Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18969
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorบรรเจอดพร รัตนพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-03T13:52:25Z-
dc.date.available2012-04-03T13:52:25Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18969-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractพัฒนารูปแบบการส่งเสริมผลการเรียนของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคการสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ฐานะทางสังคมมิติ และพฤติกรรมตั้งใจเรียน ในการพัฒนารูปแบบนั้น พัฒนาจากกรอบแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ พัฒนาการทางบุคลิกภาพของเด็กวัย 6-12 ปี แนวคิดการจัดการเงื่อนไขผลกรรม การเรียนรู้ด้วยการสังเกต การรับรู้ความสามารถของตนเอง แนวคิดเรื่องความจำระยะยาว และเทคนิคการสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการส่งเสริมผลการเรียนของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ ระดับประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคการสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ มีวัตถุประสงค์ของรูปแบบเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ฐานะทางสังคมมิติ และพฤติกรรมตั้งใจเรียนของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ ระดับประถมศึกษาและมีโครงสร้าง 5 ส่วน คือ (1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ (2) กระบวนการของรูปแบบ ได้แก่ การกำหนดให้นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ รับบทบาทเป็นนักเรียนผู้สอนเสริมดำเนินการสอนเสริม ให้แก่นักเรียนระดับชั้นต่ำกว่า ที่มีผลการเรียนในระดับร้อยละ 30-39 โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ขั้น คือ กิจกรรมการเตรียม กิจกรรมการสอนเสริม และกิจกรรมการประเมินผล (3) ผลผลิตของรูปแบบ ได้แก่ นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ฐานะทางสังคมมิติ และพฤติกรรมตั้งใจเรียนสูงขึ้น (4) กลไกควบคุมของรูปแบบ ได้แก่ การกำหนดคุณสมบัติของนักเรียนในรูปแบบ การดำเนินงานของครูผู้ใช้รูปแบบ และการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบ (5) ข้อมูลป้อนกลับของรูปแบบ ได้แก่ ผลของการใช้รูปแบบในด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ฐานะทางสังคมมิติ และพฤติกรรมตั้งใจเรียน ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ 2. การทดลองใช้รูปแบบ ซึ่งศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนเสนานิคม กรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน โดยกำหนดให้นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์กลุ่มทดลอง รับบทบาทเป็นนักเรียนผู้สอนเสริม วิชาภาษาไทย โดยเน้นทักษะความเข้าใจในการอ่านให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ในระดับร้อยละ 30-39 จำนวน 36 คน ได้ผลการทดลอง ซึ่งทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 4 ด้าน คือ (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนเฉลี่ย จากผลการสอบหลังการทดลองของกลุ่มทั้งสอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่พบว่า จำนวนนักเรียนกลุ่มทดลองที่พ้นภาวะด้อยสัมฤทธิ์มีมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ ( มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบ (2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบการรับรู้ความสามารถของตนเองสูง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ (3) ฐานะทางสังคมมิติ จำนวนนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่มีคะแนนจากแบบวัดฐานะทางสังคมมิติ สูงขึ้นจากก่อนการทดลอง มีมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ แต่พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลอง ของกลุ่มทั้งสอง (4) พฤติกรรม ตั้งใจเรียน นักเรียนกลุ่มทดลองทุกคน มีร้อยละของเวลาที่แสดงพฤติกรรมตั้งใจเรียนเพิ่มขึ้นen
dc.description.abstractalternativeTo develop a model for enhancing learning outcomes of elementary school underachievers through cross-age tutoring technique and try-out this model for studying about achievement, self-efficacy, socio-status and attention behaviors of elementary school underachievers. The model was developed from concept and theories about underachievers, 6-12 years personality development, conceptions of contingency management, observational learning, self-efficacy, long-term memory and cross-age tutoring technique. The findings were as follows: 1. The model for enhancing learning outcomes of elementary school underachievers through cross-age tutoring technique had objectives to develop learning achievement, self-efficacy, socio-status and attention behaviors of elementary school underachievers, and had 5 components: (1) The input factor: the underachievers. (2) The process of the model: assigned the underachievers as tutors of the students at the lower-grade level who had 30%-39% of the test scores on the three phases, namely, preparation activities, tutorial activities and evaluating activities. (3) The products of the model: the underachievers had better learning achievement, self-efficacy, socio-status, and attention behaviors. (4) The controls of the model: qualification of student, teacher's work and supports involved in using the model. (5) The feedback of the model: learning achievement, self-efficacy, socio-status, and attention behaviors of elementary school underachievers. 2. In trying out the model with 24 grade four elementary school underachievers at Senanikom School which spilt equally into the experimental group and the controlled group, the experimental group was assigned the role of tutor of 36 grade two Thai comprehension level 30%-39%. The results which were tested the significance at .05 level were: (1) The achievement of both group were not significantly different, but there were significantly higher number of students in the experimental group who were not underachievers than in the controlled group after the experiment. (2) There were significantly higher self-efficacy scores of students in the experimental group than in the controlled group. (3) There were significantly higher numbers of students in the experimental group that received higher socio-status scores than in the controlled group. But the differences on socio-status posttest scores between the two groups were not significant. (4) After the experiment all students in the experimental group had the higher percentage of the period of time on attention behaviors.en
dc.format.extent833049 bytes-
dc.format.extent903701 bytes-
dc.format.extent1903266 bytes-
dc.format.extent1119832 bytes-
dc.format.extent1210724 bytes-
dc.format.extent821025 bytes-
dc.format.extent1858775 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์en
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษาen
dc.subjectความสามารถในตนเองen
dc.subjectการสอนเสริมen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมผลการเรียน ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ระดับประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคการสอนเสริมเพื่อนต่างระดับen
dc.title.alternativeThe development of a model for enhancing learning outcomes of elementary school underachievers through cross-age tutoring techniqueen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChanpen.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTaweewat.p@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bancherdporn_Ra_front.pdf813.52 kBAdobe PDFView/Open
Bancherdporn_Ra_ch1.pdf882.52 kBAdobe PDFView/Open
Bancherdporn_Ra_ch2.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Bancherdporn_Ra_ch3.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Bancherdporn_Ra_ch4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Bancherdporn_Ra_ch5.pdf801.78 kBAdobe PDFView/Open
Bancherdporn_Ra_back.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.