Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1884
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีณา จีระแพทย์-
dc.contributor.authorดลณชา อิสริยภานันท์, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-17T05:49:46Z-
dc.date.available2006-08-17T05:49:46Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741739133-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1884-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยวัยรุ่น ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนผ่าตัดและการบริหารหลังผ่าตัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัยรุ่นอายุ 12-15 ปี ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือเพื่อการตรวจรักษาโรคบริเวณอวัยวะภายในช่องท้องส่วนบน โรงพยาบาลลพบุรี จำนวน 40 คน ทำการสุ่มโดยการจับฉลาก เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนผ่าตัดและการบริหารหลังผ่าตัด จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ความรู้ก่อนผ่าตัดและการบริหารหลังผ่าตัด และคู่มือการบริหารหลังผ่าตัด ซึ่งผ่านการตรวจสอบตรงเชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยของการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยวัยรุ่นในด้านอาการปวดหลังผ่าตัด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในวันที่ 1 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในวันที่ 2 และ วันที่ 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยของการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยวัยรุ่นในด้านจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวร่างกาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำแนกตามจำนวนวันหลังผ่าตัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยของการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยวัยรุ่นในด้านจำนวนครั้งของการใช้ยาแก้ปวดหลังผ่าตัด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำแนกตามจำนวนวันหลังผ่าตัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนเฉลี่ยของการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยวัยรุ่นในด้านภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนผ่าตัดและการบริหารหลังผ่าตัด สามารถเพิ่มการฟื้นสภาพของผู้ป่วยวัยรุ่นได้ จึงควรนำโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนผ่าตัดและการบริหารหลังผ่าตัดมาไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this time series quasi-experimental research were to compare post operative recovery of adolescent patients who received the preoperative education and postoperative exercise program and those who had routine nursing care. Samples consisted of 40 adolescent patients who received the upper abdominal surgery for diagnosis or treatment at Lopburi hospital. They were matched and randomly assigned into either experiment or control group. There were 20 in each group. The experimental instruments were the preoperative education and postoperative exercise program which had tested for content validity. The instrument for data collection was the postoperative recovery evaluation form which obtained reliability of .98. Data were analyzed by using mean, standard deviation and independent t-test. Major findings were as follows : 1. The mean score of postoperative recovery on postoperative pain dimension between the experimental group and the control group was not significantly different on the first day.But there were significant differents between groups on the second and third days, at the .05 level. 2. The mean score of postoperative recovery on postoperative ambulation dimension between the experimental group and the control group were significant different on the first, second and third days at the .05 level. 3. The mean score of postoperative recovery on postoperative analgesic used dimension between the experimental group and the control group were significant different on the first, second and third days at the .05 level. 4. The mean score of postoperative recovery on postoperative complication dimension between the experimental group and the control group were significant different on the first, second and third days at the .05 level. The results suggested that the pre-operative education and postoperative exercise program can improve postoperative recovery of adolescent patients and should be integrated as part of postoperative nursing care.en
dc.format.extent2646696 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูแลก่อนศัลยกรรมen
dc.subjectการดูแลหลังศัลยกรรมen
dc.subjectท้อง--ศัลยกรรมen
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ก่อนผ่าตัดและการบริหารหลังผ่าตัดต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยวัยรุ่นen
dc.title.alternativeThe effects of preoperative education and postoperative exercise program on postoperative recovery of adolescent patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVeena.J@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Donnacha.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.