Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18764
Title: | การนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Squeeze Out) มาใช้ในประเทศไทย |
Other Titles: | Adoption of squeeze out concept in Thailand |
Authors: | อิสริยา วิมลรัตน์ |
Advisors: | สำเรียง เมฆเกรียงไกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Samrieng.M@chula.ac.th |
Subjects: | ผู้ถือหุ้นข้างน้อย หุ้นและการเล่นหุ้น |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการที่มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการของประเทศไทยยังไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในกรณีที่บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยถือหุ้นอยู่ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Squeeze Out) ที่ประเทศต่าง ๆ ได้นำมาใช้แก้ปัญหาในส่วนนี้เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวในประเทศไทยต่อไป การศึกษาวิจัยนี้ได้กระทำโดยการศึกษาถึงบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Squeeze Out) ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากการนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้รวมถึงคำพิพากษาของศาลที่วางหลักเพื่อช่วยแก้ปัญหาในทางปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอสาระสำคัญของความเหมาะสมในการนำเอาหลักการเกี่ยวกับการบังคับขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Squeeze Out) มาใช้บังคับในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่าการนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ในประเทศไทยนอกจากจะช่วยให้ผู้เข้าครอบงำกิจการสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในการได้มาซึ่งหุ้นทั้งหมดของบริษัทได้อย่างถูกต้องชอบธรรมแล้วยังเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อยจากการถูกดำเนินการใด ๆ อย่างไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการขาดอำนาจต่อรองอีกด้วย ดังนั้น จึงเห็นสมควรรับเอาหลักการบังคับขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Squeeze Out) มาปรับใช้ในประเทศไทยโดยบัญญัติไว้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 |
Other Abstract: | At present, Thai law provisions in relation to the merger and acquisition in Thailand is insufficient to provide fairness and optimal benefit to all relevant parties in the event that the minority shareholders hold not exceeding 10 per cent of the total issued shares of the company. It is therefore necessary to conduct research on the squeeze out provisions adopted by a number of foreign countries to solve this problem so that the appropriate measure could be explored to solve such problem in Thailand. The research has been conducted by studying the squeeze out provisions adopted by the United States of America and the United Kingdom including the implications arising from the adoption of the squeeze out provisions as well as the court decisions in relation thereof in those countries which would be the basis for the adoption of the squeeze out concept in Thailand. The outcome of the research shows that the adoption of the squeeze out concept in Thailand would not only provide the fair and lawfully measures for the business acquirer to achieve its purpose of acquiring the total number of issued shares in the company but also protect the minority shareholders from the abuse due to the lack of the bargaining power. Consequently, it is appropriate that the squeeze out concept would be adopted in Thailand by introducing it as part of the Securities and Exchange Act B.E. 2535 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18764 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1107 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1107 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Issariya_vi.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.