Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18915
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ความสามรถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ นิสัยในการเรียน และทัศนคติในการเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The relationships among intelligence, mathematics background, mathematics problem-solving ability and study habits and attitudes and achievement in learning mathematics of mathayom suksa three students
Authors: วิมล ตันสกุล
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นักเรียน -- ทัศนคติ
เชาว์ -- การทดสอบ
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนาย 5 ตัวแปร ได้แก่ เชาวน์ปัญญา (X₁) ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (X₂) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (X₃) นิสัยในการเรียน (X₄) และทัศนคติในการเรียน (X₅) กับตัวแปรที่ใช้เป็นเกณฑ์ 2 ตัวแปรได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Y₁ ) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามการประเมินผลของอาจารย์ประจำวิชา (Y₂ ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค.311 เป็นวิชาเลือก จากโรงเรียนวัดราชบพิธ จำนวน 143 คน โรงเรียนเบญจมราชาลัยจำนวน 133 คน โรงเรียนวัดสังเวชจำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดเชาวน์ปัญญาชื่อ แมทริซีสก้าวหน้ามาตรฐาน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสำรวจนิสัยในการเรียน และทัศนคติในการเรียน และแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ค.311 ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ ผลการวิจัย 1. สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเกณฑ์กับตัวแปรทำนาย โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปรากฏผลดังนี้ 1.1 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นตัวแปรเกณฑ์ พบว่าสำหรับโรงเรียนวัดราชบพิธ สหสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 5 ตัวแปร สำหรับโรงเรียนเบญจมราชาลัย สหสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิติ 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรทำนาย ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ส่วนโรงเรียนวัดสังเวช สหสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ตัวแปร ได้แก่ตัวแปรทำนาย เชาวน์ปัญญา ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 1.2 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามการประเมินผลของอาจารย์ประจำวิชาเป็นตัวแปรเกณฑ์ พบว่าสำหรับโรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนวัดสังเวช สหสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 5 ตัวแปร ส่วนโรงเรียนเบญจมราลัยสหสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิต 4 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ นิสัยในการเรียน และทัศนคติในการเรียน 2. สหสัมพันธ์พหุคูณ และสมการถดถอยของกลุ่มตัวทำนาย กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน และคะแนนดิบ ปรากฏผลดังนี้ โรงเรียนวัดราชบพิธ 2.1 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นตัวแปรเกณฑ์ สมการถดถอยพหุคูณจะได้ Y₁ = -5.5364+6.9243 X₂ + 0.0476 X₄ , Z ₁ = 0.8272 Z2 + Z ₂ + 0.1030 Z ₄ สหสัมพันธ์พหุคูณ R= .8714 2.2 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามการประเมินผลของอาจารย์ประจำวิชาเป็นตัวแปรเกณฑ์ สมการถดถอยพหุคูณจะได้ Y2 = -1.8445+1.0005 X₂ + 0.00055 X₄ , Z 2 = 0.8682 Z ₂ + 0.0864 Z ₄ สหสัมพันธ์พหุคูณ R= .9043 โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2.3 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นตัวแปรเกณฑ์ สมการถดถอยพหุคูณจะได้ Y₁ = -1.7454+4.2416 X₂ + 0.3364 X₃ , Y ₂ = 0.4295 Z ₂ + 0.2356 Z₃ สหสัมพันธ์พหุคูณ R=.5760 2.4 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามการประเมินผลของอาจารย์ประจำวิชาเป็นตัวแปรเกณฑ์ สมการถดถอยพหุคูณจะได้ Y2 = -2.7984+1.2506 X₂ + 0.0067 X₅ , Z ₂ = 0.7358 Z ₂ + 0.1345 Z5 สหสัมพันธ์พหุคูณ R=.7571 โรงเรียนวัดสังเวช 2.5 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นตัวแปรเกณฑ์ สมการถดถอยพหุคูณจะได้ Y₁ = -0.0194+2.3767 X₂ + 0.1237 X₃ , Z ₁ = 0.4764 Z ₂ + 0.1835 Z₃ สหสัมพันธ์พหุคูณ R=.6007 2.6 เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามการประเมินผลของอาจารย์ประจำวิชาเป็นตัวแปรเกณฑ์ สมการถดถอยพหุคูณจะได้ Y2 = -2.6615+1.0270 X₂ + 0.0236 X₁ +0.0062 X₅ , Z ₂ = 0.7271 Z ₂ + 0.1251 Z ₁ +0.1117 Z5 สหสัมพันธ์พหุคูณ R=.8044
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the relationships between 5 independent variables : intelligence (X₁) mathematics background (X₂) mathematics problem-solving ability (X₃) study habits (X₄) and study attitudes (X₅) and 2 independent variables : achievement in learning mathematics of mathayom suksa 3 as specified in term of behavioral objectives (Y₁ ) and the achievement in learning mathematics as evaluated by the teachers (Y₂ ). The samples were mathayom suksa 3 students who study math .311 as elective subjects : 143 students from Wat Rajabopit School, 133 students from Benjamarajalai School and 143 students from Wat Sungwej School. The instruments used were the standard progressive matrices test, the Mathematics Problem-Solving Ability test, the Survey of study Habits and Attitudes and Achievement in Learning Mathematics test. The data were analyzed by multiple regression analysis : forward (stepwise) inclusion. The results are summerised as follows: 1. The significant correlation at the level of .05 among 5 predictors with the criterions were as follows: 1.1 When the achievement in learning mathematics as specified in term of behavioral objectives was used as criterion it was found that for Wat Rajabopit School the correlation were statistically significant for 5 predictors. For Benjamarajalai School the correlation were statistically significant for 2 predictors i.e. mathematics background and mathematics problem-solving ability. For Wat Sungwej School the correlation were statistically significant for 3 predictors i.e. intelligence mathematics background and mathematics problem-solving ability. 1.2 When the achievement in learning mathematics as evaluated by the teacher was used as criterion it was found that for Wat Rajabopit School and Wat Sungwej School the correlation were statistically significant for 5 predictors. For Benjamarajalai School the correlation were statistically significant for 4 predictors i.e. mathematics background, mathematics problem-solving ability, study habits and study attitudes. 2. The multiple correlation and multiple regression equation in the form of standard scores and raw scores were: Wat Rajabopit School. 2.1 When the achievement in learning mathematics as specified in term of behavioral objectives was used as criterion the equation were: Y₁ = -5.5364+6.9243 X₂ + 0.0476 X₄ , Z ₁ = 0.8272 Z ₂ + 0.1030 Z ₄ The multiple correlation R= .8714 .2.2 When the achievement in learning mathematics as evaluated by the teacher was used as criterion the equations were: Y2 = -1.8445+1.0005 X₂ + 0.00055 X₄ , Z 2 = 0.8682 Z ₂ + 0.0864 Z ₄ The multiple correlation R= .9043 2.3 When the achievement in learning mathematics as specified in term of behavioral objectives was used as criterion the equations were: Y₁ = -1.7454+4.2416 X₂ + 0.3364 X₃ , Y ₂ = 0.4295 Z ₂ + 0.2356 Z₃ The multiple correlation R=.5760. 2.4 When the achievement in learning mathematics as evaluated by the teacher was used as criterion the equation were: Y2 = -2.7984+1.2506 X₂ + 0.0067 X₅ , Z ₂ = 0.7358 Z ₂ + 0.1345 Z5 The multiple correlation R=.7571. Wat Sungwej School. 2.5 When the achievement in learning mathematics as specified in term of behavioral ovjectives was used as criterion the equations were: Y₁ = -0.0194+2.3767 X₂ + 0.1237 X₃ , Z ₁ = 0.4764 Z ₂ + 0.1835 Z₃ The multiple correlation R=.6007. 2.6 When the achievement in learning mathematics as evaluated by the teacher was used as criterion the equations were: Y2 = -2.6615+1.0270 X₂ + 0.0236 X₁ +0.0062 X₅ , Z ₂ = 0.7271 Z ₂ + 0.1251 Z ₁ +0.1117 Z5 The multiple correlation R=.8044
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18915
ISBN: 9745644587
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimon_Ta_front.pdf646.39 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Ta_ch1.pdf571.47 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Ta_ch2.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Wimon_Ta_ch3.pdf637.52 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Ta_ch4.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Wimon_Ta_ch5.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Wimon_Ta_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.