Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชนา ชวนิชย์-
dc.contributor.advisorเพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล-
dc.contributor.authorขนิษฐา แย้มวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-06T11:56:46Z-
dc.date.available2012-04-06T11:56:46Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19034-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาลักษณะเฉพาะของตะกอนที่มีผลต่อโครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในป่าชายเลนคลองด่าน จ.สมุทรปราการ และป่าชายเลนอ่าวทุ่งโปรง จ.ชลบุรี โดยเก็บตัวอย่างในช่วงฤดูร้อน (เมษายน) และฤดูฝน (สิงหาคม) พ.ศ. 2551 พื้นที่ละ 6 สถานี ผลการศึกษาพบว่า ดินในป่าชายเลนคลองด่านละเอียดมีทรายแป้งและดินเหนียวเป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนดินในป่าชายเลนอ่าวทุ่งโปรงจะหยาบและมีทรายเป็นองค์ประกอบหลัก ความหนาแน่นและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินบริเวณอ่าวทุ่งโปรงมีมากกว่าบริเวณคลองด่าน โดยทั้งสองพื้นที่พบสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ 4 กลุ่ม คือ หอยสองฝา หอยฝาเดียว ครัสเตเชียน และไส้เดือนทะเล โดยคลองด่าน พบทั้งสิ้น 16 ชนิด กลุ่มเด่น ได้แก่ ไส้เดือนทะเลวงศ์ Nereididae และหอยฝาเดียว Assiminea brevicula (Pfeiffer, 1854) โดยกลุ่มที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ Nereididae กลุ่มที่มีมวลชีวภาพสูงที่สุด คือ หอยสองฝา Tellina sp. ปริมาณสารอินทรีย์ในดินเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินในพื้นที่นี้มากที่สุด ขณะที่บริเวณอ่าวทุ่งโปรงพบทั้งสิ้น 33 ชนิด กลุ่มเด่น ได้แก่ หอยสองฝา Gafrarium tumidum Roding, 1798, หอยฝาเดียว Cerithidea cingulata (Gmelin, 1791) และไส้เดือนทะเลวงศ์ Maldanidae โดยกลุ่มที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ C. cingulata กลุ่มที่มีมวลชีวภาพสูงที่สุด คือ G. tumidum อนุภาคทรายแป้งและปริมาณสารอินทรีย์เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินในพื้นที่นี้มากที่สุด ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ในป่าชายเลนทั้ง 2 พื้นที่ สถานีที่มีความหนาแน่นและมวลชีวภาพของสัตว์หน้าดินมากจะอยู่ไปทางด้านใกล้ทะเลและขนานชายฝั่งen
dc.description.abstractalternativeInfluence of sediment characteristics on macrobenthic fauna community structure in Klongdan mangrove (KD), Samutprakan province, and Ao Thungprong mangrove (TP), Chonburi province, were investigated during the summer (April) and the rainy (August) seasons of year 2008. In each site, samples were collected from 6 stations. The results revealed that KD sediments had silt and clay as main components while TP sediments had sand as the main component. Diversity and density of benthic community at TP were higher than that of KD. Major macrobenthic groups found at KD and TP were bivalves, gastropods, crustaceans and polychaetes. At KD, a total of 16 species/taxa were collected. The dominant species were polychaete, Nereididae and gastropod, Assiminea brevicula (Pfeiffer, 1854). In KD, Nereididae had the highest density while the bivalve, Tellina sp. had the highest biomass. This study revealed that organic matter was the major factor influencing the density of benthic community in KD. On the other hand, TP had more benthic species than KD. Among a total of 33 species recorded at TP, Gafrarium tumidum Roding, 1798, Cerithidea cingulata (Gmelin, 1791) and Maldanidae were the dominant groups. C. cingulata had the highest density, and G. tumidum had the highest biomass. The major factors influencing the density of benthic community at TP were silt and organic matter. In addition, the stations that had high density and biomass of benthic organisms were close to the ocean and parallel to the coast.en
dc.format.extent21853716 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.349-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสัตว์หน้าดินen
dc.subjectตะกอน (ธรณีวิทยา)en
dc.subjectป่าชายเลนen
dc.subjectคลองด่าน (สมุทรปราการ)en
dc.subjectอ่าวทุ่งโปรง (ชลบุรี)en
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่กับลักษณะเฉพาะของตะกอนดินในป่าชายเลนคลองด่านและอ่าวทุ่งโปรงen
dc.title.alternativeRelationships between macrobenthic fauna and sediment characteristics in Klongdan and Ao Thungprong mangrove forestsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchana.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.349-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khanittha_Ya.pdf21.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.