Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18861
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพันธ์ เดชะคุปต์-
dc.contributor.authorอนุสรา เสนไสย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-29T04:09:23Z-
dc.date.available2012-03-29T04:09:23Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18861-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์ 2) เปรียบเทียบทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลาระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์กับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ 4) เปรียบเทียบทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลาของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์กับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 46 คน เรียนโดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 2) แบบวัดทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. นักเรียนกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. นักเรียนกลุ่มที่เรียนฟิสิกส์โดยจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลาสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi-experimental research. The purposes of this research were to 1) compare physics learning achievement of students learning physics through inquiry instruction with webquest lessons between before and after learning. 2) compare space/space relationship and space/time relationship skills of students learning physics through inquiry instruction with webquest lessons between before and after learning. 3) compare physics learning achievement between groups learning physics through inquiry instruction with webquest lessons and conventional teaching method. 4) compare space/space relationship and space/time relationship skills between groups learning physics through inquiry instruction with webquest lessons and conventional teaching method. The sample were two classrooms of the tenth grade level of Siantjoseph Convent School in first semester of academic year 2006. They were assigned to be an experimental group with 46 students learning through inquiry instruction with webquest lessons and a control group with 46 students learning through conventional teaching method. The research instruments were 1) a physics learning achievement test with reliability was 0.83. 2) a space/space relationship and space/time relationship skills test with reliability was 0.76. The collected data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, t-test and analysis of covariance (ANCOVA). The research findings were summarized as follows: 1. After learning, the students learned physics through inquiry instruction with webquest lessons had mean score of learning achievement higher than before learning at 0.01 level of significance. 2. After learning, the students learned physics through inquiry instruction with webquest lessons had mean score of space/space relationship and space/time relationship skills higher than before learning at 0.01 level of significance. 3. The students learned physics through inquiry instruction with webquest lessons had mean score of physics learning achievement higher than those who learned through conventional teaching method at 0.05 level of significance. 4. The students learned physics through inquiry instruction with webquest lessons had mean score of space/space relationship and space/time relationship skills higher than those who learned through conventional teaching method at 0.05 level of significance.en
dc.format.extent2550754 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.938-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen
dc.subjectฟิสิกส์en
dc.titleผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้บทเรียนเว็บเควสท์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายen
dc.title.alternativeEffects of inquiry instruction with webquest lessons on physics learning achievement and science process skills of upper secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPimpan.d@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.938-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anootsara_se.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.