respectively). 5. There was negatively significant relationship between perceived barriers and anti-coagulant medication adherence in valvular replacement patients at the level of .05 (r = -.238).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18727
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.447
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.447
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thitikan_ka.pdf24.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.