Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18737
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรวิศ นฤปิติ-
dc.contributor.advisorพลเทพ เลิศวรวนิช-
dc.contributor.authorวรพงศ์ วัจนะเสถียรกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-26T14:41:26Z-
dc.date.available2012-03-26T14:41:26Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18737-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการประมาณเวลาการเดินทางโดยใช้ค่าความเร็วที่รวบรวมได้จากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์แบบทันกาล พื้นที่ศึกษาได้แก่ทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงดาวคะนอง-ท่าเรือระยะทาง 8.137 กม. มีสถานีรวบรวมความเร็วทั้งสิ้น 7 สถานี ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยอยู่ในช่วง 5:00-22:00 น. มีปริมาณการจราจร 6,140 คันต่อชั่วโมง ข้อมูลความเร็วนำมาประมาณค่าเวลาการเดินทางบนแต่ละช่วงทางได้จาก 4 วิธีได้แก่ การประมาณจากความเร็วที่จุดกึ่งกลาง ค่าความเร็วเฉลี่ย ค่าความเร็วโดยการถ่วงน้ำหนักจากปริมาณการจราจร และ วิธีซานอันโตนิโอ และรวมค่าเวลาการเดินทางของทั้งสายทางได้จาก 2 วิธีได้แก่ วิธี instantaneous และ วิธี timeslice จากนั้นเปรียบเทียบกับค่าเวลาการเดินทางจริงที่รวบรวมได้จากกล้องวีดิทัศน์เป็นจำนวน 1,632 คัน ผลการศึกษาพบว่าความถูกต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลา (และระดับการติดขัดของการจราจร) กล่าวคือในสภาพการจราจรคล่องตัววิธีซานอันโตนิโอจะให้ความถูกต้องสูงสุด (MAPE มีค่าร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับร้อยละ 14-15 โดยวิธีอื่นๆ) สภาพปริมาณการจราจรหนาแน่นวิธีความเร็วที่จุดกึ่งกลางจะให้ความถูกต้องสูงสุด (MAPE ในช่วงการจราจรเร่งด่วนเช้ามีค่าร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับร้อยละ 23-26 โดยวิธีอื่นๆ) เมื่อเปรียบเทียบวิธีการรวมค่าเวลาการเดินทางของทั้งสายทางพบว่า วิธี timeslice จะให้ค่าเวลาการเดินทางรวมบนสายทางที่แม่นยำกว่าเมื่อพิจารณาวิธีการประมาณค่าเวลาการเดินทางกรณี offline (ทราบข้อมูลทั้งหมด) และ online (มีการคาดการณ์ความเร็วในช่วงเวลาถัดไป) พบว่า วิธี online จะให้ความแม่นยำที่ไม่แตกต่างจากวิธี offline มากนัก ในการนำวิธีการหาค่าเวลาการเดินทางไปใช้งานจริงอาจนำวิธีการประมาณค่าเวลาการเดินทางวิธีต่างๆมาใช้ตามเวลา โดยสามารถปรับปรุงเพิ่มความแม่นยำได้มากกว่าการใช้วิธีการหาค่าเวลาเดินทางวิธีเดียวตลอดทั้งวัน โดยมีความแม่นยำรวมร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการประมาณค่าเวลาการเดินทางเดียวที่มีความแม่นยำร้อยละ 14-20en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to determine travel time technique for traffic on using traffic speed from real-time image processing. They study area is the 8.137 km Chalerm Mahanakorn expressway Dao-Kanong – Port section in Bangkok, where traffic speed were collected at 7 stations. The traffic data was obtained during 5:00-22:00, containing 6,140 vph. Four methods are used to convert speed into travel time for each link, namely mid-point, section average, weighted section average, and San Antonio’s (lower speed). Two methods of link travel time aggregation into route travel time are instantaneous and timeslice. The estimated travel times were then compared with the actual travel time collection from 1,632 vehicles. The results indicate that the accuracy depends on time period (and level of traffic congestion). The San Antonio’s method results in the highest accuracy during off-peak period (MAPE 11% compared to 14-15% from other methods). The mid-point method yields the highest accuracy during peak period (MAPE 12% compared to 23-26% from other methods). Considering route travel time, the time slice method gives slightly better accuracy than instantaneous method. Comparing the offline (all data present) and online (short-term forecast of speed in the next timeslice) travel time estimation, the two methods yield similar accuracy. The findings of the research imply that the practical travel time estimation may need several methods suitable for each time period. The improved estimation can increase the accuracy over a single method, decreasing the MAPE from 14-20% to 11%.en
dc.format.extent11731317 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.605-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเวลาการเดินทาง (วิศวกรรมจราจร) -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.titleการประมาณเวลาในการเดินทางบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครจากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์en
dc.title.alternativeTravel time estimation on Bangkok expressway from video image processingen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSorawit.N@Chula.ac.th, kong@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.605-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
worapong_wa.pdf11.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.