Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18995
Title: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอเนื้อหาในหนังสือภาพขาวดำ กับระดับอายุของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย
Other Titles: An interaction between formats of content appoaches in black and white picture books and age levels upon the cognitive learning achievement of elementary school students
Authors: สุขุมาภรณ์ ขันธ์ศรี
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Advisor's Email: Chawalert.L@chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ภาพในการศึกษา
การสอน -- อุปกรณ์
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอเนื้อหาของหนังสือภาพขาวดำ กับระดับอายุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรมีทั้งสิ้น 360 คน จากโรงเรียนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และวัดเทพลีลา ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2528 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นใน 3 ระดับอายุ คือ 6-7 ปี (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) 8-9 ปี (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3) และ 11-12 ปี (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) จำนวน 60 คน ในแต่ละระดับชั้นของแต่ละโรงเรียน นักเรียนแต่ละระดับจะสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอีกครั้งเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่ม 1, 2 และ 3 รวมจำนวนนักเรียนในแต่ละกลุ่มทดลอง 120 คน กลุ่ม 1 เรียนจากหนังสือภาพที่เสนอเนื้อแบบบรรยาย กลุ่ม 2 เรียนจากหนังสือภาพที่เสนอเนื้อหาแบบสนทนา และกลุ่ม 3 เรียนจาก หนังสือภาพที่เสนอเนื้อหาแบบสนทนาร่วมกับบรรยาย หลังจากจบบทเรียนแล้วให้นักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง ผลการวิจัย ผลการวิจัยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. นักเรียนที่มีอายุต่างกัน จะมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหนังสือภาพที่มีวิธีเสนอเนื้อหาต่างกันใน 3 รูปแบบ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่มีอายุ 11-12 ปี จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่างจากนักเรียนอายุ 8-9 ปี แต่ทั้งสองระดับอายุจะมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มนักเรียนอายุ 6-7 ปี 2. นักเรียนที่เรียนจากหนังสือภาพขาวดำที่เสนอเนื้อหาแบบบรรยาย แบบสนทนาและแบบสนทนาร่วมกับบรรยาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่เรียนจากเนื้อหาแบบสนทนาและแบบสนทนาร่วมกับบรรยาย จะให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่างกัน แต่เนื้อหาทั้งสองแบบให้ผลสัมฤทธิ์สูงกว่าที่จะเรียนจากเนื้อหาแบบบรรยาย 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีเสนอเนื้อหาและระดับอายุของผู้เรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ไม่มีคำตอบของสมมติฐาน ข้อ 2, 3 และ 4
Other Abstract: Purpose of the research: The purpose of this research was to study the interaction between types of content approaches in black and white picture books and age levels upon the cognitive learning achievement of elementary school students. Procedures: The samples were 360 students from Sompochkrung-Rattanakosin 200 Pee and Wat Thep-Lela and were tested in the academic year 1985. They were selected according to a stratified random sampling. They were divided into three age groups : 6-7 years old (Prathom Suksa 1) 8-9 years old (Prathom Suksa 3) and 11-12 years old (Prathom Suksa 6) with 60 Students from each school in each level. The students in each level were, then, divided into three experimental groups ; A, B and C, with a total of 120 students in each group. Experimental group a read picture books with a narrative format; Experimental group B read books with a dialogue format, and experimental group C read books with combination of dialogue and narrative formats. After reading the books, all the subjects took a cognitive learning achievement test. The data obtained from the tests were analyzed using a two-way analysis of varience. Findings: 1. The achievement of the subjects of different ages who read picture books in each format of content approach was significantly different from each other at .01 level. The subjects group of 11-12 and 8-9 year old showed no different, but both groups were superior to the 6-7 year old subject group. 2. The achievement of the subjects who read picture books of different formats was significantly different from each other at .01 level. The dialogue and the combination of dialogue and narrative formats showed no different, but both formats were superior to the narrative format. 3. The interaction between types of format and ages of the subjects was not significantly at .01 level. 4. The second, the third and the fourth hypothesis have not any answers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18995
ISBN: 9745662666
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukhumaporn_Kh_front.pdf393.98 kBAdobe PDFView/Open
Sukhumaporn_Kh_ch1.pdf460.55 kBAdobe PDFView/Open
Sukhumaporn_Kh_ch2.pdf612.12 kBAdobe PDFView/Open
Sukhumaporn_Kh_ch3.pdf283.28 kBAdobe PDFView/Open
Sukhumaporn_Kh_ch4.pdf351.22 kBAdobe PDFView/Open
Sukhumaporn_Kh_ch5.pdf410.99 kBAdobe PDFView/Open
Sukhumaporn_Kh_back.pdf928.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.