Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18933
Title: การศึกษาภาวะเอเลียนเนชันในบรรดาลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
Other Titles: A study of alienation among factory employees
Authors: สมชัย วงศ์ประเสริฐสุข
Advisors: เสริน ปุณณะหิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลูกจ้าง
โรงงาน
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม
จิตวิทยาอุตสาหกรรม
แรงงานสัมพันธ์
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอเลียนเนชัน หนึ่งในบรรดาหัวข้ออภิปรายสำคัญ ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความหมายมากที่สุดสำหรับบรรดานักวิเคราะห์วิจารณ์สังคมทั้งหลาย ได้รับการท้าทายกันอีกครั้งหนึ่งและกลายเป็นสาระสำคัญในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ซึ่งมีความเข้าใจว่าเอเลียนเนชัน เป็นแง่มุมสำคัญแง่มุมหนึ่งของชีวิตบรรดาลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย ด้วยการอาศัยเค้าโครงความคิดของคาร์ล มาร์กซเป๋นกรอบ การสืบค้นศึกษาภาวะเอเลียนเนชันโดยกรรมวิธิเชิงประจักษ์จึงได้ดำเนินไป ภายใต้สมมุติฐานการวิจัย 3 ประการที่มีความแตกต่างกัน หากแต่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดังต่อไปนี้ : 1. ยิ่งลูกจ้างรู้สึกหรือมองเห็นว่า ตนสามารถควบคุมกิจกรรมในการผลิตที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ได้มากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งปลอดจากภาวะเอเลียนเนชันได้มากขึ้นเพียงนั้น 2. ยิ่งลูกจ้างรู้สึกว่า ตนสามารถมองเห็นและระบุผลผลิตที่เกิดจากฝีมือหรือน้ำพักน้ำแรงของตนเองได้มากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งปลอดจากภาวะเอเลียนเนชันได้มากขึ้นเพียงนั้น 3. ยิ่งลูกจ้างรู้สึกว่า ตนสามารถควบคุมการให้รางวัลให้เป็นไปอย่างถูกต้องยุติธรรม (ตามหลัก merit system) ได้มากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งปลอดจากภาวะเอเลียนเนชันได้มากขึ้นเพียงนั้น บนพื้นฐานของการวินิจฉัยจากความรู้สึกของผู้ศึกษาวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโอกาสในการมองเห็นและระบุได้ถึงผลงานจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ในลักษณะงานประเภทต่าง ๆ ตามโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้มีการคัดเลือกอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ มาเป็นจำนวน 4 ประเภท โดยทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวจะเรียงลำดับตั้งแต่ระดับโอกาสมองเห็นและระบุได้ถึงผลงานจากน้ำพักน้ำแรงของตนเองจากต่ำไปจนกระทั่งสูงอย่างต่อเนื่องกันไป จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างลูกจ้างจากบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้มาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 285 คน สำหรับเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยการตอบลงในแบบทดสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามต่าง ๆ ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอันจำเป็นและเป็นที่ต้องการในการศึกษาวิจัย ผลของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีลักษณะที่สนับสนุนต่อสมมุติฐานการวิจัยทั้ง 3 ประการ ที่ได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้นน้อยมากจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่สนับสนุนต่อสมมุติฐานดังกล่าวเลย โดยปรากฏว่าความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีอำนาจควบคุมกรรมวิธีการผลิตใด ๆ กับภาวะเอเลียนเนชัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีอำนาจควบคุมการให้รางวัลเป็นไปอย่างถูกต้องยุติธรรม (ตามหลัก merit system) กับภาวะเอเลียนเนชัน-อันหมายถึงสมมุติฐานที่ 1 และสมมุติฐาน 3- เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 แต่ประการใด แต่เมื่อพิจารณาไปยังความสามารถมองเห็นและระบุได้ถึงผลงานจากน้ำพักน้ำแรงของตนเองแล้ว ก็พบว่า ลักษณะและปริมาณความสัมพันธ์ที่มีภาวะเอเลียนเนชันยังเป็นที่น่าสงสัย เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระดับอันดับมาตราของกูดแมนและกรูซกัล กับค่าไคสแควร์ ให้ผลที่ขัดแย้งกัน เหตุผลที่จะอธิบายได้ว่า ทำไมสมมุติฐานส่วนใหญ่ (ถ้ามิใช่ทั้งหมด) ไม่ได้รับการยืนยันสนับสนุนในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อาจจะจำแนกออกได้เป็น 2 กรณีหลักด้วยกันกล่าวคือ ในส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากจำนวนข้อความในมาตราวัดภาวะเอเลียนเนชันมีน้อยเกินกว่าจะใช้วัดภาวะเอเลียนเนชันในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ และอีกส่วนหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ตัวแปรหลักที่แสดงเหตุและผลในสมมุติฐานส่วนใหญ่ ได้ถูกลบล้างบทบาทเด่นชัดลงไปด้วย “ลักษณะวิถีชีวิตแบบไทย” ตัวแปรที่การศึกษาครั้งนี้ได้เปิดเผยให้ทราบว่า มีความสัมพันธ์กับภาวะเอเลียนเนชันอย่างหนักแน่นในระดับปานกลาง ก็จะได้แก่ตัวแปรลักษณะความสัมพันธ์ภายในโรงงานระดับของความวิตกกังวลต่อเรื่องต่าง ๆ นอกเหนือจากเรื่องภายในโรงงาน และความอ่อนไหวแห่งอารมณ์ความรู้สึกอันเป็นบุคลิกภาพของลูกจ้าง ยิ่งกว่านั้น ยังได้พบว่า บรรดาลูกจ้างผู้ประสบภาวะเอเลียนเนชันมีความแตกต่างจากลูกจ้างที่ไม่ประสบภาวะดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยอื่นอีก 3 ประการ อันได้แก่ระดับการศึกษา การทำงานเป็นกะและประเภทของค่าจ้าง
Other Abstract: Alienation, one of the most meaningful and debating topics among social critics, was revisited and became the main theme of this study. It is considered to be an important aspects of life among Thai factory employees. Within Karl Marx’s Framework of thought, alienation was empirically investigated under three distinct but closely related hypotheses : 1. The greater the degree of control over the major process of work if perceived, the more likely the individual employee will be free from alienation. 2. The greater the opportunity to do a job from beginning to end with a visible outcome (indentifiable piece of work), the less likely the individual employee will suffer from alienation. 3. The more the individual employee is assured of his influence over the allocation of rewards, the less likely he will suffer from alienation. Four kinds of factory were purposively selected on the basis of the investigator’s knowledge about the identifiable nature of factory work. They were arranged into a continuum from low to high degrees of identifiability, and 285 employees were randomly selected from these factories. A self-administered questionnaire and set of attitude scales were used to collect necessary information and measure the state of mind under study. The main findings of the present study produce too little empirical support to all of the three above-mentioned hypotheses. No statistically significant associations were found between perceived control over work process and the allocation of rewards and alienation – the first and third hypotheses. But insofar as the ability to identify the finished product of one’s own work is concerned, the nature and degree of its association with alienation cannot be unequivocally explained – the values of Gamma and Chi-square contradict each other. Two main reasons can be given to explain why most, if not all, hypotheses are not confirmed: on the one hand, items in the scale are so few in number that the various dimensions of alienation were not adequately measured. On the other hand, all but one of the hypothesized causal variables are neutralized by the “Thai ways of life” As the present study reveals, the nature of social relations in the place of work, anxiety about life and social conditions outside the factory, and emotional instability do have moderately strong relationship with alienated felling. Moreover, the alienated employees were found to differ from their non-alienated counterparts in terms of such bio-data factors as educational level, shifts of work, and kinds of payment.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18933
ISBN: 9745643041
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Won_front.pdf567.49 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch1.pdf520.31 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch2.pdf593.41 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch3.pdf397.78 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch4.pdf366.92 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch5.pdf897.06 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch6.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch7.pdf863.24 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_ch8.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Won_back.pdf995.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.