Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19014
Title: การวางผังแม่บทมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต
Other Titles: Master plan of Thammasat University (Rung-Sit Campus)
Authors: สุชาติ ตรีสัตยพันธ์
Advisors: ประทีป มาลากุล, ม.ล.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การออกแบบสถาปัตยกรรม
การใช้ที่ดิน
ภูมิสถาปัตยกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต -- การวางผัง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวความคิดในการวางผังแม่บทมหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพื่อความประหยัดและมีประสิทธิภาพในการใช้สอยสูงที่สุดจากการที่การวางผังแบบ Molecular และ Cluster ของมหาวิทยาลัยในแบบดั้งเดิม ก่อให้เกิดปัญหาความหนาแน่น ระยะทางไกลในการติดต่อและปัญหาความไม่สะดวกอื่น ๆ เป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยในยุคหลังๆ นี้ที่มีการวางผังในแบบ Linear เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว นับว่าเป็นผลดีในด้านการสัญจร เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในการออกแบบผังแม่บทของมหาวิทยาลัยในระบบนี้ ก็จะต้องมีการจำกัดขนาดของมหาวิทยาลัยให้มีขนาดที่เหมาะสม ถ้ามีขนาดที่ใหญ่จนเกินไป ก็จะยังทำให้เกิดปัญหาระยะทางในการติดต่อขึ้นได้ จำนวนนักศึกษาเต็มโครงการ และระบบการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย จะกำหนดขนาด ขอบเขตการวางผังและระยะเวลาในการปฏิบัติตามผังแม่บทต่อไป และจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์ประกอบต่าง ๆ ในการออกแบบ อันได้แก่ระบบการจัดกลุ่มอาคาร ระบบการสัญจรและระบบทางกายภาพที่สำคัญอื่น ๆ รวมทั้งความสามารถในการยืดหยุ่นและการขยายตัวของส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ในการวางผังแม่บทของมหาวิทยาลัย จะต้องจัดให้ทุกระบบที่เกี่ยวข้องกันนี้ มีความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากทุก ๆ องค์ประกอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความจำเป็นต้องขยายตัวออกไปยังวิทยาเขตรังสิต เพื่อรองรับความเติบโตของมหาวิทยาลัย และจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะมีนักศึกษาเต็มโครงการประมาณ 10,000 คน จึงจำเป็นต้องมีแผนผังแม่บทเพื่อกำหนดแนวทางการใช้สภาพแวดล้อมทางกายภาพให้มีความเหมาะสมกับการเป็นมหาวิทยาลัยต่อไป ในการจัดทำครั้งนี้ ได้เลือกใช้การวางผังแบบ Central ชนิดที่เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวได้ ซึ่งจะลดความยาวของศูนย์กลางมหาวิทยาลัยลงได้ แต่กลุ่มอาคารภายในศูนย์กลางนี้จะไม่ถูกปิดล้อมโดยกลุ่มอาคารอื่น ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้มีการขยายตัวและเปลี่ยนแปลงการใช้สอยอาคารได้โดยสะดวก กลุ่มอาคารในศูนย์กลางนี้ได้แก่ อาคารเรียนรวม ศูนย์กลางนักศึกษา หอสมุดกลาง สำนักงานอธิการบดี และศูนย์บริการคอมพิวเตอร์เป็นต้น ส่วนกลุ่มอาคารอื่น ๆ เช่น อาคารเรียน และอาคารหอพัก ได้กำหนดให้อยู่รอบนอกออกมา โดยมีถนนวงแหวนหลักเป็นตัวแบ่งแยกเขตการศึกษา และเขตที่พักออกจากกัน เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้พักอาศัยภายใน สำหรับเขตกีฬาและบริเวณที่จัดเตรียมไว้เป็นโรงพยาบาล จัดให้อยู่ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันกับชุมชน ในการจัดระบบทางกายภาพต่าง ๆ เพื่อการบริการในมหาวิทยาลัยอันได้แก่ ระบบการสัญจร การจัดภูมิสถาปัตยกรรม การระบายน้ำ การกำจัดน้ำเสีย การกำจัดขยะ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า และอื่น ๆ ได้เลือกระบบที่มีความเหมาะสมกับสภาพของมหาวิทยาลัยมากที่สุด เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงความประหยัด ความสะดวกในการใช้สอย และการบำรุงรักษาต่อไปในอนาคต ขั้นตอนในการก่อสร้างกำหนดขึ้นจากความจำเป็นในการใช้สอยอาคารซึ่งจะต้องเปิดทำการในปี 2530 เป็นต้นไป และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2534 จึงได้แบ่งระยะดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ระยะละ 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 1,800 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าออกแบบ 61 ล้านบาท ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 323 ล้านบาท ค่าก่อสร้างอาคารและส่วนประกอบ 1,130 ล้านบาท และค่าครุภัณฑ์ 280 ล้านบาท
Other Abstract: The concept of setting a master plan for a University has been continuously improved for the most effective and economical approach. Nowadays "the Linear Pattern of Growth" is one of the most popular models for its ability to solve the problems of circulation, density, etc. The size of a university is generally governed by its full scheme students and academic programs. All components such as circulations, compactness of building and many other physical systems have to be combined for the best efficiency. It is necessary for Thammasat University to expand to its Rung-Sit Campus due to its growth. With the proposed number of full scheme students of 10,000, the master plan of the campus have to be set up for the best physical environments. The "Central Pattern of Growth" model is chosen for the design of the master plan. By enlarging the width of the central cluster, the length can be reduced, and better circulation is obtained. The central area includes the library, administrative offices, computer center, etc. Classroom and dormitory are located around the center. The main ring road separates the residential zone from the academic zone for privacy of the residents. Athletic area and the proposed hospital are located in front of the campus for the purpose of sharing the facility with the surrounding communities. The design of physical system such as circulation, landscaping, drainage, electricity and water supply are based primarily on economy suitability. The sequence of construction is based on operational necessity. The project is divided into two phases of 5 years interval. The total estimated cost is about one thousand and eight hundred million baths. Various system which were studies and provided in the master plan will serve as guide lines for detail in the future which should result in the best utilization of available resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19014
ISBN: 9745635499
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchat_Tr_front.pdf523.25 kBAdobe PDFView/Open
Suchat_Tr_ch1.pdf319.48 kBAdobe PDFView/Open
Suchat_Tr_ch2.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_Tr_ch3.pdf742.44 kBAdobe PDFView/Open
Suchat_Tr_ch4.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_Tr_ch5.pdf355.03 kBAdobe PDFView/Open
Suchat_Tr_back.pdf739.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.