Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18821
Title: | ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียนในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Teacher-student verbal interaction in mathematics instruction at the upper secondary education level |
Authors: | ณัฐ อิ่มปิติวงศ์ |
Advisors: | พร้อมพรรณ อุดมสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Prompan.U@chula.ac.th |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) พฤติกรรม |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียนในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนต่าง ๆ ของปฏิสัมพันธ์ทางวาจาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระหว่างระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 57 คน และนักเรียน 90 ชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสังเกตปฏิสัมพันธ์ทางวาจาที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบวิเคราะห์สัมพันธ์ทางวาจาของเนด เอ แฟลนเดอร์ส วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบลำดับที่ของครัสคาล วอลสีส (Kruskal_Wallis) ผลการวิจัยพบว่า 1.การศึกษาและวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียนในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละของเวลาทั้งหมดดังนี้ 1.1ครูใช้เวลาพูดทั้งหมดร้อยละ 65.3203 โดยใช้เวลาพูดมากที่สุดคือการบรรยายร้อยละ 32.4769 และใช้เวลาพูดน้อยที่สุดคือการยอมรับความรู้สึกของนักเรียนร้อยละ 0.1391 1.2นักเรียนใช้เวลาพูดทั้งหมดร้อยละ 19.7993 โดยใช้เวลาพูดมากที่สุดคือการพูดเป็นหมู่คณะร้อยละ 11.5351 และใช้เวลาพูดน้อยที่สุดคือการพูดเป็นรายบุคคลร้อยละ 3.9469 1.3การเงียบหรือความวุ่นวายสับสนใช้เวลาทั้งหมดร้อยละ 14.8804 ส่วนมากเป็นการเงียบอย่างมีวัตถุประสงค์ร้อยละ 8.9345 2.การเปรียบเทียบอัตราส่วนต่าง ๆ ของปฏิสัมพันธ์ทางวาจา ระหว่างระดับชั้นเรียนสรุปได้ดังนี้ 2.1ระดับชั้นเรียนต่างกันไม่ทำให้อัตราส่วนต่อไปนี้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ก.อัตราส่วนระหว่างการใช้เวลาพูดของครูกับการใช้เวลาพูดของนักเรียน ข.อัตราส่วนระหว่างการให้นักเรียนพูดเป็นรายบุคคลกับการพูดเป็นหมู่คณะ ค.อัตราส่วนระหว่างการใช้เวลาบรรยายกับการใช้เวลาพูดทั้งหมดของครู ง.อัตราส่วนระหว่างการพูดริเริ่มของนักเรียนกับเวลาที่นักเรียนพูดทั้งหมด จ.อัตราส่วนระหว่างการใช้อิทธิพลทางอ้อมกับการใช้อิทธิพลทางตรงของครู 2.2 ระดับชั้นเรียนต่างกัน มีผลทำให้อัตราส่วนระหว่างการกระตุ้นพฤติกรรมกับการควบคุม พฤติกรรมของนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1.To study and analyze teacher-student verbal interaction in mathematics instruction at the upper secondary education level. 2.To compare the ratios of verbal interaction in mathematics instruction among class levels. The samples were fifty-seven upper secondary mathematics teachers and student from ninety classes. The instrument used in this study was the verbal interaction observation form which applied by the researcher from Flanders’ Interaction Analysis Technique. The data were analyzed by means of percentage and Kruskal-Wallis One Way Analysis of Variance by Ranks. The results of this study were: 1.The study and analyzing of teacher-student verbal interaction in mathematics instruction were calculated by percentages from the total time: 1.1The time the teachers spent in speaking was 65.3203%: by using most of the time lecturing 32.4769%, and by using least of the time accepting students’ feeling 0.1391%.1.2 The time the students spent in speaking was 19.7993%: by using most of the time speaking in group 11.5351%, by using least of the time speaking individually 3.9469%. 1.3The time the silence or confusion was 14.8804%, most of the time was the objective silence 8.9345%. 2.Comparing the ratios of verbal interaction in mathematics instruction among class levels were: 2.1The different class levels did not make the following ratios different significantly at the 0.01 level. a. The ratio of time the teachers and students spent in speaking. b. The ratio of time the students spent in speaking individually and in groups. c. The ratio of time the teachers spent in lecturing and speaking. d. The ratio of time the students spent in initiation and speaking. e. The ratio of time the teachers spent in indirect and direct influence. 2.2The different class levels caused the ratio of time the teachers spent in motivating and controlling the students’ behavior different significantly at the 0.01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18821 |
ISBN: | 9745643661 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuth_Oi_front.pdf | 308.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuth_Oi_ch1.pdf | 267.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuth_Oi_ch2.pdf | 360.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuth_Oi_ch3.pdf | 288.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuth_Oi_ch4.pdf | 369.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuth_Oi_ch5.pdf | 272.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuth_Oi_back.pdf | 462.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.