Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19000
Title: ลักษณะคำถามและทักษะการใช้คำถามของครูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า ในโรงเรียนของอำเภอบ้านโป่ง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี
Other Titles: Types of questions and questioning skills of Thai language teachers ; prathom suksa five in Ban Pong district schools under the auspices of Ratchaburi provincial administrative organization
Authors: สุชาดา แจ่มจันทร์
Advisors: พิตรวัลย์ โกวิทวที
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คำถามและคำตอบ
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะคำถาม และทักษะการใช้คำถามของครูที่สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า ในโรงเรียนของอำเภอบ้านโป่ง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า จำนวน 30 คน จากโรงเรียน 30 โรง ในอำเภอบ้านโป่ง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับคำถามประเภทต่าง ๆ 12 ข้อ และถามความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการใช้คำถาม 12 ข้อ และแบบสังเกตลักษณะคำถามและทักษะการใช้คำถาม โดยจำแนกคำถามออกเป็น 6 ประเภท ตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านความรู้ (Cognitive Domain) ตามแนวการจำแนกของบลูม (Bloom’s Taxonomy) และจำแนกทักษะการใช้คำถามออกเป็น 12 ข้อ โดยแยกเป็นกลุ่มทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำ 6 ข้อ และกลุ่มทักษะการใช้คำถามที่ไม่ควรใช้บ่อยครั้ง 5 ข้อ และอีก 1 ข้อเป็นพฤติกรรมที่จำแนกไม่ได้ ทั้งแบบสอบถามและแบบสังเกตได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว การเก็บข้อมูลผู้วิจัยเข้าไปสังเกตการเรียนการสอน และบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอนของครู ตามแบบสังเกตลักษณะคำถาม และทักษะการใช้คำถามที่ผู้วิจัยได้ ทดลองใช้และหาค่าความตรงตามเนื้อหา ตลอดจนหาค่าความเที่ยงของการสังเกต พร้อมกันนี้ผู้วิจัยยังให้ครูสอนภาษาไทยที่ผู้วิจัยไปสังเกตการณ์สอนจำนวน 25 คน ตอบแบบสอบถามด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย 1. ครูสอนภาษาไทยใช้คำถามประเภทความรู้ความจำมากที่สุด ส่วนคำถามประเภทอื่น ๆ ครูใช้น้อย และครูไม่ใช้คำถามประเภทการสังเคราะห์เลย 2. ครูใช้ทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำน้อยมาก อันได้แก่ ตอบคำถามทีละคน ครูกวาดสายตาขณะที่ถามทั่วชั้นเรียน เว้นระยะเวลาให้นักเรียนคิดหาคำตอบเปิดโอกาสให้นักเรียนหลายคนตอบคำถามเดียวกัน เปลี่ยนแปลงคำถามให้ง่ายขึ้นเพื่อให้นักเรียนตอบคำถามได้และชมเชยนักเรียนเมื่อตอบคำถามถูกต้อง 3. แบบสอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับคำถามประเภทต่าง ๆ ครูเข้าใจคำถามประเภทความรู้ความจำมากที่สุด และตอบคำถามทักษะการใช้คำถาม ข้อที่ถาม เรื่องทักษะการใช้คำถามที่ดีคืออะไร ถูกต้องมากที่สุด
Other Abstract: Purpose of the Research: The purpose of this research was to study types of questions and questioning skills of Thai language teachers in Prathom Suksa Five, Banpong district under the auspices of Ratchaburi provincial administrative organization. Procedures: Population used in this research was thirty Thai language teachers in Prathom Suksa Five of thirty elementary schools in Banpong district under the auspices of Ratchaburi provincial administrative organization. The research instruments were: the set of questionnaires asking Thai language teachers’ understanding about questioning types and questioning skills, and the other was the observation guideline of questioning types and questioning skills classified in six categories according to Bloom’s Taxonomy on Cognitive Domain. Besides the observation guideline of questioning skills was also classified in 12 items, six of them were grouped as the skills that teachers should use regularly and five items were the skills that they should not be often used, and the last item was the teachers’ behavior that the investigator could not classified them in the above items. All of the research instruments were revised by the educational experts. The investigator collected the data by observing and recording the teachers’ behavior, using the instrument that was already tested for validity and reliability. It was analyzed by percentage, mean and standard deviation. Findings: 1. Memory questioning types was used the most by Thai language teachers. The other types of questions were used lessly. Especially synthesis questioning type was not used at all. 2. The questioning skills that Thai language teachers should used regularly were used lessly: those were answering the questions one by one, looking at every student while asking a question, pausing in order to let students find the answer, permiting many students to answer the same question, changing questions more easier and praising students when they gave the correct answeres.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19000
ISBN: 9745625094
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_Ja_front.pdf443.05 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Ja_ch1.pdf674.72 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Ja_ch2.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_Ja_ch3.pdf469.29 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Ja_ch4.pdf505.16 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Ja_ch5.pdf581.05 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_Ja_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.