Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18810
Title: การต่อรองคำรับสารภาพ
Other Titles: Plea bargaining
Authors: นิจรินทร์ องค์พิสุทธิ์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
เข็มชัย ชุติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การต่อรองคำรับสารภาพ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา -- ไทย
กฎหมายอาญา
การชะลอการฟ้อง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบริหารงานยุติธรรมทางอาญาในนามประเทศมักประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกัน ๒ ประการคือ ความจำเป็นทางนโยบายอาญาที่มุ่งนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เพื่อให้เกิดผลในทางยับยั้ง ข่มขู่ แก้ไข ผู้กระทำผิดให้เป็นคนดีและป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขเรียบร้อย และปัญหาการขาดแคลนจำนวนบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ งบประมาณและอื่น ๆ ในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี ทำให้การบริหารงานยุติธรรมทางอาญาเป็นไปโดยไม่มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้การพิจารณาเกิดความล่าช้าและคดีคั่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลเป็นจำนวนมากและเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับค่านิยมของสังคมที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีแนวโน้มที่จะมุ่งรักษาคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนมากกว่าให้ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ จึงก่อให้เกิดข้อจำกัดอย่างเคร่งครัดในอันที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐาน ด้วยเหตุดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา จึงได้นำวิธีการต่อรองคำรับสารภาพ (Plea bargaining) มาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะช่วยคลี่คลายปัญหาข้อขัดข้องในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาแล้ว ยังสามารถแก้ไขความเคร่งครัดของหลัก due process model ในเรื่องบทตัดพยาน exclusionary rule ซึ่งเกี่ยวกับการได้พยานหลักฐานมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย สำหรับประเทศไทย ก็ประสบปัญหาข้อขัดข้องในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา คล้ายคลึงกับของสหรัฐอเมริกา จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่อรองคำรับสารภาพในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เพื่อนำมาปรับใช้แก้ปัญหาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามการจะนำเอาวิธีการต่อรองคำรับสารภาพมาปรับใช้ในกระบวนการยุตธรรมทางอาญาของไทยนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบกฎหมาย สถานภาพ เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น และเนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ของไทยแตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา จึงไม่อาจนำเอาวิธีการต่อรองคำรับสารภาพตามแนวความคิดของสหรัฐอเมริกามาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทยได้ทั้งหมด คงนำมาปรับใช้เพียงบางส่วน โดยนำมาใช้ในชั้นพนักงานอัยการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่จะขจัดปัญหาความขัดข้องความล่าช้าในการดำเนินคดีของศาล เพราะวิธีการต่อรองคำรับสารภาพนี้สามารถช่วยในการย่นระยะเวลาการดำเนินคดีให้สั้น รวดเร็ว ประหยัด และบรรลุเป้าหมายในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีการกันผู้ต้องหาเป็นพยาน ซึ่งจะก่อให้ให้เกิดประโยชน์ในทางด้านกฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองบ้างไม่มากก็น้อย.
Other Abstract: As the matter of fact the Criminal Justice Administration in various countries face with two main problems; First , is about the necessity of Criminal Policy in arresting the convicts as much as possible, this is for deter, reform and protect the social from all crimes which will bring the peaceful to people in the Society. Second, is about the lacking of officers, instruments, and budjets etc. in the Criminal Proceeding which will effect to the Criminal Justice Administration for example the number of cases that are still considering in the Criminal Court Moreover, the motivation of protecting rights and freedom of people in Society are also obstructcle to the officers in performing their duties and to the limitation of accepting the evidence in the Court of Justice. For the afore-said problems, the system of Plea bargaining is used more wide spread in the United States of America for solving the problems of Criminal Justice Administration and the limitation of accepting the evidence which are usually stricted to the Due Process Model following to the Exclusionary Rule about the illegal evidence.The problems of Criminal. Justice Administration in Thailand is nearly the same as in the United States of America, so the system of plea bargaining should also be used in Thailand. However, the system of plea bargaining should also be adapted to the Thai legal system, Social condition, Economic and Political. This kind of system can be possiblied used by the public Prosecutors, for helping the courts’ work such as speedy trial and make it achieve to the aim of Criminal Justice System.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18810
ISBN: 9745634794
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitjarin_On_front.pdf404.75 kBAdobe PDFView/Open
Nitjarin_On_ch1.pdf404.91 kBAdobe PDFView/Open
Nitjarin_On_ch2.pdf604.94 kBAdobe PDFView/Open
Nitjarin_On_ch3.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Nitjarin_On_ch4.pdf712.92 kBAdobe PDFView/Open
Nitjarin_On_back.pdf461.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.