Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18768
Title: การกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟจากน้ำเสียด้วยวิธีการตกตะกอนทางเคมี
Other Titles: Removal of reactive dye wastewater by chemical coagualation
Authors: จีรานุช ทวนทอง
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: orathai.c@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดสี
การตกตะกอน (เคมี)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟจากน้ำเสียด้วยวิธีการตกตะกอนทางเคมี ตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ พีเอช ปริมาณโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ (Modified Polyaluminium chloride, PACl) ปริมาณอะลูมินัมคลอโรไฮเดรต (Aluminumchlorohydrate, ACH) ปริมาณโพลีเมอร์ประจุบวก และปริมาณโพลีเมอร์ประจุลบ น้ำเสียสังเคราะห์ที่นำมาทดลองเป็นสีย้อมรีแอกทีฟที่มีโทนสีแตกต่างกัน ได้แก่ โทนสีน้ำเงิน โทนสีแดง และโทนสีเหลือง ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่เหมาะสมในการกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟทั้ง 3 โทนสีคือ 30 มก./ล. ประสิทธิภาพในการกำจัดสีโทนสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลืองร้อยละ 92.05 93.65 และ 93.42 ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีโทนสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลืองร้อยละ 59.30 69.45 และ 72.55 ตามลำดับ ปริมาณอะลูมินัมคลอโรไฮเดรตที่เหมาะสมของน้ำเสียสีย้อมรีแอกทีฟทั้งสามโทนสี คือ 70 มก./ล. ประสิทธิภาพในการกำจัดสีโทนสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลืองร้อยละ 95.70 95.32 และ 94.29 ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีโทนสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลืองร้อยละ 92.52 86.05 และ 60 ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีเท่ากับ 0.43 และ 1.41 บาทต่อน้ำดิบ 1 ลบ.ม.ผลของโพลีเมอร์ประจุบวกและประจุลบพบว่าโพลีเมอร์สามารถช่วยลดปริมาณการใช้สารสร้างตะกอนทั้ง 2 ชนิดลงได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสีและซีโอดี ผลการทดลองเปรียบเทียบสารสร้างตะกอนในการกำจัดสีจากน้ำทิ้งโรงงานฟอกย้อม โดยใช้น้ำเสียจากหม้อต้มย้อม น้ำล้างจากหม้อต้มย้อม น้ำเสียรวมก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดและน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดทางชีวภาพแล้ว พบว่าอะลูมินัมคลอโรไฮเดรตและโพลีอะลูมินัมคลอไรด์สามารถกำจัดสีและซีโอดีจากน้ำเสียรวมก่อนบำบัดได้ดีสุดที่ความเข้มข้น 50 มก./ล.โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดสีและซีโอดีอยู่ในช่วงร้อยละ 91.66-94.66 และ 62.99-76.33 ตามลำดับ ในกรณีน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดทางชีวภาพแล้วใช้สารสร้างตะกอนทั้ง 2 ชนิด ใช้ปริมาณสารเพียงเล็กน้อยที่ 10 มก./ล.สามารถช่วยกำจัดของแข็งละลายน้ำให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรมมีค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีเท่ากับ 27.97 และ 28.41 บาท/ลบ.ม. บาทต่อน้ำดิบ 1 ลบ.ม.
Other Abstract: This research aimed to study the effect of parameter that impact on factor reactive dye efficiency remove from wastewater by chemical coagulation. The study parameter are pH, quantity of polyaluminium chloride and Aluminum chlorohydrate, quantity of cationic polymer and anionic polymer. The synthesis wastewater in this research is prepared from 3 tones of reactive dye such as blue, red and yellow. The result showed that the optimum quantity of polyaluminium chloride (PACl) for color removal of such reactive dye is 30 mg/l. The Highest color removal efficiency of blue tone, red tone and yellow tone were 92.05 93.65 and 93.42 respectively. COD removal efficiency of blue, red and yellow tone was 59.30 69.45 and 72.55 respectively. Aluminum chlorohydrate (ACH) at concentrated of 70 mg/L was the optimum value for color removal of blue, red and yellow tone were 95.70 95.32 and 94.29 respectively. While efficiency of COD removal of blue, red and yellow tone was 92.52 86.05 and 60 respectively. Chemical cost for PACl and ACH were 0.43 and 1.43 baht per 1 m3 respectively. The use of cationic and anionic polymer with such coagulant. Could reduce quantity of coagulant and also increase removal reactive dye and COD removal efficiency. From result of using PACl and ACH with textile processing wastewater such as dyeing wastewater, dye washing wastewater, equalization wastewater and biological treated wastewater. It was shown that ACH and PACl dose of 50 mg/l could remove reactive dye and COD from wastewater range of 91.66-94.66 and 62.99-76.33 respectively. In case of biological treated wastewater, ACH and PACl at concentration of 10 mg/l could remove TDS under industrial wastewater standard. Chemical cost was 27.97 and 28.41 baht per 1 m3 of raw water, respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18768
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.109
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.109
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jeeranuch_th.pdf21.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.