Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19008
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาศิริ เฮงพูลธนา-
dc.contributor.authorสุชาติ หล่อโลหการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-05T15:53:30Z-
dc.date.available2012-04-05T15:53:30Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745634581-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19008-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstract“แรงงาน” เป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ายิ่งที่รัฐจะต้องสงวนรักษาให้ความคุ้มครองดูแลและพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มที่ แต่โดยที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่ารัฐมิอาจจะให้ความคุ้มครองดูแลผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้อย่างทั่วถึงอันก่อให้เกิดปัญหาทางด้านแรงงานตามมาอยู่เสมอ ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ จึงสนับสนุนหลักการที่จะให้มีการจัดตั้ง “สหภาพแรงงาน” ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ช่วยดูแลแทนรัฐมิให้มีการปฏิบัติอันเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้สหภาพแรงงานเป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงานในการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์หรือแสวงหาความเป็นธรรมเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้ใช้แรงงาน สหภาพแรงงานเกิดขึ้นจากการรวมตัวของผู้ประกอบอาชีพอิสระ และทฤษฎีตลอดจนแนวความคิดเกี่ยวกับระบบแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในการประกอบธุรกิจอาชีพการงานร่วมกันและเพื่อปรับปรุงแก้ไขสภาพการจ้างให้เหมาะสม ทั้งนี้ เพราะโดยธรรมชาติของการทำงานนั้น บุคคลทั้งสองฝ่ายนี้ต่างมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันอยู่เสมอ สหภาพแรงงานซึ่งอยู่ในกระบวนการแรงงานสัมพันธ์จึงอยู่ในฐานะที่จะช่วยลดปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในสถานประกอบการเพื่อมิให้กลายเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตจนอาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงทางธุรกิจอุตสาหกรรมตลอดจนความสงบเรียบร้อยของประเทศ แต่เนื่องจากสภาพแรงงานเป็นองค์การซึ่งเป็นที่รวมตัวของบรรดาลูกจ้างจึงทำให้เกิดพลังหรืออำนาจในการเรียกร้องหรือต่อรองกับฝ่ายนายจ้าง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องการดำเนินกิจการตามระบบแรงงานสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติมักปรากฏอยู่เสมอว่ามีสหภาพแรงงานบางแห่งมิได้ดำเนินกิจการให้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือสอดคล้องกับหลักการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี หากแต่ใช้พลังหรืออำนาจดังกล่าวไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควรหรือขัดต่อกฎหมาย เช่น การเรียนร้องในสิ่งซึ่งมิใช่ผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการเรียกร้องโดยมีวัตถุประสงค์ในทางการเมืองเป็นต้น ยิ่งกว่านั้นผู้บริหารสหภาพแรงงานบางคนยังใช้สหภาพแรงงานเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองด้วย เช่น การเรียกร้องต่อรัฐบาลโดยมุ่งหวังตำแหน่งเป็นการตอบแทนสำหรับตนเอง เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ประชาชนหรือลูกจ้างผู้ใช้แรงงานขาดความศรัทธาและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสหภาพแรงงาน ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รีบดำเนินการแก้ไขก็น่าเชื่อว่าสหภาพแรงงานอาจถูกทำลายโดยลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานด้วยกันนั่นเอง ดังนั้น รัฐซึ่งเป็นผู้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานเพื่อให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องโดยชอบด้วยกฎหมายและมิให้เป็นอันตรายต่อประชาชนตลอดจนความมั่นคงของประเทศ แต่การควบคุมดูแลดังกล่าวในบางเรื่องอาจเกิดความยุ่งยากหรือไม่สามารถจะกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องและความไม่สมบูรณ์ของกฎหมายหรือเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง วิทยานิพนธ์นี้ จึงมุ่งศึกษาถึงเรื่องสหภาพแรงงานโดยเน้นเฉพาะเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสหภาพแรงงานในประเทศไทยซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและการบริหารสหภาพแรงงาน การแจ้งข้อเรียกร้อง การร่วมเจรจาต่อรองและการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตลอดจนการควบคุมสหภาพแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อจะได้หาแนวทางหรือมาตรการที่ดีที่เหมาะสมสำหรับปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลไปถึงความสงบสุขในอุตสาหกรรมและของประเทศต่อไป-
dc.description.abstractalternative“Labour” is the most precious natural resource that the State must conserve it with protection and development for fuller economic benefits of the nation. But as a matter of fact the State cannot provide protection to all workers which constitute the majority of the population of the country, and this always results in many labour problems. Therefore, most countries render supports to the principle of freedom of association and the right to organize of "Trade Union" in order to give protection to the workers in place of the State and to prevent any contravention or violation of the provisions of the law. In particular the trade union should represent the workers in the protection of their interests or in seeking for fairness in their conditions of employment. Trade union has emerged from the association of trades and professions and the theories and ideologies concerning labour relations system with the objective of ensuring good relationship between employers and workers in carrying out their business and work, and of improving employment conditions. Because of the nature of their work both the employer and workers have conflicting interests. The trade union which is within the labour relations system can reduce conflicts within the establishment in order to prevent more serious problems affecting the stability of industry and business and the peace and security of the nation. Since it is an institution that organize large number of workers, the trade union therefore has the strength and power to make demands and to bargain with the employer, being a normal undertaking within the labour relations system. However, in practice it is often found that some trade unions fail to conform with the objective of the trade union or the good principles of labour relations. If the trade union abuses its strength or power by demanding other benefits than those concerned with employment conditions or for political ends. In addition, some trade union leaders use the trade union as an instrument for self-interest, such as making demand to the government for political appointment. Such action has led to the loss of trust of the public and even the workers and also has created bad image for the trade union movement. If such situation is not rectified immediately, it is envisaged that the trade union movement may ultimately be destroyed by the workers themselves. Therefore, it is necessary that State which supports the establishment of the trade union should supervise and control the activities of the trade union in accordance with the law and to prevent any danger that may affect the general public and the security of the nation. But, such supervision and control may have some difficulty or may not be undertaken efficiently due to the lack of the appropriate law or due to socio-economic and political changes. This thesis aims at studying the question of trade union with emphasis on the legal problems concerning the trade union in Thailand that have arisen from the provisions of the Labour Relations Act, B.E. 2518 (1975) especially the establishment and administration of the trade union, the submission of demands, collective bargaining and agreements relating to conditions of employment and the supervision and control of trade unions. It is hoped that this study may help to find the appropriate guidelines and measures for improving the existing legislation that will lead to a better labour relations system and bring about industrial peace and stability for the nation by and large.-
dc.format.extent661957 bytes-
dc.format.extent720500 bytes-
dc.format.extent1237367 bytes-
dc.format.extent1711398 bytes-
dc.format.extent1998858 bytes-
dc.format.extent1441753 bytes-
dc.format.extent1038753 bytes-
dc.format.extent586150 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสหภาพแรงงาน -- ไทยen
dc.subjectแรงงาน -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectแรงงานสัมพันธ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสหภาพแรงงานในประเทศไทยen
dc.title.alternativeLegal problems concerning the trade union in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart_Lo_front.pdf646.44 kBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_ch1.pdf703.61 kBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_ch4.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_ch5.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_ch6.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_Lo_back.pdf572.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.