Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18805
Title: | การวิเคราะห์คุณธรรมของตัวเอกในวรรณคดี ที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | An analysis of main characters' virtues in literature appeared in Thai language textbooks at the lower secondary education level |
Authors: | นิตยา ปิ่นชาญชัยยุทธ |
Advisors: | สายใจ อินทรัมพรรย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ความดี ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณคดี ศีลธรรมจรรยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) วรรณคดีกับศีลธรรมจรรยา |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | 1. เพื่อวิเคราะห์คุณธรรมของตัวเอกในวรรณคดีที่ปรากฎในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมของตัวเอกในวรรณคดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์ในการวิเคราะห์ขึ้น แล้วนำเกณฑ์ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ตรวจพิจารณาแก้ไข และให้ข้อเสนอแนะ นำเกณฑ์ที่ได้ไปวิเคราะห์คุณธรรมของตัวเอกในวรรณคดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แล้วเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ และเสนอผลการวิจัยในรูปความเรียงและตารางประกอบความเรียง ผลของการวิจัย 1. คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของพระร่วงจากหนังสือแบบเรียน คือความประณีตและละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.75 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของพระร่วงทั้งจากหนังสือแบบเรียนและจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ที่สอดคล้องกัน คือ ความประณีตและละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.75 และ 16.13 ตามลำดับ ส่วนคุณธรรมที่ปรากฏต่ำสุดทั้งจากหนังสือแบบเรียนและจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ที่สอดคล้องกัน คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ และการยอมรับความเปลี่ยนแปลงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.25 และ 3.23 ตามลำดับ 2. คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของพระอภัยมณีจากหนังสือแบบเรียน คือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 46.66 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของพระอภัยมณีจากหนังสือแบบเรียนคือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 46.66 จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ คือ ความเมตตากรุณา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.94 ส่วนคุณธรรมที่ปรากฏต่ำสุด จากหนังสือแบบเรียนมี 4 คุณธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.67 เช่น ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์มี 5 คุณธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.38 เช่นการไม่โลภ การไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 3. คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของขุนแผนจากหนังสือแบบเรียน คือ ความมีระเบียบวินัย และตรงต่อเวลา และความเป็นผู้มีวัฒนธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33.33 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของขุนแผนจากหนังสือแบบเรียน ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย และตรงต่อเวลา และความเป็นผู้มีวัฒนธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33.33 จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ คือ การเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.66 ส่วนคุณธรรมที่ปรากฏต่ำสุด จากหนังสือแบบเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบ และความสามัคคี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.67 จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ คือ ความไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.23 4. คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของหนุมานจากหนังสือแบบเรียน คือ ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของหนุมานจากหนังสือแบบเรียน คือ ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ คือ การเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.34 ส่วนคุณธรรมที่ปรากฏต่ำสุด จากหนังสือแบบเรียนมี 4 คุณธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.78 ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ การมีสัจจะและความจริงใจ การเป็นผู้มีสัมมาคารวะ และความมีศรัทธาต่อศาสนา จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์มี 3 คุณธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.22 ได้แก่ การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย การไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และการอดทนอดกลั้น 5. คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของสมเด็จพระเจ้าราชาธิราชจากหนังสือแบบเรียน คือ ความเป็นผู้มีวัฒนธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.81 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของสมเด็จพระเจ้าราชาธิราช ทั้งจากหนังสือแบบเรียนและจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ที่สอดคล้องกัน คือ ความเป็นผู้มีวัฒนธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.81 และ 15.69 ตามลำดับ ส่วนคุณธรรมที่ปรากฏต่ำสุด จากหนังสือแบบเรียนและจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ที่สอดคล้องกัน คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.55 และ 0.37 ตามลำดับ 6. คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของจูล่งจากหนังสือแบบเรียน คือ ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 34.78 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปรากฏจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า คุณธรรมที่ปรากฏสูงสุดของจูล่ง ทั้งจากหนังสือแบบเรียนและจากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ที่สอดคล้องกัน คือ ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 34.78 และ 27.03 ตามลำดับ ส่วนคุณธรรมที่ปรากฏต่ำสุด จากหนังสือแบบเรียนมี 3 คุณธรรม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.35 ได้แก่ การรู้จักความพอดี ความประณีตและละเอียดถี่ถ้วน และความมีศรัทธาต่อศาสนา จากวรรณคดีฉบับสมบูรณ์มี 9 คุณธรรมซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.54 เช่น การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย ความเมตตากรุณา |
Other Abstract: | The purposes of the study were ; 1. To analyze the main characters’ virtues in literature appeared in Thai language textbooks at the lower secondary education level. 2. To compare the main characters’ virtues in literature appeared in Thai language textbooks at the lower secondary education level with those appeared in the unabridged literature. Procedures The researcher constructed a set of criteria for analysis and then presented it to 5 experts for content validity. The main characters’ virtues appeared in Thai language textbooks at the lower secondary education level was analyzed by using the improved set of criteria and compared with those appeared in the unabridged literature prior to the presentation of the findings in terms of composition and tables with description. Findings 1. Phra Roung’s virtues appeared the most in the textbooks were delicacy and scrutiny (18.75%). In comparing with Phra Roung’’s virtues that appeared in the unabridged literature, it was found that the virtues that appeared the most in the textbooks and the unabridged literature were delicacy and scrutiny (18.75% and 16.13% respectively) ; those appeared the least in both sources were generosity with sacrifice and acceptance to new changes (6.25% an 3.23% respectively). 2. Phra Aphaymanee’s virtues appeared the most in the textbooks were piety (46.66%). In comparing with Phra Aphaymanee’s virtues that appeared in the unabridge literature, it was found that the virtues that appeared the most were piety (46.66%) in the textbooks and mercy (17.94%) in the unabridge literature; four virtues (6.67%) appeared the least in the textbooks were mercy, generosity with sacrifice, etc., while five virtues (0.38%) appeared the least in the unabridge literature were ungreediness, respect of others’ right, etc. 3. Khun Phan’s virtues appeared the most in the textbooks were discipline with punctuality and civilized behavior (33.33%). In comparing with Khun Phan’s virtues that appeared in the unabridge literature, it was found that the virtues that appeared the most were discipline with punctuality and civilized behavior (33.33%) in the textbooks and reverence (17.66%) in the unabridge literature those appeared the least were responsibility and unity (16.67%) in the textbooks, unselfishness (0.23%) in the unabridge literature. 4. Hanumarn’s virtues appeared the most in the textbooks were bravely and self-confidence (25%). In comparing with Hanumarn’s virtues that appeared in the unabridge literature, it was found that the virtues that appeared the most were bravely and self-confidence (25%) in the textbooks and reverence (24.34%) in the unabridge literature; four virtues (2.78%) appeared the least were generosity with sacrifice, thruthfulness and sincerity, reverence and faith while three vitues (0.22%) in the unabridge literature were harmlessness to life and body, respect of others’ right and patience. 5. King Rachathirat’s virtues appeared the most in the textbooks were civilized behavior (31.81%). In comparing with King Rachathirat’s virtues that appeared in the unabridge literature, it was found that the virtues that appeared the most in the textbooks and the unabridge literature were civilized behavior (31.81% and 15.69% respectively); those appeared the least in both source were acceptance to new changes (4.55% and 0.37%). 6. Julong’s virtues appeared the most in the textbooks were bravely and self-confidence (34.78%). In comparing with Julong’s virtues that appeared in the unabridge literature, it was found that the virtues that appeared the most in the textbooks and the unabridge literature were bravely and self-confidence (34.78% and 27.03% respectively) ; three virtues (4.35%) appeared the least in the textbooks were self-sufficiency, delicacy with scrutiny and faith, while nine virtues (0.54%) appeared the least in the unabridge literature were harmlessness to life and body, mercy, etc. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18805 |
ISBN: | 9745662623 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nitaya_Pi_front.pdf | 351.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Pi_ch1.pdf | 291.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Pi_ch2.pdf | 673.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Pi_ch3.pdf | 235.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Pi_ch4.pdf | 959.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Pi_ch5.pdf | 366.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Pi_back.pdf | 634.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.