Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18961
Title: ผลของโซเดียมคาร์บอเนตต่อการเกิดคราบขาวและสมบัติของเนื้อดินปั้นราชบุรีหลังเผา
Other Titles: Effects of sodium carbonate on scumming and firing poperties of Ratchaburi pottery clay
Authors: อดิศักดิ์ ถือพลอย
Advisors: ธนากร วาสนาเพียรพงศ์
สิริพรรณ นิลไพรัช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Thanakorn.W@chula.ac.th
Siripan.N@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องปั้นดินเผา -- ไทย -- ราชบุรี
ดินเหนียว -- ไทย -- ราชบุรี
โซเดียมคาร์บอเนต
Pottery -- Thailand -- Ratchaburi
Clay -- Thailand -- Ratchaburi
Sodium carbonate
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องปั้นดินเผาเอิร์ธเทิร์นแวร์ราชบุรีที่ใช้เนื้อดินปั้นเป็นเนื้อดินแดงเหนียวจากท้องที่ในเขตจังหวัดราชบุรี และเผาที่อุณหภูมิประมาณ 850 - 1000 องศาเซลเซียส มักพบปัญหามีการเกิดคราบเกลือสีขาวซึ่งเป็นสารประกอบจำพวกแคลเซียมซัลเฟตที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งดินในรูปของแร่ยิปซัม โดยสังเกตพบคราบขาวได้ตั้งแต่ก่อนเผาและหลังการเผา แต่ในบางครั้งแม้จะไม่พบคราบขาวภายหลังการเผา แต่เมื่อเมื่อมีการใช้งานที่สัมผัสกับความเปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่นกระถางปลูกต้นไม้ หรือเครื่องประดับสวน เกลือแคลเซียมซัลเฟตที่ปนเปื้อนอยู่ภายในเนื้อดิน สามารถละลายน้ำได้ สารละลายเกลือดังกล่าวจะแพร่มาที่พื้นผิว แล้วเมื่อน้ำระเหยแห้งจะเกิดการตกผลึก มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็กสีขาวได้เช่นกัน แม้จะมีการรายงานและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายว่าการเติมแบเรียมคาร์บอเนตจะช่วยลดปริมาณเกลือแคลเซียมซัลเฟต และลดปัญหาคราบขาวลงได้ แต่การเติมผงแบเรียมคาร์บอเนตในรูปของแข็งจะทำให้เกิดการกระจายตัวในเนื้อดินได้ยาก และต้องใช้เวลานานในการทำปฏิกิริยา จึงทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาคราบขาวดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาการแก้ปัญหาโดยการเติมสารเติมแต่งได้แก่ โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมฟอสเฟต และโซเดียมคลอไรด์ เปรียบเทียบกับแบเรียมคาร์บอเนตที่มีการใช้งานกันโดยทั่วไป โดยใช้สารเติมแต่งเหล่านี้ปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนักของดิน ละลายในน้ำกลั่นปริมาณร้อยละ 22 โดยน้ำหนักของดินเปียก ผสมกับผงดินราชบุรี ทำการนวดผสม หมักไว้ 24 ชั่วโมง ทำการอัดขึ้นรูป อบแห้ง และทำการเผาที่อุณหภูมิ 850 900 และ 950 องศาเซลเซียส ทำการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของไอออนต่างๆ ของเนื้อดินหลังการนวดผสมแล้วหมักไว้ และบริเวณผิวหน้าของตัวอย่างหลังการระเหยแห้ง รวมทั้งสมบัติหลังการเผา ความแข็งแรง การดูดซึมน้ำ การหดตัวและการวัดค่าสี พบว่าการเติมโซเดียมคาร์บอเนตจำนวนร้อยละ 1 โดยน้ำหนักของดิน สามารถลดปัญหาคราบขาวลงได้เช่นเดียวกับการเติมแบเรียมคาร์บอเนต อีกทั้งชิ้นงานหลังเผาที่ 950 องศาเซลเซียส มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำเพียง 12.22 เปอร์เซ็นต์ ค่าความแข็งแรง 32.53 เมกกะปาสคัล เมื่อเทียบกับการเติมแบเรียมคาร์บอเนต ซึ่งมีค่าการดูดซึมน้ำสูง 15.58 เปอร์เซ็นต์ ค่าความแข็งแรง 25.25 เมกกะปาสคัล จึงทำให้การเติมโซเดียมคาร์บอเนตมีข้อดีมากกว่าการเติมแบเรียมคาร์บอเนต
Other Abstract: Ratchaburi earthenware pottery products made by using local red plastic clay in Ratchaburi province and fired at 850-1000 oC, always shows some blemishes which are caused by scumming on the surface. This scumming contains calcium sulfate, contaminated in the raw clay as gypsum form. The scumming, as white stain, can be noticed at clay body surface before and after firing. Although, in some cases, white stain is not seen after firing, it will reappear when the pottery products have been in serviced humid environment for a long time. Calcium sulfate is water-soluble. When the product absorbs moisture, calcium sulfate solution will permeate through capillary action to the surface and it is crystallized as a white fine powder. One suggested remedy to prevent this white stain is to use barium carbonate to reduce the white stain. However, it is difficult for barium carbonate, in solid form, to spread throughout the clay so that it takes a very long time to complete the reaction. Therefore this technique still does not satisfy the pottery producers. This research aims to find the solution to the problems by using the alternative chemicals, nanely sodium carbonate, sodium phosphate and sodium chloride. Each of these chemicals was mixed in Ratchaburi clay at 1% by weight which was dissolved in distilled water by controlling the moisture content at 22% by wet weight. The mixtures were aged for 24 h and were then kneaded, formed, dried and fired at 850 oC, 900 oC, and 950 oC. The types and quantities of ions in mixed clay and of those which were deposited on the product surface were determined after drying. Firing properties which included, strength, water absorption, shrinkage, and color were also determined. It was found that adding sodium carbonate at 1% by weight, gave very much the same white stain areas. Result as the addition of barium carbonate in diminishing. Moreover, the sample after firing at 950 oC had lower water absorption (12.22%), higher strength (32.53 Mpa) as compared to the clay added barium carbonate bodies which had higher water absorption (15.58%) and lower strength (25.25 Mpa). Therefore, the addition of sodium carbonate to indigenous clay shows more promising results than the addition of barium carbonate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเซรามิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18961
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.491
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.491
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adisak_th.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.