Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1883
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินสถานการณ์ของการดูแล สัมพันธภาพของผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วย ความต้องการการดูแล การสนับสนุนจากครอบครัว กับการปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง |
Other Titles: | Relationships between appraisal of caregiving, patient-caregiver relationships, caregiving demands, family support, and family caregivers adaptation of patients with stroke |
Authors: | กรรณิกา คงหอม, 2516- |
Advisors: | สุรีพร ธนศิลป์ ศิริพันธุ์ สาสัตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sureeporn.T@Chula.ac.th |
Subjects: | การปรับตัว (จิตวิทยา) ผู้ดูแล ผู้ป่วย--การดูแล หลอดเลือดสมอง--โรค |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของการประเมิน สถานการณ์ของการดูแล สัมพันธภาพของผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วย ความต้องการการดูแล การสนับสนุนจากครอบครัว กับการปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของ ลาซารัสและโฟล์คแมนเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่พาผู้ป่วยมาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกของสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 120 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการประเมินสถานการณ์ของการดูแล แบบสอบถามสัมพันธภาพของผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วย แบบสอบถามความต้องการการดูแล แบบสอบถาม การสนับสนุนจากครอบครัว และแบบสอบถามการปรับตัว ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับดี ([Mean] = 3.66 +- 0.46) 2. การประเมินสถานการณ์ของการดูแลว่าท้าทาย สัมพันธภาพของผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วย การสนับสนุน จากครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .240, r = .333 , r = .468 ตามลำดับ) 3. การประเมินสถานการณ์ของการดูแลว่าคุกคาม การประเมินสถานการณ์ของการดูแลว่าสูญเสียความต้องการการดูแล มีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.514, r = -.523, r = -.310 ตามลำดับ) 4. การสนับสนุนจากครอบครัว การประเมินสถานการณ์ของการดูแลว่าคุกคาม การประเมินสถานการณ์ของการดูแลว่าสูญเสีย และความต้องการการดูแล สามารถร่วมกันทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 52 ( R[superscript 2] = .518) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถสร้างสมการทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z[subscript การปรับตัว] = .433Z[subscript การสนับสนุนจากครอบครัว] -.267Z[subscript คุกคาม] -.227Z[subscript สูญเสีย] -.188Z[subscript ความต้องการการดูแล] |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the relationships and predictors between appraisal of caregiving, patient-caregiver relationships, caregiving demands and family support and adaptation of family caregivers of patients with stroke. Lazarus & Folkman,s Adaptation Model (1984) was used as a research framework. The samples consisted of 120 family caregivers of patients with stroke and were recruited by using simple random sampling from the Out-Patient Department of Prasat Hospital. The instruments were Demographic questions, Appraisal of Caregiving Scale, Patient-Caregiver Relationships, Caregiving Demands Scale, Family Support and Adaptation Questionnaires and were tested for content validity and reliability. The data were analyzed by using SPSS for windows for mean, standard deviation, Pearson,s product moment correlation and stepwise regression. Major findings were as follows : 1. The family caregivers of patients with stroke had a good level of adaptation ([Mean] = 3.66 +-0.46). 2. The challengeappraisal, patient relationships and family support scores were positive related significantly to adaptation of family caregivers of patients with stroke at level of .05 (r = .240, r = .333 and r = .468 respectively). 3. The threat appraisal, loss appraisal and caregiving demands scores were negative related significantly to adaptation of family caregivers of patients with stroke at level of .05 (r = -.514, r = -.523 and r = -.310 respectively). 4. Family support, threat appraisal of caregiving, loss appraisal of caregiving and caregiving demands could predict the adaptation of family caregivers of patients with stroke at level of .05. The predictive power was 52 percents of the variance (R[superscript 2]= .518). The study equation was at follow : Z[subscript adaptation] = .433Z[subscript Family support]-.267Z[subscript Threat]-.227Z[subscript Loss]-.188Z[subscript Caregiving demands]. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1883 |
ISBN: | 9741750307 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kunnika.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.